shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

การเมืองเขย่าอันดับเครดิตไทยหวั่นต้นทุนพุ่ง-การคลังขาดดุล

พลังเสียงนกหวีดที่ต่อต้านรัฐบาลมาเป็นเวลากว่า 1 เดือนไม่เพียงแต่จะสร้างแรงกระเพื่อมระลอกใหญ่ให้กับฝ่ายการเมืองเท่านั้นแต่ความยืดเยื้อของสถานการณ์การชุมนุมและความไม่แน่นอนต่อความร้อนแรงในการประมือของกลุ่มต่าง ๆ ยังส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังภาคเศรษฐกิจของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกด้วยไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวที่มีประเทศต่าง ๆ อย่างน้อย 36 ประเทศเตือนประชากรของตัวเองในการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย นอกจากนี้ภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นของประเทศไทยในปีนี้ได้คะแนนความโปร่งใสจากผลการวิจัยโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติประจำปี 2556 หล่นจากอันดับที่ 88 มาอยู่ที่ 102 ของโลก จากทั้งหมด 177 ประเทศ หรือมีคะแนนความโปร่งใสเพียง 35 เต็ม 100 ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องและการลงทุนของภาครัฐเกิดการติดขัดจากการเข้าปิดหน่วยงานราชการหลายแห่ง โดยเฉพาะถุงเงินของรัฐบาล อย่างกระทรวงการคลัง ที่แม้ว่าผู้บริหารกระทรวงฯจะออกมาบอกว่าทุกอย่างยังคงเดินหน้าได้ แต่ก็ยอมรับว่าการถูกยึดรังไปในครั้งนี้ก็กระทบต่อการทำงานไม่ให้เกิดความไหลลื่นเท่าที่ควรเช่นกันจนโหรเศรษฐกิจหลาย ๆ สำนัก ออกมาหั่นคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปีนี้ลงกันถ้วนหน้า แต่ความกังวลล่าสุด ที่กำลังเกิดขึ้นกับประเทศไทย ซึ่งเป็นผลจากความร้อนแรงทางการเมืองในรอบนี้คือการที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ทั้ง “ฟิทช์ เรตติ้ง” และ“มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส” ได้ร่อนหนังสือถึงกระทรวงการคลัง เพื่อแจ้งให้ทราบว่าสถาบันจัดอันดับดังกล่าวจะนำความเสี่ยงด้านการเมืองเข้าไปรวมคำนวณอันดับเครดิตของไทย เพราะปกติในช่วงปลายปีสถาบันจัดอันดับเครดิตต่าง ๆ จะเข้ามาจัดเก็บข้อมูลเศรษฐกิจเพื่อนำไปประเมินภาพรวมเครดิตประเทศอยู่แล้วเมื่อมีเหตุการณ์พิเศษอย่างนี้เกิดขึ้นก็ย่อมต้องถูกเอาไปร่วมพิจารณาด้วย การส่งสัญญาณจากบริษัทจัดเรตติ้งรายใหญ่นี้ทำให้ ’รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์” ปลัดกระทรวงการคลังถึงกับนั่งไม่ติดและออกมาแสดงความเป็นห่วงว่า หากการชุมนุมทางการเมืองยังยืดเยื้อ และรุนแรงต่อไปจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและภาพรวมไทยในระยะยาวจนทำให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือลดเครดิตเรตติ้งประเทศไทยลงได้ ทั้งนี้จากข้อมูลพบว่าเมื่อวันที่ 15 พ.ย. ที่ผ่านมา เรตติ้งแอนด์ อินเวสเม้นท์ อินฟอร์เมชั่น อิงค์ หรือ ’อาร์แอนด์ไอ” ได้ยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไทยสกุลเงินต่างประเทศไว้ที่ ’บีบีบี บวก” และสกุลเงินบาทที่ ’เอ ลบ” และคงสถานะแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของไทยในระดับที่มีเสถียรภาพ และยังยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือหนี้รัฐบาล ระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศที่ ’เอ ลบ 2” สอดคล้องกับ เจแปน เครดิต เรตติ้ง เอเจนซี หรือ ’เจซีอาร์” ของญี่ปุ่น ได้ยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศที่ระดับ ’เอ ลบ” และอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาทที่ระดับ ’เอ” โดยมีแนวโน้มความน่าเชื่อถือที่มีเสถียรภาพ ส่วนเจ้าใหญ่อย่าง สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ หรือ เอสแอนด์พี  ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวไว้ที่ระดับ ’บีบีบี บวก” และระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศไว้ที่ ’เอ ลบ 2” และระดับอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวอยู่ที่ ’เอ ลบ” และระยะสั้นสกุลเงินบาทอยู่ที่ ’เอ ลบ 2” และได้ยืนยันแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของไทยที่ระดับมีเสถียรภาพ จะมีก็แต่ ฟิทช์ เรตติ้ง ที่ได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศของรัฐบาลเมื่อวันที่ 8 มี.