ณ วันนี้ เชื่อว่าหลายคนคงเกิดคำถามในใจต่าง ๆ นานา ว่าปัญหาการเมืองไทยจะคลำหาทางออกได้เมื่อไหร่ ? และจะลงเอยอย่างไร? หลังจากที่สถานการณ์การชุมนุมเริ่มปะทุขึ้นเมื่อวันที่ 31 ต.ค.56 และได้ยืดเยื้อมาถึงปัจจุบันนี้ จนกลายเป็นแรงถ่วงหลักที่ขย่มเศรษฐกิจไทย และเขย่าขวัญนักลงทุนในตลาดหุ้นไทยให้หนีกระเจิง หากย้อนไปดูจุดเริ่มต้นของการชุมนุมทางการเมือง เมื่อปลายปีที่ผ่านมาจวบจนถึงทุกวันนี้ จะพบว่า… จุดยืนหรือเป้าหมายเปลี่ยนแปลงไปและทวีความเข้มข้น ร้อนระอุขึ้นเรื่อย ๆ เพราะแรกเริ่มเดิมทีเป็นเพียงการนัดรวมพลังกันบริเวณสถานีรถไฟสามเสน เพื่อชุมนุมต่อต้านร่างกฎหมาย พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ผ่านการเห็นชอบจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 3 วาระตั้งแต่เวลาประมาณตี 4 ครึ่ง ของเช้าตรู่วันที่ 1 พ.ย.56 จนถูกเรียกว่าเป็น พ.ร.บ.ลักหลับคนไทยทั้งประเทศ จากวันนั้นเป็นต้นมา…กลุ่มผู้ชุมนุมได้ย้ายไปปักหลักที่ถนนราชดำเนินและพยายามกดดันรัฐบาลทุกวิถีทาง ทั้งการนัดชุมนุมใหญ่ และแสดงพลังต่อต้านด้วยการ “เป่านกหวีด” ตลอดจนการตระเวนปิดหน่วยงานราชการ เพื่อไม่ให้ข้าราชการเข้าไปทำงานได้ พร้อมเปลี่ยนเป้าหมายการชุมนุมเป็นขับไล่รัฐบาล และขจัดระบอบทักษิณออกจากประเทศไทย จนกระทั่งต้องมีกาวใจมาประสานโดยนัดหารือแบบเฉพาะกิจ ระหว่างแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมอย่าง “สุเทพ เทือกสุบรรณ” และ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี เพื่อหาทางออกให้ประเทศไทย แต่แล้วก็คว้าน้ำเหลว เพราะต่างฝ่ายต่างยืนยันจุดยืนของตัวเองและเมื่อถึงจุดหนึ่ง นายกรัฐมนตรีก็ยอมถอย ด้วยการประกาศยุบ สภา !!! แต่ยังคงนั่งเก้าอี้รักษาการนายกรัฐมนตรีต่อไปรวมถึงมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น … ทว่ากลับไม่ช่วยให้ความวุ่นวายทางการเมืองไทยลดน้อยลงแถมยังมีความรุนแรงปะทุขึ้นเป็นระยะ และลากยาวมาถึงทุกวันนี้ ตลอดระยะเวลาเกือบ 3 เดือนครึ่ง ปัจจัยทางการเมืองถือเป็นตัวแปรหลักที่คอยถ่วงเศรษฐกิจไทย เห็นได้จากการที่หน่วยงานได้ยกขบวนออกมาหั่นเป้าหมายอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ขณะเดียวกันยังทำให้นักลงทุนต่างชาติไม่มั่นใจและเริ่มถอนการลงทุนออกจากตลาดหุ้นไทยซึ่งเห็นชัดเจนในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 56 ที่ต่างชาติขายสุทธิถึง 90,249.15 ล้านบาท โดยถือเป็นการขายที่กระจุกตัวมากเมื่อเทียบยอดขายทั้งปี 56 ที่ 193,911 ล้านบาท เมื่อประเดิมต้นปีม้าต่างชาติยังคงคอนเซปต์เดิม เพราะนับจากเกิดปัญหาการเมืองตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค. 56-11 ก.พ. 57 พบว่า ต่างชาติกระหน่ำทิ้งหุ้นไทยถึง 119,815.39 ล้านบาท สวนทางกับนักลงทุนกลุ่มอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นรายย่อยที่ขอแปลงร่างเป็นขาช้อปถึง 80,677.96 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 37,688.26 ล้านบาท ขณะที่บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 1,449.17 ล้านบาท แรงเทกระจาดของนักลงทุนต่างชาติที่ทิ้งหุ้นไทยออกมาไม่ขาดสายได้ฉุดให้มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลงต่อเนื่อง จากวันที่ 31 ต.