นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า แนวทางการปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อย ที่ไม่มีหลักประกัน (นาโนไฟแนนซ์) รายละไม่เกิน 1 แสนบาท ที่กระทรวงการคลังเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณา ถือเป็นการปล่อยสินเชื่อแนวทางใหม่ นอกเหนือไปจากแนวทางเดิมที่รัฐเคยได้ทำ เช่น จัดตั้งบริษัทสินเชื่อรายย่อย หรือไมโครไฟแนนซ์ เพราะเป็นการปล่อยสินเชื่อให้กับคนจนที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งเชื่อว่าเป็นประโยชน์ แต่ก็ต้องมีการติดตามตรวจสอบด้วยว่า หากปล่อยเงินไปแล้วมีผลสำเร็จหรือผลเสียอย่างไร และต้องมีระบบประเมินผล ว่าสอดคล้องกับงบประมาณที่รัฐจัดลงไปอุ้มคนกลุ่มนี้ด้วยหรือไม่ “ถามว่าดีไหม ในหลักการเชื่อว่าดี เพราะเป้นการแยกย่อยลงไปถึงกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย หรือเป็นคนที่จนจริงๆ ที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน นอกเหนือจากนโยบายเดิมที่รัฐทำอยู่ และเชื่อว่า การผลักดนสินเชื่อรูปแบบนี้ออกไป ก็สอดคล้องกับนโยบายของคสช.ที่ต้องการช่วยกลุ่มคนจน และช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ แต่จะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นอย่างไร ถึงตอนนั้นคงต้องมาติดตามกันอีกที” ด้านนางวรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ที่ปรึกษาด้านหลักประกันทางสังคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า การแก้ปัญหาดังกล่าว คงต้องมีระบบตรวจสอบด้วยว่า กลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อยที่จะเข้ามากู้เงินนั้น นำเงินไปใช้ประโยชน์จริงหรือไม่ หากนำเงินไปใช้ไม่เหมาะสม คงไม่สามารถตอบโจทย์การช่วยเหลือกลุ่มคนจนจริงได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการคัดกรองผู้ที่เข้าข่ายปล่อยกู้ได้คงต้องเข้มงวด และคงมีรายละเอียดที่ต้องมาพิจารณากันอีกมาก  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ปล่อยกู้นาโนไฟแนนซ์ต้องจนจริง

Posts related