นายธนวรรธน์ พลวิชัยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทย ประจำเดือน ธ.ค. 56 อยู่ในระดับ 39ลดลงจากผลสำรวจในเดือน มิ.ย. 56 ที่อยู่ในระดับ 41 ซึ่งเป็นสถานการณ์คอร์รัปชั่นจากระดับปานกลางในช่วงกลางปีมาเป็นในระดับที่รุนแรงในช่วงปลายปี โดยในปี 56 ผู้ประกอบการประมาณการว่ามูลค่าการทุจริตคอร์รัปชั่นเฉลี่ยที่25-35% ของงบประมาณทั้งหมดหรือคิดเป็นมูลค่าคอร์รัปชั่น235,652 – 329,912 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 20,000 -30,000 ล้านบาท                 สำหรับเกณฑ์ค่าดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทยหากคะแนนอยู่ระดับ0  จะมีความรุนแรงมากที่สุด, 1-20 คะแนน จะรุนแรงมาก,21-40 คะแนน จะอยู่ในขั้นรุนแรง, 41-60 คะแนน จะอยู่ในขั้นปานกลาง, 61-80คะแนนจะอยู่ในขั้นรุนแรงน้อย,  81-99คะแนนจะอยู่ในขั้นรุนแรงน้อยที่สุด และ 100 คะแนน อยู่ในขั้นไม่มีการคอร์รัปชันเลย                 “จากการสำรวจพบว่าผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจกับภาครัฐจะต้องจ่ายเงินเพิ่มพิเศษ(ใต้โต๊ะ) แก่ข้าราชการ นักการเมืองเพื่อให้ได้สัญญาในสัดส่วนถึง 75% ส่วนใหญ่จะเป็นมูลค่า 25-35% ของงบประมาณโครงการต่างๆ     ซึ่งจากการประเมินวงเงินคอร์รัปชั่นจากงบประมาณรายจ่ายค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ จากงบประมาณปี 56 รวม 2.4 ล้านล้านบาท”                 สำหรับโครงการใหญ่ๆที่จะมีการคอร์รัปชันเช่น โครงการของหน่วยงานท้องถิ่นส่วนใหญ่จะรับเงินใต้โต๊ะมากกว่า 45% และบางพื้นที่มีการรับเงินใต้โต๊ะถึง 50% โดยเฉพาะในภาคเหนือ, โครงการรับจำนำข้าวส่วนใหญ่จะมีการคอร์รัปชัน26-30%, โครงการบริหารจัดการน้ำ350,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะมีอยู่ที่ 21-25%  และ โครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับ26-30%                 ส่วนรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทยที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดอันดับหนึ่งเป็นการใช้ตำแหน่งทางการเมืองเพื่อเอื้อประโยชน์แก่พรรคพวกรองลงมาเป็นกาให้สินบนของกำนัล หรือรางวัลต่างๆ , การทุจริตเชิงนโยบายโดยผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง, การเอื้อประโยชน์แก่ญาติพรรคพวก,การจ่ายเงินเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ในภายหลัง,ใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายเพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว, การฮั้วประมูล,การวิ่งเต้นขอตำแหน่งและการโยกย้าย,การทำลายระบบการตรวจสอบและความเป็นอิสระขององค์กร เป็นต้น                 ส่วนยุทธศาสตร์การต่อต้านการทุจริตนั้นควรเน้นปลูกจิตสำนึกให้แก่ข้าราชการนักการเมือง ประชาชนและเยาวชนพร้อมทั้งให้ภาคประชาชนและเอกชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบทุจริตคอร์รัปชันมากขึ้นขณะเดียวกันก็ต้องมีการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายให้มีบทลงโทษต่อผู้กระทำผิดอย่างหนักและรุนแรงขึ้นเช่น ออกจากราชการ ยึดทรัพย์ จำคุกตลอดชีวิต ประหารชีวิต เป็นต้น                 สำหรับความเชื่อมั่นในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันองค์กรต่างๆนั้นพบว่าความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลได้คะแนน3.64 คะแนน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดเมื่อเทียบกับหน่วยงานต่างๆ โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ได้คะแนน 4.6, สมาคมของภาคธุรกิจต่างๆ 5.08 คะแนน, สื่อมวลชน 5.49* คะนแนน, ผู้ประกอบการ 5.07 คะแนน และภาคประชาชน 5.64 คะแนนแสดงให้ความว่าสังคมมีความเชื่อมั่นภาคประชาชนในการปฎิรูปการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันมากที่สุด                  นายธนวรรธน์ กล่าวว่า จากผลการจัดอันดับดัชนีวัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น ของโลก ประจำปี 56 รวม 177 ประเทศ พบว่า ประเทศไทย อยู่อันดับ 102 เพิ่มขึ้นจากปี 55 ที่อยู่อันดับ 88 สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาคอร์รัปชั่นของไทยแย่ลง  ส่วนในปี 57 ยังมองว่า การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นไทยจะยังไม่ดีขึ้น  แต่กรณีที่มีกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาล รวมถึงพรรคการเมืองต่างๆเริ่มให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาคอร์รัปชันทำให้สังคมมีความตื่นตัวในการต่อต้านเรื่องดังกล่าวมากขึ้น

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คอรัปชั่นเมืองไทยยกระดับแรงขึ้น

Posts related