ผู้บริโภคในประเทศไทยที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ผู้บริโภคที่เพิ่งซื้อสินค้าทางออนไลน์, ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าทางออนไลน์มานานพอสมควรแล้ว, คนที่ไม่ซื้อสินค้าออนไลน์ และผู้ขาย โดยคนไทยจำนวนมากสนใจทดลองซื้อสินค้าออนไลน์เป็นครั้งแรก ข้อมูลจาก TNS ระบุว่า 40% ของคนไทย ไม่เคยซื้อสินค้าออนไลน์คิดว่าจะซื้อสินค้าออนไลน์ในอีก 12 เดือนข้างหน้า โดย 47% ของคนไทยที่ออนไลน์ คิดว่าจะซื้อเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายเป็นอันดับแรก ๆ นักช้อปออฟไลน์จะถูกกระตุ้นให้ทดลองซื้อสินค้าออนไลน์จากตัวอย่างของเพื่อนและครอบครัว และยิ่งถ้ามีตัวเลือกชำระด้วยเงินสดตอนรับสินค้า 16%  ต้องการทดลองซื้อสินค้าออนไลน์ ถ้ารู้ว่ามีเพื่อนหรือญาติพี่น้องมีประสบการณ์ที่ดีกับการซื้อสินค้าออนไลน์ชนิดเดียวกัน 14% ต้องการทดลองซื้อสินค้าออนไลน์ถ้าสามารถชำระค่าสินค้าด้วยเงินสด เมื่อสินค้ามาส่ง นักช้อปออนไลน์ระบุว่าปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์คือ ช่วยประหยัดเวลา และสินค้ามีราคาถูกกว่าร้านค้าปลีก หรือตลาดทั่วไป สำหรับอุปสรรคของการซื้อสินค้าออนไลน์ 52% ให้เหตุผลว่า ไม่มั่นใจในคุณภาพของสินค้าที่จะได้รับ 47% กังวลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลทางการเงิน และ 41% อยากเห็นสินค้าจริงก่อนตัดสินใจซื้อ นอกจากนี้การรับประกันสินค้าก็มีส่วนสำคัญ 34% ของนักช้อปที่ไม่ออนไลน์ไม่แน่ใจว่าการรับประกันสินค้าจะใช้ได้กับสินค้าที่ซื้อผ่านทางออนไลน์ 33% ซื้อสินค้าในตลาดหรือร้านค้า ที่เข้าถึงสินค้าที่ซื้อได้ทันที และ 33% ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลสินค้าและบริการ แต่ไม่ได้ซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ รายงานยังระบุอีกว่า ผู้บริโภคซื้อเครื่องแต่งกายบ่อยกว่าซื้อโทรศัพท์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 2 เท่า แต่ค่าใช้จ่ายสำหรับสินค้าเครื่องแต่งกายคิดเป็นแค่ 1 ใน 7 ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในแง่ของผลจากโฆษณาออนไลน์ จะกระตุ้นให้เกิดการกระทำและกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้า 68% ลงมือค้นหาข้อมูลสินค้าทันทีที่เห็นจากโฆษณา 73% ใช้ข้อมูลจากโฆษณาเพื่อค้นคว้าต่อเกี่ยวกับสินค้า โดย 39% ของนักช้อปออนไลน์เริ่มต้นค้นคว้าจากเครื่องมือ search engines 37% หาข้อมูลจากเครือข่ายสังคม มีเพียง 23% ที่ค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ของผู้ผลิต หรือเจ้าของแบรนด์ ในขณะที่ 22% ของผู้บริโภคใช้เว็บไซต์เพื่อเปรียบเทียบสินค้า 19% หาข้อมูลจากเว็บไซต์ประมูล.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ผลการศึกษาพฤติกรรมการซื้อออนไลน์

Posts related