ค.56 อยู่ที่ 37,547.44 ล้านบาท แต่ปัจจุบันเหลือวันละ 24,481.06 ล้านบาท นอกจากนี้ยังทำให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ลดลงถึง 1.09 ล้านล้านบาท จาก 12.59 ล้านล้านบาท เหลือ 11.50 ล้านล้านบาท โดยกลุ่มหุ้นที่ถูกทิ้งมากที่สุด คือ เทคโนโลยี เพราะมีดัชนีราคาหุ้นปรับลดลงถึง 13.67%, รองลงมากลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ลดลง 11.66% ตามด้วย บริการลดลง 10.61%, ธุรกิจการเงิน ธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ ลดลง 9.49%, ทรัพยากร พลังงานและสาธารณูปโภค ลดลง 7.79%, สินค้าอุตสาหกรรมและยานยนต์ ลดลง 6.94%, สินค้าอุปโภคบริโภคหรือแฟชั่นลดลง 0.97% ขณะที่หมวดอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารหรือธุรกิจเกษตร ดัชนีราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้น 2.83% อย่างไรก็ตาม การที่ดัชนีหุ้นไทยปรับลดลงและมูลค่าการซื้อขายที่เบาบางเมื่อเทียบกับปี 56 นั้น ไม่ได้เกิดจากแรงกดดันจากประเด็นการเมืองในประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ยังได้รับผลกระทบจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศทยอยลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (คิวอี) เดือนละ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ดีเดย์ไปเมื่อเดือนม.ค. และต่อเนื่องถึงเดือนก.พ. 57 ซึ่งหมายความว่าเงินจำนวนมหาศาลที่สหรัฐเคยอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเดือนละ 85,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็ย่อมลดลงไปเรื่อย ๆ ทำให้เงินทุนร้อนที่เคยหาแหล่งพักพิงทางการลงทุน แถมยังให้กำไรงามอย่างตลาดหุ้นไทยและตลาดอื่นในเอเชียต้องเผชิญกับชะตากรรมที่สภาพคล่องในระบบหายไป จากการที่สหรัฐเริ่มดึงเงินกลับ แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญในแวดวงตลาดหุ้นไทยต่างมองว่า รอบนี้นักลงทุนต่างชาติไม่น่าจะเทกระจาดหุ้นไทยแบบระเนนระนาดเพราะที่ผ่านมาได้กระหน่ำขายออกมาอย่างหนักแล้ว ทำให้ยังเหลือช่องว่างในการขายอีกไม่มาก และจากข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา พบว่ายอดซื้อสะสมของต่างชาติตั้งแต่ปี 52-55 ที่มีอยู่ 191,223.70 ล้านบาท ขณะนี้ได้ขายออกมาหมดแล้ว ดังนั้นการที่บริษัทจดทะเบียนไทยยังมีความสามารถทำกำไรได้ดีรวมถึงเมื่อพายุต่าง ๆ เริ่มสงบลงต่างชาติน่าจะสนใจกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง เวลานี้ตลาดหุ้นไทย ต้องสู้ศึกกับมรสุมทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการเมืองที่ไร้ทางออก หรือการถอนมาตรการคิวอีของสหรัฐจนทำให้ต่างชาติเผ่นออกจากตลาดหุ้นไทย ทิศทางจากนี้ไปจะเป็นอย่างไรคงไม่มีใครบอกได้ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับ “สติ” เท่านั้นว่าจะเป็นแมงเม่าหรือนักลงทุน!. ขวัญหทัย แนวหล้า
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : การเมือง-คิวอี…หุ้นระส่ำ ตปท.ทิ้งฉุดมาร์เก็ตแคปวูบ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs