นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงกรณีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีแนวคิดนำที่ดินบริเวณโรงงานมักกะสัน 497 ไร่ และที่ดินสถานีรถไฟแม่น้ำ ย่านช่องนนทรี 277 ไร่ ไปให้กระทรวงการคลังเข้ามาพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อแลกกับการล้างหนี้สะสมของร.ฟ.ท.กว่าแสนล้านบาทว่า จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่าเรื่องนี้เป็นแนวคิดของนายประภัสร์จงสงวน อดีตผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. แต่ไม่ได้เป็นมติจากคณะกรรมการร.ฟ.ท. ดังนั้นนโยบายในเรื่องนี้ต้องทบทวน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อ ร.ฟ.ท.อย่างแท้จริงอย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ได้มอบนโยบายให้คณะกรรมการร.ฟ.ท.ชุดใหม่ เร่งรัดจัดทำแผนพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างรายได้จากทรัพย์สิน และที่ดินของร.ฟ.ท. ให้เกิดเป็นรูปธรรมและคุ้มค่ามากที่สุดโดยเฉพาะการบริหารจัดเก็บค่าเช่าพื้นที่ให้เหมาะสม โดยพื้นที่ใดหากเก็บค่าเช่าต่ำไป จะต้องปรับเพิ่มเพราะมั่นใจถ้าดูแลการจัดเก็บรายได้เพิ่ม และป้องกันการรั่วไหลของงบประมาณ จะทำให้ร.ฟ.ท.มีรายได้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่จัดเก็บได้เพียงปีละ1,600 ล้านบาทเท่านั้นส่วนประเด็นการเช่าที่ดินสำนักงานใหญ่บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ถนนพหลโยธิน ขนาด 24 ไร่ ที่ยังมีข้อพิพาทถึงการต่อสัญญาเช่าใหม่ ที่ ร.ฟ.ท.ต้องการคิดค่าเช่าสัญญา 30 ปี รวม 1,792 ล้านบาท แต่ ปตท.ขอจ่าย 800ล้านบาท ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งเรื่องนี้ต้องเข้าไปดูในรายละเอียดเงื่อนไขก่อนแต่หลักการแล้ว การกำหนดอัตราค่าเช่าจะต้องเหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพของพื้นที่แถบนั้นเช่น อาจเทียบเคียงได้กับค่าเช่าพื้นที่ ของห้างเซ็นทรัลลาดพร้าวนายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า หนึ่งในคณะกรรมการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมาบอร์ด ร.ฟ.ท.ยังไม่เคยนำเสนอหรือหยิบยกเรื่องการนำที่ดินไปให้กระทรวงการคลังบริหาร เพื่อแลกกับหนี้สินสะสม เบื้องต้นจึงคาดว่าเป็นเพียงแนวนโยบายของอดีตผู้ว่า ร.ฟ.ท. เท่านั้นด้านนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานบอร์ด ร.ฟ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าว เนื่องจากเพิ่งเข้ามารับตำแหน่ง จึงต้องขอเวลาพิจารณาข้อดีข้อเสียก่อน แต่หลังจากนี้จะให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์มากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ และแก้ปัญหาขาดทุนให้ร.ฟ.ท. ซึ่งขณะนี้สั่งให้ฝ่ายบริหารร.ฟ.ท.ส่งแผนพัฒนาเชิงพาณิชย์ฉบับเดิมมาให้พิจารณาก่อนแล้ว ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ หากเหมาะสม จะให้เดินหน้าต่อได้หากเห็นว่ายังไม่เหมาะสม ก็ต้องมาจัดทำแผนใหม่ทั้งหมดปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีที่ดินอยู่ทั่วประเทศ 234,976.96 ไร่แบ่งเป็นที่ดินเพื่อการเดินรถ 198,674.71 ไร่ ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ 36,302.18 ไร่ ในส่วนของที่ดินเชิงพาณิชย์แบ่งเป็นที่ดินที่มีศักยภาพต่ำ 21,536.80 ไร่ ปานกลาง 7,218.12 ไร่ และสูง 7547.26 ไร่ส่วนที่ดินที่มีศักยภาพสูงที่นำไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้มี 3 แปลง คือ ที่ดินย่านมักกะสันพื้นที่ 512 ไร่ มูลค่าที่ดิน 55,816 ล้านบาท ที่ดินย่านพหลโยธิน บริเวณ กม.11พื้นที่ 359 ไร่ มูลค่าที่ดิน 18,370 ล้านบาท และที่ดินย่านสถานีแม่น้ำ พื้นที่ 277 ไร่ มูลค่าที่ดิน 10,413 ล้านบาท ซึ่งเฉพาะพื้นที่ 3 แปลงนี้มีมูลค่ารวม 84,599 ล้านบาท

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คมนาคมเบรกแผนรถไฟยกที่ใช้หนี้

Posts related