น.ส.บุญวรา สุมะโน นักวิชาการ สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ เปิดเผยในงานสัมมนา เรื่อง ดัชนีชี้วัดสถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชั่นในประเทศไทย จัดโดย ทีดีอาร์ไอ ร่วมกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น เมื่อวันที่ 10 มี.ค.ที่ผ่านมา ว่า ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นยังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย โดยที่ผ่านมาองค์กรเพื่อความโปรงใสนานาชาติ (ทีไอ) ได้เปิดเผยข้อมูลดัชนีชี้วัดอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน พบว่า ปัญหาคอร์รัปชั่น และปัญหาที่เกี่ยวข้องในเชิงการเมืองของไทยเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด และมีความเชื่อมโยงกับนักการเมือง ขณะเดียวกันปัญหาคอร์รัปชั่นของไทยยังเริ่มรุนแรงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 53 เพราะล่าสุดในปี 56 ไทยได้ถูกปรับลดลับดับมาอยู่ที่ 35 ซึ่งต่ำกว่าประเทศฟิลิปปินส์ แม้ว่าประเทศไทยจะมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีกว่ามากนางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ตามผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยอย่างชัดเจน โดยเฉพาะด้านการเมืองที่เข้ามามาผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจ แม้ว่าปัญหาดังกล่าวจะไม่ใช่มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่มีปัญหา ตัวอย่างเช่น ประเทศเกาหลีใต้ที่ผ่านมาก็มีปัญหาดังกล่าวเช่นกัน แต่ก็มีแนวทางบริหารจัดการไม่ให้มากระทบกับภาคธุรกิจมาก ส่วนไทยเองก็เป็นเรื่องที่น่าตกใจ เพราะมีปัญหาการเมืองมาเป็นอันดับหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องเร่งพิจารณาแนวทางแก้ไขไม่ให้ปัญหาดังกล่าวมาทำร้ายภาคธุรกิจในอนาคต“เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัญหาคอร์รัปชั่นของไทยน่าจะปรับตัวดีขึ้น เพราะจากผลศึกษา ชี้ให้เห็นชัดว่า ประเทศที่เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยมาเกิน 40 ปีแล้ว ปัญหาดังกล่าวจะเริ่มลดลงกว่าช่วงที่มีการปกครองระบอบเผด็จการ แต่ประเทศไทยผ่านการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาแล้ว 80 ปี ก็ยังล้มลุกคลุกคลาน ไม่รู้ว่าปัญหานี้จะหลุดไปเมื่อไหร่ เพราะปัญหาคอร์รัปชั่นทุจริตนั้น ไทยอยู่ในกลุ่มที่กระเตาะกระแตะ ไม่ได้ลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้น ทำให้อันดับของประเทศแย่ลง จึงถือเป็นเรื่องที่น่าห่วงอย่างยิ่ง แต่ก็ยังพอมีเรื่องดีอยู่ เพราะถ้ามองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน หรือภาษีก็ไม่ได้ส่งกระทบกับภาคธุรกิจมาก”ทั้งนี้ แนวทางแก้ไขปัญหาทีดีอาร์ไอ มองว่า ปัญหาทุกอย่างมาจากการเมือง ก็ต้องแก้ไขเรื่องการเมือง โดยปฏิรูปการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพ และมีนักการเมืองที่ดีจริง แต่ที่ผ่านมาการเลือกตั้งของไทยสะท้อนออกมาชัดเจนว่ายังไม่ดีพอ ขณะที่กลไกการตรวจสอบปัญหาคอร์รัปชั่น ที่ผ่านมาก็มีหน่วยงานถูกตั้งขึ้นมาเป็นจำนวนมากตั้งแต่ปี 40 ซึ่งการแก้ปัญหาจริงๆ ก็มีจุดอ่อน เช่น มีองค์กรอิสระหนึ่งที่ตรวจสอบการทำหน้าที่ของรัฐ แต่ก็ต้องแบมือของบประมาณจากภาครัฐ ทำให้การตรวจสอบมีข้อจำกัดอย่างไรก็ตาม ภาครัฐยังต้องเร่งแก้ไขกระบวนการเปิดเผยข้อมูล การดำเนินโครงการขนาดใหญ่ เช่น โครงการรับจำนำข้าว ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีประชาชนได้รับทราบว่า รัฐบาลใช้งบประมาณที่มาจากเสียภาษีประชาชน ไปดำเนินโครงการเท่าไหร่ ซื้อข้าวอย่างไร มีราคาเท่าใดเพราะโครงการเหล่านี้ถือว่าเป็นโครงการสาธารณะ ประชาชนทุกคนสามารถรับทราบข้อมูลได้ แต่รัฐกลับปิดบังข้อมูล โดยอ้างว่า เป็นข้อมูลของทางราชการเปิดเผลไม่ได้ ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือว่าแย่มาก เพราะต่างประเทศก็เปิดเผยข้อมูลให้เป็นสาธารณะทั้งนั้น

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : การเมืองต้นตอคอร์รัปชั่นเมืองไทย

Posts related