เทเลนอร์กรุ๊ปร่วมกับทีเอ็นเอสทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 16 – 35 ปีกว่า 2,600 คนในประเทศไทย มาเลเซีย สวีเดน และนอร์เวย์ที่ใช้อินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ โดยเทเลนอร์ให้คำจำกัดความกลุ่มคนเหล่านี้ว่า 'ผู้นำเทรนด์ดิจิทัล’ ซึ่งเป็นเสมือนผู้นำเทรนด์และการเคลื่อนไหวต่างๆในเรื่องเทคโนโลยีการสื่อสาร ทั้งนี้ เทรนด์และเทคโนโลยีที่พวกเขาเลือกมักจะถูกนำไปใช้ในการคาดคะเนถึงสิ่งที่จะได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นของประเทศนั้นๆในอนาคตในขณะที่ตลาดมือถือของสแกนดิเนเวียมีความก้าวหน้าอย่างมากในทุกกลุ่มผู้ใช้งานและมีการดาวน์โหลดข้อมูลในปริมาณที่มากกว่ากลุ่มตัวอย่างของผู้ใช้มือถือในไทยและมาเลเซียกลับมีแนวโน้มการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือที่สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างในประเทศสวีเดนและนอร์เวย์โดยผ่านแพลตฟอร์มการสื่อสารที่มีความหลากหลายมากกว่านายซิคเว่ เบรคเก้ รองประธานบริหารเทเลนอร์ กรุ๊ป และเจ้าหน้าบริหารสูงสุด เทเลนอร์ เอเชีย ระบุว่า การเลือกใช้แอพพลิเคชั่นและบริการล่าสุดบนมือถือของวัยรุ่นในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว จนกระทั่ง 'ผู้นำเทรนด์ดิจิทัล’ ของเราบางส่วนในประเทศไทยและมาเลเซียกลายเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีและโทรศัพท์มือถือมากที่สุดในโลกไปแล้ว สิ่งนี้บ่งชี้ว่า โอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจเทคโนโลยีบนมือถือในตลาดเหล่านี้อาจจะมากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ81 ของคนไทยและมาเลเซียใช้แอพพลิเคชั่นแชต (chatapp) เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันในขณะที่คนสวีเดนและนอร์เวย์ใช้เพียงร้อยละ 44และร้อยละ 57 เท่านั้นความนิยมในแอพพลิเคชั่นที่โด่งดัง เช่น Whatsapp, Line หรือ WeChat แตกต่างกันไปในสี่ประเทศนี้โดยมีเพียง Facebook Chat เท่านั้นที่ได้รับความนิยมเท่ากันในทุกประเทศ โดย Whatsapp และWeChat เป็นแอพพลิเคชั่นแชตที่ได้รับความนิยมสูงสุดในกลุ่ม'ผู้นำเทรนด์ดิจิทัล’ มาเลเซียในขณะที่ชาวไทยนิยมแอพพลิเคชั่น Lineและ Facebook Messenger มากกว่าโดยประเทศไทยเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลกที่มีการใช้งาน Lineส่วน บริการส่งข้อความสั้น(SMS) ยังคงได้รับความนิยมในประเทศมาเลเซีย สวีเดนและนอร์เวย์ โดยร้อยละ 70ของกลุ่มตัวอย่างใช้บริการนี้เป็นประจำทุกวันส่วน ประเทศไทย มีเพียงร้อยละ 31ของกลุ่มตัวอย่างใช้บริการส่งข้อความสั้นเพียงแค่วันละครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะความนิยมในการใช้บริการ Lineหรือ Whatsapp มีมากกว่าประเทศที่มีการใช้งานโซเชียลมีเดียมากที่สุดคือประเทศไทย โดยร้อยละ 72ของกลุ่มตัวอย่างโพสต์ข้อมูลบนโซเชียลมีเดียผ่านอุปกรณ์พกพาเป็นประจำทุกวัน ตามมาด้วยประเทศมาเลเซียร้อยละ 58 ประเทศสวีเดนร้อยละ 30 และประเทศนอร์เวย์เพียงร้อยละ 11การโทรศัพท์ยังคงเป็นที่นิยมในทั้งสองภูมิภาคโดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 84 ของประเทศไทย ร้อยละ 73 ของประเทศมาเลเซีย ร้อยละ 63 ของประเทศสวีเดน และร้อยละ 67ของประเทศนอร์เวย์ จะโทรออกอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้งร้อยละ 50ของกลุ่มตัวอย่างจากประเทศไทยและมาเลเซียส่งอีเมล์ผ่านโทรศัพท์มือถือในขณะที่กลุ่มตัวอย่างจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ส่งอีเมลผ่านโทรศัพท์มือถือร้อยละ31 และร้อยละ 21ตามลำดับในส่วนของการโทรคุยแบบเห็นหน้า ร้อยละ 30ของกลุ่มตัวอย่างจากประเทศไทยและมาเลเซียใช้บริการดังกล่าวในขณะที่กลุ่มตัวอย่างจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ใช้บริการนี้เพียงร้อยละ 14และร้อยละ 4 เท่านั้นการศึกษาสรุปได้ว่า ผู้นำเทรนด์ดิจิทัลในประเทศไทยและมาเลเซียใช้บริการการสื่อสารบนมือถือมากกว่าผู้นำเทรนด์ดิจิตอลในประเทศแถบสแกนดิเนเวียไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดเพราะพวกเขาเลือกที่จะสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มการให้บริการที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นแอพลิเคชั่น โซเชียลมีเดีย และการโทรศัพท์อย่างไรก็ตาม การศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่าถึงแม้ประเทศไทยและมาเลเซียจะใช้บริการออนไลน์และแอพพลิเคชั่นหลากหลายมากกว่ากลุ่มตัวอย่างจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์แต่กลุ่มตัวอย่างจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์กลับมีการดาวน์โหลดและใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ตมากกว่ากลุ่มตัวอย่างจากประเทศไทยและมาเลเซียเป็นอย่างมาก

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เผยไทย-มาเลย์ต้องการใช้เน็ตบนมือถือสูงสุดในโลก

Posts related