เมื่อทราบว่านักลงทุนและซีอีโอทั้งหลายขาดความเข้าใจในการลงทุนเพื่อให้เกิดการสร้างงาน คนมีงานทำ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ด้วยผู้คนส่วนใหญ่ของประเทศ  เราจึงมาดูว่าทำไมนวัตกรรมเพื่อการสร้างงานไม่เกิดและนวัตกรรมเหล่านี้เป็นอย่างไร ศาสตราจารย์ ดร.เคลย์  คริสเตียนเซ่น ก็ได้วิพากษ์วิจารณ์ระบบทุนนิยมของสหรัฐ อเมริกามีปัญหา การใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ผ่านมาเพื่อสร้างระบบทุนนิยมของอเมริกาผิด นักลงทุนและนักบริหารเงินปัจจุบันมีพฤติกรรมที่มุ่งสู่การลดค่าใช้จ่าย และทำให้เงินสดที่ไหลเวียนเป็นบวกเสมอ เพื่อทำกำไรให้มากที่สุด ในขณะที่ไม่ยอมทุ่มทุนสำหรับการสร้างผลิต ภัณฑ์ใหม่หรือตลาดใหม่สำหรับอนาคต ซึ่งก็มักจะเป็นเรื่องปกติของบริษัทขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกาไปแล้ว ซึ่งมักจะคงติดกับดักทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เดิม ๆ ของ มิลตัน ไฟร์ดแมนในช่วงสมัยทศวรรษที่ 1970 ที่มักจะมีข้อเสนอว่า จุดมุ่งหมายของบริษัทก็คือการคืนทุนและทำกำไรให้มากที่สุดแก่ผู้ถือหุ้น บริษัทในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ ยังขาดการลงทุนเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งทางด้านนวัตกรรม เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ง่าย ในราคาที่ผู้บริโภครับได้และประชาชนส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์จากผลิตภัณฑ์นั้น ดร.คริสเตียนเซ่น ได้เสนอแนวคิดและทฤษฎีนวัตกรรมเป็นสามรูปแบบ ซึ่งผมจะถอดความเป็นภาษาทางธุรกิจง่ายๆดังนี้ รูปแบบที่หนึ่งคือนวัตกรรมที่เพิ่มความเข้มแข็ง รูปแบบคือการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ยุ่งยาก ซับซ้อนและมีราคาแพงและผู้บริโภคมีเพียงไม่กี่คนที่พอจะหาซื้อได้ มาเป็นผลิต ภัณฑ์รูปแบบง่ายๆราคาถูกและพร้อมจำหน่ายให้กับผู้บริโภคจำนวนมากได้ ถ้ายกตัวอย่างความสำเร็จของคนอเมริกาในยุครุ่งเรืองสุดขีดก็คือ รถยนต์ฟอร์ดโมเดลที ซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1908 ที่ดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน ในสมัยนั้นถือว่าเป็นนวัตกรรมชั้นหนึ่งของโลกในหลายด้านรวม   ทั้งสายการผลิตรถยนต์นั้นถือว่าเป็นอุตสาห กรรมการผลิตต้นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์จำนวนมหาศาลของโลก  ซึ่งในสมัยนั้นฟอร์ดสามารถผลิตรถยนต์โมเดลทีได้ถึงปีละ 2 ล้านคัน  โดยที่สามารถจัดจำหน่ายได้ 10 ล้านคันทั่วโลก คนที่ใช้รถยนต์ครึ่งหนึ่งของโลกใช้ฟอร์ดโมเดลทีในช่วง 5 ปีนั้นคือ ค.ศ. 1917- ค.ศ. 1923 ฟอร์ดประสบความสำเร็จในการขายมากโดยไม่ต้องใช้จ่ายด้านโฆษณาเลย ในยุคนั้นถือว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเจริญสุดขีดเพราะมาจากอุตสาหกรรมรถยนต์ คนนับล้านหลั่งไหลไปที่ดีทรอยต์ มิชิแกน ก่อให้เกิดการก่อสร้างที่อยู่อาศัยบริเวณรอบเมืองจำนวนมาก และฟอร์ดสามารถรอดพ้นจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่เกิดในช่วงปี ค.ศ.1920-1921 นวัตกรรมของฟอร์ดโมเดลทีจึงเป็นตำนานความสำเร็จของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจนประชาชนอเมริกาปัจจุบันฝังใจไม่ลืมอีกตัวอย่างหนึ่งเป็นของญี่ปุ่นซี่งก็คือบริษัทโซนี่ได้สร้างวิทยุด้วยทรานซิสเตอร์และทำให้ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในด้านเศรษฐกิจเช่นกันในยุคนั้น และถือว่าเป็นการเปิดยุคเศรษฐกิจดิจิตอลของโลก นวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ทั้งฟอร์ดโมเดลทีและวิทยุทรานซิสเตอร์ของโซนี่ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่เสริมสร้างความเข้มแข็ง เพราะสามารถทำให้คนมีงานทำจำนวนมาก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดธุรกิจตามมาอีกมาก เช่น บริการด้านช่องทางการส่งสินค้า ศูนย์การจำหน่ายสินค้าและบริการหลังการขายสินค้า ซึ่งช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจอย่างแท้จริง นวัตกรรมแบบแรกคือนวัตกรรมที่เสริมสร้างความเข้มแข็งจึงเป็นนวัตกรรมที่สร้างผลสะเทือนทางเศรษฐกิจในเชิงสร้างสรรค์และทำให้เศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวได้ ในบทความหน้าผมจะเขียนถึงนวัต กรรมอีกสองประเภท ซึ่งก็มีผลกระทบมากต่อเศรษฐกิจเช่นกัน. รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด Boonmark@stamford.edu

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ทุนนิยมแนวใหม่ ด้วยนวัตกรรมแห่งปัญญา (3) – โลกาภิวัตน์

Posts related