ปัจจุบันอุปกรณ์จีพีเอส หรือการระบุตำแหน่งผ่านดาวเทียม ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้า รถโดยสาร รวมถึงการติดตั้งในรถยนต์ส่วนบุคคลที่ทุกวันนี้แทบจะกลายเป็นอุปกรณ์พื้นฐานในรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ เกือบทุกคัน …จะดีแค่ไหน! หากข้อมูลมหาศาลจากระบบจีพีเอสเหล่านี้ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน…“ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม” หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ หรือไอทีเอสแล็บ หน่วยวิจัยสารสนเทศการสื่อสารและการคำนวณ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) บอกว่า ระบบจีพีเอสปัจจุบันมีเพียงเจ้าของและผู้ดูแลระบบเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่มีการต่อยอดทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการให้บริการอย่างเต็มที่ แม้จะต้องเสียค่าบริการทุกเดือนขณะเดียวกันผู้โดยสารที่จะต้องใช้พาหนะนั้น ๆ กลับไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลจีพีเอส ไม่รู้ว่ารถอยู่ที่ไหน และจะต้องคอยอีกนานเท่าใดทีมวิจัยจากไอทีเอสแล็บจึงพัฒนา “Traffy Transit” ขึ้น เพื่อเป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้ข้อมูลจีพีเอสที่มีอยู่เกิดประโยชน์มากที่สุดบริษัทผู้ให้บริการรถโดยสารที่ติดตั้งอุปกรณ์จีพีเอสไว้แล้ว สามารถนำข้อมูลมาทำให้เกิดประโยชน์มากขึ้นทั้งกับผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ เนื่องจากระบบสามารถที่จะคำนวณค่าทางสถิติที่สำคัญต่าง ๆ โดยเป็นอัลกอริธึ่มเรียนรู้ข้อมูลเส้นทางและจุดจอด คัดแยกระหว่างการจอดรับผู้โดยสารและการจอดอื่น ๆ เช่น รถติด หรือติดไฟแดง คัดแยกเส้นทางเดินรถประจำทางและเส้นทางอื่น ๆ มีการส่งข้อมูลมาวิเคราะห์ ประมวลผล และจัดทำเว็บแอพพลิเคชั่น แสดงตำแหน่งและเวลาเข้าป้ายแก่ผู้เดินทางได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังช่วยในการบริหารต้นทุนด้านพลังงาน และเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่อีกด้วยดร.วสันต์ บอกว่า ระบบนี้จะเน้นข้อมูลจีพีเอสที่มีอยู่แล้ว จากรถจำนวนเป็นแสน ๆ คัน เพียงแค่ส่งข้อมูลให้กับระบบ ซึ่งอยู่บนคลาวด์ คอมพิวติ้ง ก็สามารถจะใช้งานได้ทันทีปัจจุบันมีการทดสอบการใช้งานระบบแล้วกับรถรับ-ส่งพนักงานของ สวทช. และรถตู้โดยสารของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิตระบบนี้สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เช่น รถโดยสารประจำทาง รถรับพนักงานของบริษัทต่าง ๆ รวมถึงรถโรงเรียน ที่ผู้ปกครอง สามารถติดตามดูแลความปลอดภัยของบุตรหลานได้อย่างใกล้ชิดเรียกว่า…ช่วยแก้ปัญหาไม่รู้ว่ารถอยู่ที่ไหน? หากใช้ Traffy Transit “รู้ตำแหน่ง รู้เวลาเข้าป้าย และลดเวลารอ”.นาตยา คชินทรnattayap.k@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : Traffy Transit : รถโดยสารของฉันอยู่ที่ไหน

Posts related