น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล นักวิชาการมูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา เปิดเผยผลสำรวจเรื่องความเหลื่อมล้ำของครัวเรือนไทย ว่า ปัญหาความเลื่อมล้ำของไทยไม่ได้ปรับตัวดีขึ้นในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา โดยกว่า 2 ล้านครัวเรือน จาก 22 ล้านครัวเรือนที่มีอยู่ทั้งประเทศ เป็นกลุ่มครัวเรือนที่จนที่สุด มีรายได้เฉลี่ยเพียงเดือนละ 4,300 บาทเท่านั้น ต่างจากกลุ่มที่รวยที่สุดซึ่งมีรายได้เฉลี่ยถึงเดือนละ 90,000 บาท และส่วนใหญ่กลุ่มครัวเรือนที่จนที่สุดนั้น เป็นครอบครัวที่มีคนชราเป็นหัวหน้าครอบครัว ไม่ใช่ชาวนา หรือเกษตรกรอย่างที่เข้าใจกัน มีรายได้หลักมาจากเงินที่ลูกหลานส่งมาให้ รองลงมาเป็นครอบครัวเกษตรกร และประกอบอาชีพอิสระ เช่น พ่อค้า แม่ค้า ซึ่งกลุ่มครัวเรือนที่จนนี้กว่า 44% เป็นครัวเรือนที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาถึงเรื่องทรัพย์สินแล้ว ยังเป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) หรือผู้ที่เป็นตัวแทนของประชาชน เป็นครัวเรือนที่อยู่ในกลุ่มที่รวมที่สุด โดยจากการสำรวจข้อมูลล่าสุดของส.ส.ของไทยจำนวน 500 คน ที่ได้รับการเลือกตั้งมาเมื่อปี 54 แต่ละครัวเรือนของส.ส.มีทรัพย์สินเฉลี่ย 81 ล้านบาท มากกว่ามูลค่าทรัพย์สินของครัวเรือนไทย 99.999% หรือมีมูลค่ารวมกันประมาณ 40,000 ล้านบาท มากพอ ๆ กับทรัพย์สินของครัวเรือนไทย 2 ล้านครัวเรือนรวมกันทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบทรัพย์สินของนายกรัฐมนตรี กับกลุ่มครัวเรือนที่มีทรัพย์สินสุทธิอยู่กึ่งกลาง หรือเป็นกลุ่มครัวเรือนที่อยู่ตรงกลางระหว่างผู้ที่มีทรัพย์สินมากที่สุดกับน้อยที่สุด พบว่า ผู้นำของไทยมีมูลค่าทรัพย์สินสูงกว่าถึง 9,000 เท่า ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น เช่น อินเดีย ที่ห่างกัน 2,000 เท่า ฟิลิปปินส์ 600 เท่า ซึ่งน่าสังเกตว่า ผู้เข้ามาเป็นคนที่กำหนดนโยบายของประเทศเหล่านี้มีฐานะไม่ได้ใกล้เคียงประชาชนส่วนใหญ่แทนที่จะเป็นตัวแทนให้ จึงอาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ปัญหาความเหลื่อมล้ำของไทยไม่ได้ถูกแก้ไขเสียที

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คนจนทุกหย่อมหญ้า

Posts related