ในรายงานประจำปีฉบับที่สาม “ดัชนีคลาวด์ทั่วโลกของซิสโก้ (2555-2560  ซิสโก้คาดการณ์ว่า  แทรฟฟิกคลาวด์ทั่วโลก ซึ่งเป็นส่วนที่เติบโตเร็วที่สุดของแทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์ จะเพิ่มขึ้น 4.5 เท่า หรือเติบโตเฉลี่ย 35 เปอร์เซ็นต์ต่อปี จาก 1.2 เซตตาไบต์ต่อปีในช่วงปี 2555 เป็น 5.3 เซตตาไบต์ภายในปี 2560  แทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์โดยรวมทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 3 เท่า จนแตะระดับ 7.7 เซตตาไบต์ต่อปี ภายในปี 2560โดยหนึ่งเซตตาไบต์เท่ากับหนึ่งพันล้านเทราไบต์  ดังนั้น  7.7 เซตตาไบต์เท่ากับ การสตรีมเพลง 107 ล้านล้านชั่วโมง เทียบเท่ากับ การสตรีมเพลงต่อเนื่องประมาณ 1.5 ปี ของประชากรทั้งโลกในปี 2560  การประชุมผ่านเว็บ 19 ล้านล้านชั่วโมง เทียบเท่ากับ การประชุมผ่านเว็บราว 14 ชั่วโมงต่อวันของพนักงานบริษัททั้งโลกในปี 2560การสตรีมวิดีโอที่มีความละเอียดสูง (HD) ความยาว 8 ล้านล้านชั่วโมง เทียบเท่ากับ การสตรีมวิดีโอ HD ประมาณ 2.5 ชั่วโมงต่อวันของประชากรทั้งโลกในปี 2560ประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์ของแทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์จะเพิ่มขึ้นจากผู้ใช้ที่เข้าถึงระบบคลาวด์สำหรับการท่องเว็บ วิดีโอสตรีมมิ่ง การทำงานร่วมกัน และอุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อ โดยทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Internet of Everything หรือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงผู้คน ข้อมูล กระบวนการ และสิ่งต่างๆ ทั้งหมดเข้าด้วยกันนายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีนของซิสโก้ กล่าวว่า  ในประเทศไทย การปรับใช้คลาวด์เป็นไปอย่างรวดเร็วและแพร่หลายมาก ไทยเป็นหนึ่งในตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ขณะที่รัฐบาลและผู้ให้บริการ (Service Providers) ยังคงมีบทบาทในการผลักดันในการปรับใช้คลาวด์ และใช้เป็นกลยุทธ์ในการลงทุนเพื่อส่งเสริมประเทศไทยให้เป็น “ศูนย์กลางการให้บริการคลาวด์” (Cloud Service Hub) ของภูมิภาคในอีกสามปี เพื่อสร้างรายได้และสร้างโอกาสในการทำงาน ผลการสำรวจของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ และศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยว่า ตลาดคลาวด์คอมพิวติ้งในประเทศไทยปีนี้คาดว่าจะอยู่ระหว่าง 2.22 – 2.33 พันล้านบาท และอัตราการเติบโตจะเพิ่มเป็น 22.1 % จาก 16.7% เทียบกับปีที่ผ่านมา จากผลการวิจัยจะเห็นได้ว่าองค์กรธุรกิจขยายการเติบโตด้วยการปรับใช้การบริการคลาวด์ (Cloud-based Optimized Service) และคลาวด์ กำลังเปลี่ยนรูปแบบการทำงานและการดำเนินงานของธุรกิจในปัจจุบัน  ประเทศไทยมีการใช้บริการคลาวด์ (Cloud-based service) ในอัตราที่สูงและถูกนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทุกระดับ รวมถึงธุรกิจเอสเอ็มบี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างแทรฟฟิกคลาวด์ ด้วยแทรฟฟิกของคลาวด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว องค์กรธุรกิจมีความจำเป็นที่จะต้องมีแพลตฟอร์มที่จะรองรับแทรฟฟิกคลาวด์ และทรานสฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีไปสู่ “คลาวด์คอมพิวติ้ง” และ “การทำงานร่วมกันผ่านคลาวด์” (Cloud-based collaboration) อีกทั้งองค์กรธุรกิจควรที่จะพัฒนาระบบเพื่อรองรับการทำงานกับแพลตฟอร์มคลาวด์โดยเฉพาะจากมุมมองระดับภูมิภาค รายงานดัชนีคลาวด์ทั่วโลกของซิสโก้ (Cisco Global Cloud Index) คาดการณ์ว่าจากนี้จนถึงปี 2560 ภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาจะมีอัตราการเติบโตของแทรฟฟิกคลาวด์สูงสุดโดยเฉลี่ย 57 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ตามมาด้วยภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกโดยเฉลี่ย 43 เปอร์เซ็นต์ต่อปี และภูมิภาคยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก โดยเฉลี่ย 36 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คาด ‘แทรฟฟิกคลาวด์’แซงหน้า ‘แทรฟฟิกดาต้าเซ็นเตอร์’

Posts related