เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย กสทช. หอการค้าขอนแก่นและตัวแทนผู้ประกอบการโทรคมนาคมร่วมจัดเสวนา “ความจำเป็นของโครงข่ายมือถือยุค3G เพื่อพัฒนาท้องถิ่น” ที่จังหวัดขอนแก่น นายพิชัย สุวรรณกิจบริหารผู้อำนวยการสำนักขับเคลื่อนภารกิจพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า  กสทช.มีภารกิจในการจัดสรรทรัพยากรโทรคมนาคมโดยเฉพาะคลื่นความถี่และการส่งเสริมให้มีบริการอย่างทั่วถึงและครอบคลุมมากขึ้นทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทยโดยผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตคลื่น 2100MHz. จะต้องติดตั้งเสาสัญญาณให้ได้50 % ภายใน  2 ปีและ 80% ภายใน 4 ปีจากที่ได้รับใบอนุญาต   นอกจากการพัฒนาโครงข่ายที่กสทช.จะกำกับดูแลผู้ประกอบการภาคโทรคมนาคมแล้วทางกสทช. ยังมีหน้าที่กำกับดูแลและกำหนดค่ามาตรฐานการใช้งานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อให้เกิดความมั่นใจและความปลอดภัยของสุขภาพประชาชนที่เกี่ยวข้อง   นายพิชัย กล่าวด้วยว่า  ที่ผ่านมามีการตรวจวัดค่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาสัญญาณของผู้ประกอบการแต่ละค่ายพบว่าค่าที่วัดได้ยังต่ำกว่าขีดที่กำหนดในมาตรฐานที่กำหนดไว้มาก ซึ่งทางกสทช.ได้มีบทบาทในการกำกับดูแลผู้ประกอบการโทรคมนาคมให้ทำตามกฎเกณฑ์มาตลอดอยู่แล้ว   ผศ.ดร. ชาญไชย ไทยเจียม กรรมการสมาคมวิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย กล่าวว่า  สำหรับความกังวลเรื่องเสาสถานีฐานที่ตั้งใกล้บ้านจะทำให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าส่งผลกระทบต่อสุขภาพในทางทฤษฏีนั้นคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าประกอบด้วยคลื่นสนามไฟฟ้า และสนามแม่เหล็กโดยมีการกำหนดหลายย่านความถี่ใช้งาน ย่านความถี่คลื่นวิทยุรวมทั้งย่านความถี่ใช้งานของระบบโทรศัพท์มือถือจัดอยู่ในกลุ่มรังสีชนิดไม่ก่อไอออน(Non-ionizing radiation) เป็นคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานต่ำไม่ก่อให้อะตอมมีการแตกตัวเป็นไอออน แตกต่างจากรังสีชนิดก่อไอออน (Ionizingradiation) เช่น รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ ซึ่งเป็นคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูงสามารถทำให้อะตอมเกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้และมีผลต่อการแยกอนุภาคอิเล็กตรอนออกไปกลายเป็นอนุมูลอิสระได้ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง   “คลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดไม่ก่อไอออนถูกนำมาใช้กับระบบการสื่อสารทั้งวิทยุกระจายเสียง ระบบโทรศัพท์มือถือ สัญญาณ Wi-Fiเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย เป็นต้นคลื่นสนามแม่เหล็กกลุ่มรังสีชนิดไม่ก่อไอออนนี้มีผลกระทบต่อสุขภาพในแง่ของความร้อน เท่านั้นภายใต้ข้อกำหนดของการใช้งานขององค์การอนามัยโลก (World Health Organizationหรือ WHO) ซึ่งจะเป็นองค์กรฯ กำหนดมาตรฐานความแรงของสัญญาณหรือกำลังของสัญญาณคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อการใช้งานอย่างปลอดภัยต่อสุขภาพ   จากผลงานวิจัยจากสถาบันต่างประเทศยังไม่มีผลงานวิจัยใดชี้ชัดว่าการใช้คลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดไม่ก่อไอออนที่มีกำลังใช้งานต่ำจะมีผลต่อสุขภาพดังนั้นถ้าผู้ประกอบการโทรคมนาคมติดตั้งและส่งสัญญาณคลื่นตามมาตรฐานที่กำกับดูแลจากภาครัฐจะทำให้ผู้อยู่อาศัยในบริเวณเสาสัญญาณเพิ่มความมั่นใจเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยได้”ผศ.