เท่าที่ผ่านมาของประวัติศาสตร์ทุนนิยมอเมริกันจะเห็นได้ว่า การพัฒนานวัตกรรมได้มีมาตลอดควบคู่กับไปกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในระยะ 200 ปีที่ผ่านมา  บทความที่แล้วผู้เขียนได้อธิบายถึงนวัตกรรมที่เสริมสร้างความเข้มแข็ง (Empowering Innovation)ซึ่งใช้ระยะเวลาและการประดิษฐ์คิดสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่นั้น สามารถสร้างผลสะเทือนให้เศรษฐกิจได้อย่างเป็นลูกโซ่ระยะเวลานาน ซึ่งทำให้เศรษฐกิจภาพรวมของประเทศได้รับผลดี เกิดการจ้างงาน มีธุรกิจย่อยตามมา ประชาชนอยู่ดีกินดีมากขึ้น เพราะความเจริญเติบโตของธุรกิจนั้น แต่ยังมีอีกสองรูปแบบนวัตกรรมซึ่งสร้างผล กระทบทางเศรษฐกิจเช่นกัน รูปแบบที่สองนวัตกรรมที่อยู่แบบยั่งยืน ซึ่งจะเป็นการทำผลิตภัณฑ์ เดิมที่มีอยู่ซึ่งเหมือนกับการขยายตลาดโดยทั่วไปของธุรกิจ ตัวอย่างเช่น โตโยต้าได้สร้างรถยนต์รุ่นใหม่สามารถเก็บสะสมพลังงานโดยสามารถใช้แบตเตอรี่ไฟฟ้าแบบใหม่ สามารถเก็บสะสมพลังงานไฟฟ้า และสามารถขับเคลื่อนเครื่องยนต์ได้ด้วย พริอุสก็ถือว่าได้รับการออกแบบได้ดีที่สุดและเป็นนวัตกรรมที่ดีเยี่ยมในบรรดารถยนต์รุ่นใหม่ของการประหยัดพลังงาน และโตโยต้าก็ออกรุ่นคัมรีไฮบริด ประเภทประหยัดพลังงานเพื่อจัดจำหน่ายในท้องตลาดด้วย แม้ว่าในภาพรวมทั้งคู่รวมกันจะสามารถขยายตลาดได้ แต่ภายใต้ตลาดประหยัดพลังงาน ถ้าผู้บริโภคซื้อพริอุสก็คงจะไม่ซื้อคัมรี เพราะฉะนั้นคัมรีจึงเป็นนวัตกรรมประเภททดแทนผลิตภัณฑ์ ด้านประหยัดพลังงานที่มีอยู่เดิม ซึ่งก็สามารถทำให้ธุรกิจอยู่ได้ยั่งยืนต่อไปได้ และก็ยังคงส่งผลทำให้เศรษฐกิจเคลื่อนไหวไปได้และมีเงินสดหมุนเวียนและก็ถือเป็นนวัตกรรมที่อยู่ได้ยั่งยืน แต่ถ้าหากพูดถึงการสร้างงานและเงินทุนที่เกิดขึ้นคงจะไม่ได้อะไรมากนัก และเป็นนวัตกรรมทางธุรกิจที่บริษัททั่วไปจะทำกันอยู่แล้ว ถ้าหากจะมาดูที่สหรัฐอเมริกา แอปเปิลหลังสตีฟ จ๊อบส์ ออกตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ไอโฟนครั้งแรกในปี ค.ศ. 2005 ก็นับว่าเป็นนวัตกรรมชั้นเยี่ยมขายได้ทั่วโลกในระยะสั้นและทำให้แอปเปิลโตอย่างรวดเร็ว การออกไอโฟนรุ่นหลัง เช่น ไอโฟนห้า ต่อมามีไอโฟนหก ก็คงทำให้โทรศัพท์อัจฉริยะประเภทไอโฟนอยู่ต่อไปได้เรื่อย ๆ หลังจากสตีฟ จ๊อบส์จากไป และธุรกิจของแอปเปิลก็อยู่ต่อไปยั่งยืนได้ แต่ผลสะเทือนทางเศรษฐกิจของรุ่นไอโฟนห้าและไอโฟนหกคงจะไม่ได้ช่วยทำให้เกิดการสร้างงานและสร้างธุรกิจต่อเนื่องแบบลูกโซ่ได้มากนัก นวัตกรรมแบบนี้เรียกว่านวัตกรรมแบบยั่งยืน (Sustaining Innovations) นวัตกรรมแบบสุดท้ายก็คือนวัตกรรมเพื่อประสิทธิภาพ (Efficiency Innovations) ซึ่งก็มักจะเป็นด้านกระบวนการเพื่อลดต้นทุน ทั้งหลาย อย่างเช่น กรณีการเกิดนวัตกรรมการผลิตของโตโยต้าเพื่อลดต้นทุนที่เรียกว่าผลิตทันพอดี หรือจัสอินไทม์ (Just-in time) คือเพื่อลดต้นทุนด้านสินค้าคงคลังในทุกกระบวนการผลิต กระทั่งการบริหารการจัดจำหน่ายและการบริการเพื่อให้ได้สินค้าราคา ถูก แม้ว่ากระบวนการดำเนินการจะเกิดประสิทธิภาพสูงด้านต้นทุนและค่าใช้จ่าย แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นคือการลดต้นทุนเพื่อทำให้เกิดการจ้างงานน้อยลง แต่สามารถทำงานได้มากขึ้น ถือว่าเป็นนวัตกรรมประเภทประสิทธิภาพ ในบัญชีงบดุลก็จะเหลือแค่สินค้าคงคลังที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ กระบวนการนวัตกรรมเพื่อประสิทธิภาพก็ยังควรจะมีต่อไปเช่นกัน ในบทความต่อไปผมจะได้เขียนถึงนวัตกรรมทั้งสามประเภทว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจอเมริกากันเพื่อการฟื้นเศรษฐกิจได้อย่างไร.  ร.ศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด boonmark@stamford.edu  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ทุนนิยมอเมริกัน ต้องมีนวัตกรรมสร้างสรรค์ (4) – โลกาภิวัตน์

Posts related