ค. ที่ผ่านมาจากระดับ “บีบีบี” เป็น “บีบีบีบวก” โดยมุมมองที่มีเสถียรภาพและยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาทของรัฐบาลที่ระดับ “เอลบ” พร้อมทั้งปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศของรัฐบาลจากระดับ ’เอฟ 3” เป็น ’เอฟ 2” และปรับเพิ่มระดับเพดานอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศจากระดับ ’บีบีบีบวก” เป็น ’เอลบ” จากการส่งเสียงเตือนของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือในครั้งนี้ ถามว่าจะเป็นความจริงที่พึงตระหนักและรีบแก้ไขหรือเป็นเพียงแค่การขู่เล็ก ๆ ที่ไม่น่าเป็นกังวลแต่คนในรัฐบาลเอามาขยายความเพื่อดิสเครดิตของผู้ชุมนุม หรือไม่ก็คงต้องย้อนกลับไปดูผลกระทบจากปัจจัยเดียวกันในอดีตเป็นตัวเปรียบเทียบ หากมองถอยหลังกลับไปในปี 51 ที่การเมืองเดือดพล่านไม่แพ้กันสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ “สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์”  ได้ออกมาประกาศปรับลดแนวโน้มระดับเครดิตของประเทศไทยจากระดับที่มีเสถียรภาพเป็นระดับที่เป็น “ลบ” ขณะที่สถานการณ์การเมืองในปี 53 ก็ทำให้ ’ฟิทช์ เรตติ้ง” ได้ ปรับลดแนวโน้มของระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาท จากระดับที่มีเสถียรภาพ เป็นระดับที่เป็นลบ แต่ยังยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาท ที่ระดับ เอลบ และ เครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินระดับ บีบีบี โดยมีแนวโน้มของเครดิตในระดับที่มีเสถียรภาพและระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศที่ระดับ   เอฟ 3 พร้อมยืนยันเครดิตของประเทศ ที่ระดับ บีบีบีบวก นั่นจึงน่าจะเป็นคำตอบได้ในระดับหนึ่งว่าความไร้เสถียรภาพทางการเมืองย่อมกระทบต่ออันดับเครดิต หรือมีผลกับมุมมองเครดิตของประเทศแน่นอน ยิ่งเมื่อรวมกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงและสภาพแวดล้อมในการดำเนินนโยบายที่ถูกบ่อนทำลายลงก็คาดว่าจะส่งผลกระทบในทางลบต่อความเชื่อมั่นทางเครดิตของประเทศไทย ส่วนถ้ามองข้ามช็อตต่อไปว่าหากสถานการณ์การเมืองในปีนี้มีผลทำให้อันดับเครดิตของไทยลดลงแล้วจะมีผลกระทบต่อเนื่องอย่างไรต่อไปบ้างนั้นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นตามมาเป็นเงาตามตัวก็คือการปรับลดเครดิตประเทศหรืออีกนัยหนึ่งคืออันดับเครดิตของพันธบัตรรัฐบาลจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเงินต่างประเทศสูงขึ้นเพราะเมื่อความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ำ รัฐบาลไทยก็ต้องยอมจ่ายดอกเบี้ยแพง ๆ เพื่อชดเชยกับความเสี่ยงที่สูงขึ้น และดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาซื้อพันธบัตรของไทยซึ่งจะทำให้รัฐต้องมีภาระด้านการคลังเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันหากมองโลกในแง่ร้ายว่าในภาวะที่รายจ่ายจากดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นแต่ในฝั่งของรายได้คือภาคการส่งออกยังไม่ฟื้นตัว หรือทรุดลงไปอีกรายได้ที่เข้าประเทศก็จะน้อยกว่ารายจ่ายซึ่งจะกดดันให้รัฐต้องใช้นโยบายขาดดุลการคลังเป็นจำนวนมากในการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปอันอาจจะส่งผลให้ฐานะการเงินของรัฐบาลอ่อนแอลงสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี อาจทะลุเกินเพดานวินัยการคลังที่ 60% ต่อจีดีพี และสั่นคลอนความมั่นคงทางเศรษฐกิจในที่สุด ดังนั้นไม่ว่าบทสรุปทางการเมืองจะออกมาอย่างไรแต่สิ่งที่ทุกฝ่ายต้องยอมรับก็คือ ความไม่ลงรอยของแนวคิดทางการเมืองได้สร้างแรงสั่นสะเทือนมายังเศรษฐกิจและกำลังคุกคามอันดับเครดิตของประเทศอีกครั้ง ซึ่งหากต่างฝ่ายต่างยังคงมอง แค่เป้าหมายส่วนตนโดยไม่สนผลกระทบในภาพรวม สุดท้ายก็คงเป็นแค่ชัยชนะบนความพ่ายแพ้ของประเทศ ไทย เหมือนเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา. ทีมเศรษฐกิจ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : การเมืองเขย่าอันดับเครดิตไทยหวั่นต้นทุนพุ่ง-การคลังขาดดุล