ดร. ชาญไชย กล่าว   นายปัญญา เวชบรรยงรัตน์ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานปฏิบัติการโครงข่าย บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นจำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า อุปกรณ์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่ติดตั้งโครงข่ายได้นำเข้าจากผู้ผลิตมาตรฐานระดับโลกซึ่งผ่านการรับรองตามมาตรฐานสากลจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ(The International Telecommunication Union) หรือITU ที่ทำหน้าที่ออกกฎระเบียบและกำกับโทรคมนาคมที่เป็นสากลและใช้กันทั่วโลก   “การวางแผนโครงข่ายนั้นจะมุ่งไปพัฒนาเพื่อรองรับการเติบโตของชุมชนแหล่งท่องเที่ยว เส้นทางคมนาคมควบคู่กับการเติบโตทางเศรษฐกิจจากข้อมูลของดีแทคนั้นพบว่า ภูมิภาคอีสานมีอัตราการเติบโตใช้งานดาต้าสูงสุดในประเทศไทยทำให้ต้องวางแผนโครงข่ายโทรคมนาคมรองรับการขยายตัวเพื่ออนาคตสู่การรองรับการเติบโตของธุรกิจและการขยายที่พักอาศัยที่เพิ่มขึ้นพร้อมทั้งเส้นทางคมนาคมซึ่งจะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปีพ.ศ. 2558 นี้” นายปัญญากล่าว   สำหรับการวางแผนขยายโครงข่าย 3Gให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วไทยมีความสำคัญมากเพราะจะทำให้เข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างเท่าเทียมโดยเฉพาะในชนบทที่มีปัญหาการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตหรือมีอินเทอร์เน็ตใช้งานแต่ยังไม่พอเพียงและความเร็วจำกัดทำให้เกิดการส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันโดยรวมให้กับท้องถิ่นรวมถึงเป็นการใช้ทรัพยากรคลื่น 3G เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ   นายวันชัย กาญจนศิริเหรัญญิกและกรรมการ หอการค้าจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยในงานเสวนาว่า   ขอนแก่นกำลังจะก้าวสู่จังหวัดที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของภาคอีสานสำหรับก้าวสู่ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ เออีซี ในปี พ.ศ. 2558 นี้เพราะอยู่ในทำเลที่ตั้งที่มีความโดดเด่นของเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก(East-West Economic Corridor: EWEC) หรือเส้นทางหมายเลข 9 (R9) เชื่อมต่อเวียดนามลาว และกัมพูชาที่จะเข้าสู่ไทยทางด้านตะวันออกและสามารถเชื่อมต่อเมียนมาร์ดังนั้นขอนแก่นจะกลายเป็นศูนย์กลางระบบโลจิสติกส์และเชื่อมต่อการคมนาคมที่สำคัญเพื่อการค้าการลงทุนในแถบอีสานโครงข่ายโทรคมนาคมจึงเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นสาธารณูปโภคแห่งอนาคตรองรับการเติบโตของการติดต่อสื่อสารโดยเฉพาะยุค3G ที่มีความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกที่เพื่อการทำธุรกิจ”   นายวันชัย กล่าวต่อไปว่า   โครงข่ายโทรคมนาคม 3G ที่พัฒนาครอบคลุมทุกพื้นที่จะรองรับการขยายตัวเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในภูมิภาคโดยจะมีบริการใหม่ เช่น โซลูชั่นบริหารจัดการขนส่ง (Fleet ManagementSolution) เทคโนโลยีติดตามเรียลไทม์เพื่อธุรกิจขนส่งสำหรับรองรับภาคธุรกิจยุคเออีซี  ด้วยระบบ Trackingยานพาหนะที่อยู่ในต่างประเทศและบริการโรมมิ่ง ซึ่งบริหารจัดการยานพาหนะขององค์กรมีการติดตั้งอุปกรณ์พร้อมแอพพลิเคชั่นบนยานพาหนะที่ต้องการติดตามความเคลื่อนไหวหรือตรวจสอบการทำงานของยานพาหนะนั้นๆได้ผ่าน Web หรือ Online Application ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมกำหนดการขนส่งให้ตรงเวลาหรือแจ้งเตือนเมื่อใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนด และมีการเดินทางออกนอกพื้นที่ที่กำหนดไว้สถานะของเครื่องยนต์และระดับการใช้เชื้อเพลิง จะทราบทันทีแบบเรียลไทม์ทำให้ดำเนินธุรกิจในต่างประเทศได้อย่างมีศักยภาพส่วนนี้จะทำให้นักธุรกิจจังหวัดขอนแก่นซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสานนำมาใช้เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันยุคเออีซีได้”    

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เสวนาโครงข่ายมือถือท้องถิ่น

Posts related