ผลสำรวจล่าสุดจากสวนดุสิตโพล ร่วมกับไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย)  เกี่ยวกับทัศนคติและความรู้ความเข้าใจในการตรวจสอบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ของผู้ใช้งานชาวไทย  จากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่กำลังจะซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ โน้ตบุ๊กเครื่องแรก และกำลังจะเปลี่ยนเครื่องใหม่  พบว่า   ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ชาวไทยมีความรู้ความเข้าใจในการตรวจสอบซอฟต์แวร์เถื่อนอยู่ในระดับต่ำ โดย ร้อยละ 55.67ของกลุ่มตัวอย่าง ไม่ทราบวิธีการตรวจสอบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงเนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้เหล่าอาชญากรใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ของระบบความปลอดภัยและมัลแวร์ที่มักจะมากับซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ เพื่อขโมยข้อมูลในเครื่อง หรือดักจับรหัสการใช้งานเพื่อแอบอ้างเข้าทำธุรกรรมออนไลน์ทางการเงินสร้างความเสียหายต่อทั้งผู้ใช้งานทั่วไป และองค์กรธุรกิจกลุ่มตัวอย่างจำนวนเพียงไม่ถึงครึ่ง(ร้อยละ 44.33) ที่ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวเป็น เช่น ดูออกว่ากล่องของซีดีหรือดีวีดีต้องมีการแพ็คซีลมาอย่างเรียบร้อย มีฉลากรับรองผลิตภัณฑ์ตัวหนังสือบนกล่องสะกดถูกต้อง ไม่ใช่เป็นซองพลาสติกใสวางขายตามแหล่งน่าสงสัย แต่เมื่อแยกตามกลุ่มอาชีพแล้วพบว่า กลุ่มที่น่าเป็นห่วงคือกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาซึ่งกลับเป็นกลุ่มที่มีความรู้ความเข้าใจในการตรวจสอบซอฟต์แวร์น้อยที่สุดเพียงร้อยละ30.86 เท่านั้น ต่ำกว่ากลุ่มอาชีพค้าขายซึ่งมีจำนวนร้อยละ 37.93ส่วนพนักงานบริษัทที่ตรวจสอบเป็นมีจำนวนร้อยละ 51.56นายฮาเรซ คูบจันดานิ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย)  จำกัด ระบุว่าการดาวน์โหลดหรือซื้อซอฟต์แวร์เถื่อน  เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ติดมัลแวร์และนำไปสู่การขโมยข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลสูญหาย และระบบล่มได้   ตัวเลขการสำรวจดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่ มีความเข้าใจถึงอันตรายอยู่บ้างแต่ยังยอมเสี่ยงโดยแลกกับความสะดวกสบายในการหาซื้อ และคิดว่าอันตรายเหล่านั้นจะไม่เกิดกับตัวเอง“ในฐานะที่เราเป็นผู้จัดตั้งศูนย์ป้องกันภัยจากอาชญากรรมไซเบอร์ของไมโครซอฟท์หรือ Microsoft Cybercrime Center  บอกได้ว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการโจมตีโดยอาชญากรไซเบอร์โดยอาศัยช่องโหว่ของซอฟต์แวร์เถื่อนสูงมาก” นายฮาเรซ กล่าว  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คนไทยเกินครึ่งอาจถูกล้วงข้อมูลในคอมพิวเตอร์

Posts related