Posts related

 














การเมืองเขย่าอันดับเครดิตไทยหวั่นต้นทุนพุ่ง-การคลังขาดดุล

พลังเสียงนกหวีดที่ต่อต้านรัฐบาลมาเป็นเวลากว่า 1 เดือนไม่เพียงแต่จะสร้างแรงกระเพื่อมระลอกใหญ่ให้กับฝ่ายการเมืองเท่านั้นแต่ความยืดเยื้อของสถานการณ์การชุมนุมและความไม่แน่นอนต่อความร้อนแรงในการประมือของกลุ่มต่าง ๆ ยังส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังภาคเศรษฐกิจของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกด้วยไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวที่มีประเทศต่าง ๆ อย่างน้อย 36 ประเทศเตือนประชากรของตัวเองในการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย นอกจากนี้ภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นของประเทศไทยในปีนี้ได้คะแนนความโปร่งใสจากผลการวิจัยโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติประจำปี 2556 หล่นจากอันดับที่ 88 มาอยู่ที่ 102 ของโลก จากทั้งหมด 177 ประเทศ หรือมีคะแนนความโปร่งใสเพียง 35 เต็ม 100 ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องและการลงทุนของภาครัฐเกิดการติดขัดจากการเข้าปิดหน่วยงานราชการหลายแห่ง โดยเฉพาะถุงเงินของรัฐบาล อย่างกระทรวงการคลัง ที่แม้ว่าผู้บริหารกระทรวงฯจะออกมาบอกว่าทุกอย่างยังคงเดินหน้าได้ แต่ก็ยอมรับว่าการถูกยึดรังไปในครั้งนี้ก็กระทบต่อการทำงานไม่ให้เกิดความไหลลื่นเท่าที่ควรเช่นกันจนโหรเศรษฐกิจหลาย ๆ สำนัก ออกมาหั่นคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปีนี้ลงกันถ้วนหน้า แต่ความกังวลล่าสุด ที่กำลังเกิดขึ้นกับประเทศไทย ซึ่งเป็นผลจากความร้อนแรงทางการเมืองในรอบนี้คือการที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ทั้ง “ฟิทช์ เรตติ้ง” และ“มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส” ได้ร่อนหนังสือถึงกระทรวงการคลัง เพื่อแจ้งให้ทราบว่าสถาบันจัดอันดับดังกล่าวจะนำความเสี่ยงด้านการเมืองเข้าไปรวมคำนวณอันดับเครดิตของไทย เพราะปกติในช่วงปลายปีสถาบันจัดอันดับเครดิตต่าง ๆ จะเข้ามาจัดเก็บข้อมูลเศรษฐกิจเพื่อนำไปประเมินภาพรวมเครดิตประเทศอยู่แล้วเมื่อมีเหตุการณ์พิเศษอย่างนี้เกิดขึ้นก็ย่อมต้องถูกเอาไปร่วมพิจารณาด้วย การส่งสัญญาณจากบริษัทจัดเรตติ้งรายใหญ่นี้ทำให้ ’รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์” ปลัดกระทรวงการคลังถึงกับนั่งไม่ติดและออกมาแสดงความเป็นห่วงว่า หากการชุมนุมทางการเมืองยังยืดเยื้อ และรุนแรงต่อไปจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและภาพรวมไทยในระยะยาวจนทำให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือลดเครดิตเรตติ้งประเทศไทยลงได้ ทั้งนี้จากข้อมูลพบว่าเมื่อวันที่ 15 พ.ย. ที่ผ่านมา เรตติ้งแอนด์ อินเวสเม้นท์ อินฟอร์เมชั่น อิงค์ หรือ ’อาร์แอนด์ไอ” ได้ยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไทยสกุลเงินต่างประเทศไว้ที่ ’บีบีบี บวก” และสกุลเงินบาทที่ ’เอ ลบ” และคงสถานะแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของไทยในระดับที่มีเสถียรภาพ และยังยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือหนี้รัฐบาล ระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศที่ ’เอ ลบ 2” สอดคล้องกับ เจแปน เครดิต เรตติ้ง เอเจนซี หรือ ’เจซีอาร์” ของญี่ปุ่น ได้ยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศที่ระดับ ’เอ ลบ” และอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาทที่ระดับ ’เอ” โดยมีแนวโน้มความน่าเชื่อถือที่มีเสถียรภาพ ส่วนเจ้าใหญ่อย่าง สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ หรือ เอสแอนด์พี  ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวไว้ที่ระดับ ’บีบีบี บวก” และระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศไว้ที่ ’เอ ลบ 2” และระดับอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวอยู่ที่ ’เอ ลบ” และระยะสั้นสกุลเงินบาทอยู่ที่ ’เอ ลบ 2” และได้ยืนยันแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของไทยที่ระดับมีเสถียรภาพ จะมีก็แต่ ฟิทช์ เรตติ้ง ที่ได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศของรัฐบาลเมื่อวันที่ 8 มี.ค. ที่ผ่านมาจากระดับ “บีบีบี” เป็น “บีบีบีบวก” โดยมุมมองที่มีเสถียรภาพและยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาทของรัฐบาลที่ระดับ “เอลบ” พร้อมทั้งปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศของรัฐบาลจากระดับ ’เอฟ 3” เป็น ’เอฟ 2” และปรับเพิ่มระดับเพดานอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศจากระดับ ’บีบีบีบวก” เป็น ’เอลบ” จากการส่งเสียงเตือนของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือในครั้งนี้ ถามว่าจะเป็นความจริงที่พึงตระหนักและรีบแก้ไขหรือเป็นเพียงแค่การขู่เล็ก ๆ ที่ไม่น่าเป็นกังวลแต่คนในรัฐบาลเอามาขยายความเพื่อดิสเครดิตของผู้ชุมนุม หรือไม่ก็คงต้องย้อนกลับไปดูผลกระทบจากปัจจัยเดียวกันในอดีตเป็นตัวเปรียบเทียบ หากมองถอยหลังกลับไปในปี 51 ที่การเมืองเดือดพล่านไม่แพ้กันสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ “สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์”  ได้ออกมาประกาศปรับลดแนวโน้มระดับเครดิตของประเทศไทยจากระดับที่มีเสถียรภาพเป็นระดับที่เป็น “ลบ” ขณะที่สถานการณ์การเมืองในปี 53 ก็ทำให้ ’ฟิทช์ เรตติ้ง” ได้ ปรับลดแนวโน้มของระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาท จากระดับที่มีเสถียรภาพ เป็นระดับที่เป็นลบ แต่ยังยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาท ที่ระดับ เอลบ และ เครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินระดับ บีบีบี โดยมีแนวโน้มของเครดิตในระดับที่มีเสถียรภาพและระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศที่ระดับ   เอฟ 3 พร้อมยืนยันเครดิตของประเทศ ที่ระดับ บีบีบีบวก นั่นจึงน่าจะเป็นคำตอบได้ในระดับหนึ่งว่าความไร้เสถียรภาพทางการเมืองย่อมกระทบต่ออันดับเครดิต หรือมีผลกับมุมมองเครดิตของประเทศแน่นอน ยิ่งเมื่อรวมกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงและสภาพแวดล้อมในการดำเนินนโยบายที่ถูกบ่อนทำลายลงก็คาดว่าจะส่งผลกระทบในทางลบต่อความเชื่อมั่นทางเครดิตของประเทศไทย ส่วนถ้ามองข้ามช็อตต่อไปว่าหากสถานการณ์การเมืองในปีนี้มีผลทำให้อันดับเครดิตของไทยลดลงแล้วจะมีผลกระทบต่อเนื่องอย่างไรต่อไปบ้างนั้นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นตามมาเป็นเงาตามตัวก็คือการปรับลดเครดิตประเทศหรืออีกนัยหนึ่งคืออันดับเครดิตของพันธบัตรรัฐบาลจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเงินต่างประเทศสูงขึ้นเพราะเมื่อความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ำ รัฐบาลไทยก็ต้องยอมจ่ายดอกเบี้ยแพง ๆ เพื่อชดเชยกับความเสี่ยงที่สูงขึ้น และดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาซื้อพันธบัตรของไทยซึ่งจะทำให้รัฐต้องมีภาระด้านการคลังเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันหากมองโลกในแง่ร้ายว่าในภาวะที่รายจ่ายจากดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นแต่ในฝั่งของรายได้คือภาคการส่งออกยังไม่ฟื้นตัว หรือทรุดลงไปอีกรายได้ที่เข้าประเทศก็จะน้อยกว่ารายจ่ายซึ่งจะกดดันให้รัฐต้องใช้นโยบายขาดดุลการคลังเป็นจำนวนมากในการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปอันอาจจะส่งผลให้ฐานะการเงินของรัฐบาลอ่อนแอลงสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี อาจทะลุเกินเพดานวินัยการคลังที่ 60% ต่อจีดีพี และสั่นคลอนความมั่นคงทางเศรษฐกิจในที่สุด ดังนั้นไม่ว่าบทสรุปทางการเมืองจะออกมาอย่างไรแต่สิ่งที่ทุกฝ่ายต้องยอมรับก็คือ ความไม่ลงรอยของแนวคิดทางการเมืองได้สร้างแรงสั่นสะเทือนมายังเศรษฐกิจและกำลังคุกคามอันดับเครดิตของประเทศอีกครั้ง ซึ่งหากต่างฝ่ายต่างยังคงมอง แค่เป้าหมายส่วนตนโดยไม่สนผลกระทบในภาพรวม สุดท้ายก็คงเป็นแค่ชัยชนะบนความพ่ายแพ้ของประเทศ ไทย เหมือนเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา. ทีมเศรษฐกิจ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : การเมืองเขย่าอันดับเครดิตไทยหวั่นต้นทุนพุ่ง-การคลังขาดดุล

Posts related

 














Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file