ในฐานะผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการค้าบนโลกออนไลน์ กูเกิล ประเทศไทย ได้เปิดเผยรายงานเชิงลึกเกี่ยวกับผลการศึกษาพฤติกรรมการซื้อออนไลน์ของผู้บริโภคในประเทศไทย  วิธีการสำรวจกูเกิล คุยกับกลุ่มตัวอย่าง วัย 18-60 ปี ใช้วิธีสำรวจทางออนไลน์ประมาณ คนละ 25 นาที ทั้งผู้ที่ซื้อของบนเว็บเป็นประจำ เพิ่งซื้อครั้งแรก ไม่เคยซื้อเลยและกลุ่มผู้ขายอีคอมเมิร์ซ อริยะ พนมยงค์ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ ประจำประเทศไทย ของกูเกิล กล่าวว่า ปีนี้เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ช่องทางออนไลน์เปิดโอกาสให้มีธุรกิจเป็นของตัวเอง เริ่มเห็นคนขายของออนไลน์มากขึ้น  โดยพาะช่วงต้นปีที่ผ่านมา มีหลายเหตุการณ์ในประเทศทำให้เดินทางไม่สะดวก ส่งผลการค้าออนไลน์เติบโตขึ้น เพราะเป็นช่องทางที่สะดวกหากต้องซื้อขาย “ลูกค้ามีความพร้อมที่จะซื้อทุกอย่าง ไม่ใช่แค่เสื้อผ้า” ปากต่อปากมาจากประสบ การณ์ของผู้บริโภคเป็นข้อดีของการซื้อสินค้าออนไลน์ โดยเฉพาะประสบการณ์ที่ดี บางบริษัทใช้พนักงานรับส่งเอกสาร มาส่งของให้ลูกค้า บังเอิญคนนั้นอาจจะมีมนุษยสัมพันธ์ไม่ดี ทำให้ลูกค้าเกิดประสบ การณ์ไม่ดี หรือถูกหลอก  หัวใจสำคัญของการค้าขายออนไลน์ ครั้งแรกต้องทำให้เกิดประสบการณ์ที่ดี   รับชำระด้วยเงินสด ทำให้ผู้ซื้อรู้ว่า สามารถเปลี่ยนได้ และส่งของตรงเวลา ปัจจัยสำคัญของการชอปปิงออนไลน์ คือ ประหยัดเวลา และอินเทอร์เน็ตมีสินค้าให้เลือกมากกว่า แต่บางครั้งราคาไม่ใช่ปัจจัยหลัก แต่ไม่มีเวลา โดยเฉพาะสินค้าที่ต้องใช้ ไม่จำเป็นต้องออกไปซื้อเอง ราคาเป็นแค่หนึ่งในกลยุทธ์เท่านั้น โดยเฉพาะคนที่ใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ ต้องการช่องทางใหม่ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ชีวิตประจำวัน วรรณา สวัสดิกูล ประธานกรรมการบริหารฝ่ายการตลาด บริษัทเอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเตม จำกัด (เทสโก้ โลตัส) เล่าให้ฟังว่า สิ่งที่ทำได้ยากมากสำหรับลูกค้าที่สั่งของผ่านเว็บไซต์เทสโก้ คือ คำสั่งซื้อของสดและของชำ ส่วนใหญ่จะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า ปีนี้เห็นการเติบโตสวยงามมาก จากกลุ่มลองใช้ และลูกค้าใหม่ ลูกค้าบอกว่า  สะดวกมาก และยอมรับว่า ช่วงแรกไม่มั่นใจเรื่องซื้อของสด แต่เมื่อลองใช้บริการก็พบว่าง่าย ช่วงแรกของการให้บริการชอปปิงบนเว็บไซต์  เทสโก้เน้นให้ความรู้  คำแนะนำ และทำขั้นตอนการสั่งซื้อให้ง่ายขึ้น ระบบออนไลน์ คือ การเรียนรู้ไปทีละขั้นตอน เริ่มจากการลงทะเบียน การทำธุรกิจออนไลน์ ห้ามเข้มงวด ต้องปรับให้ลูกค้าสะดวกมากที่สุด  แม้แต่เนสท์เล่ ก็พอใจมากกับการทำตลาดในช่องออนไลน์กับเทสโก้ หลายแบรนด์เริ่มรู้แล้วว่า นอกจากช่องทางการขายในห้างแล้ว ยังมีช่องทางที่เหมาะกับลูกค้า  สะดวกไม่เสียเวลาทั้งสองฝ่าย ปัจจุบันเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ เทสโก้ โลตัส มีสินค้าให้สั่งซื้อมากกว่าสองหมื่นรายการ  เหมือนเดินเข้าไปในซูเปอร์มาร์เกต หากกลับเข้ามาบริการครั้งที่สอง จะมีข้อมูลสินค้าที่ซื้อประจำ หรือเคยซื้อครั้งแรก ทำให้ลูกค้าชอบมาก เลือกเวลาสั่งได้ และจัดส่งตามเวลานั้น ใช้ระบบส่งแบบเดียวกับบริษัทแม่ในอังกฤษ รถห้องเย็นส่งของ มีระบบชาร์จไฟล่วงหน้า 30 นาที การคัดเลือกพนักงานเข้ามาทำหน้าที่คัดเลือกสินค้าให้กับระบบออนไลน์ เราเน้น เทรนด์มากกว่าพนักงานทั่วไป ให้มาเรียนรู้การคัดเลือกของสด ผัก ผลไม้ เมื่อไปส่งถึงบ้าน หากลูกค้าไม่พอใจเรารับคืน โดยพนักงานหน้าไม่งอ แต่จะเป็นเหมือนผู้ช่วยในการชอปปิง ส่วนระบบชำระเงินในช่วงแรก ใช้บัตรเครดิต แต่ขณะนี้รับชำระเงินทุกช่องทาง รวมถึงจ่ายเงินสดเมื่อสินค้าไปส่ง เพราะทางเมืองไทยจะมีแม่บ้านหรือคนรับใช้อยู่บ้านตอนกลางวัน นายจ้างจะให้เงินสดไว้ ในช่วงแรกทางบริษัทแม่ก็งงมาก จะพบว่า นักชอปออนไลน์ตัวยง ไม่ใช่วัยรุ่น แต่เป็นวัยแม่ที่อยู่บ้าน ช่วงวันหยุดยาวตัวเลขออนไลน์จะไม่ดี ปกติวันหยุดในห้างจะขายดี แต่ออนไลน์ไม่ดี เพราะคนไม่อยู่บ้าน จึงวางแผนใหม่ เช่น วันหยุดยาวตู้เย็นโล่ง ก็เสนอแนะให้สั่งของไว้ล่วงหน้า จะได้ไม่ต้องออกไปนอกบ้านเมื่อกลับมาจากการเดินทางไกลมาเหนื่อย ๆ “เจ้าของสินค้า คิดว่าออนไลน์เป็นอนาคต ต้องมีผู้ที่เข้าใจเรื่องการทำธุรกิจออนไลน์ ไม่เช่นนั้นจะไม่เกิด  ควรเอาตัวเองมาอยู่ในสังคมนี้ ลองเป็นผู้ซื้อ ผู้ขาย จะเข้าใจ การทำตลาด ไม่ควรดูถูกมูลค่าออนไลน์ สิ่งที่เราไม่เห็น ไม่ได้หมายความว่ามันไม่ได้ผล” สินค้าขายดี คือ สินค้าเด็ก ผ้าอ้อม นมผง นมสด นมกล่อง เครื่องดื่ม ของใช้ภายในบ้าน น้ำยาซักผ้า ของสดแทบจะไม่มีสัดส่วนการคืนเลย. 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กูเกิล-เทสโก้โลตัส เผยกลยุทธ์ดูดขาช้อปบนเว็บ – ตลาดออนไลน์

Posts related