เมื่อเวลา 13.30 น.(7 พค.2557) ที่ตึกจามจุรี 4  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดแถลงข่าวเรื่อง “แผ่นดินไหว…รับมืออย่างไร”เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน โดยมีศ.นพ.ภิรมย์  กมลรัตนกุล อธิการบดี จุฬา ฯเป็นประธานในการแถลงข่าว ร่วมกับทีมนักวิจัยที่เกี่ยวข้องรศ.ดร.ปัญญา  จารุศิริ  อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา และหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยธรณีวิทยาแผ่นดินไหว คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ  เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในไทยช่วงหลังมานี้รวมถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดที่อำเภอพาน จ.เชียงราย พบว่ารอยเลื่อนที่เกิดในระดับตื้น7-15 กิโลเมตร  จากพื้นผิวดินซึ่งส่งผลกระทบมากนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นรอยเลื่อนที่มีขนาดสั้น ๆ ไม่ยาว ทำให้หน่วยงานสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องแผ่นดินไหวและรอยเลื่อนมักไม่ให้ความสนใจ เรียกว่าเป็นรอยเลื่อนนอกสายตาเหมือนกับการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ที่เกิดจากรอยเลื่อนพะเยาซึ่งมีขนาดความยาวประมาณ  14 กิโลเมตร  แม้จะเป็นรอยเลื่อนมีพลัง แต่นักธรณีวิทยาก็ไม่เคยคาดคิดว่าจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขนาดนี้ได้ทำให้ต่อไปนี้ต้องหันมาเฝ้าระวังรอยเลื่อนต่าง ๆ มากขึ้นทั้งนี้จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่ารอยเลื่อนพะเยาในอดีตเคยเกิดแผ่นดินไหว คำนวณได้ประมาณ 5 -5.6 ริกเตอร์ ประกอบกับรอยเลื่อนดังกล่าวเป็นรอยเลื่อนบนหินแข็ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยเลื่อนตามลำน้ำแม่ลาว  ทำให้นักวิชาการไม่ได้เฝ้าสังเกตมากนัก  เพราะรอยเลื่อนมีพลังมักเกิดในตะกอนหรือหินตะกอนที่มีอายุน้อยๆ มากกว่า   ขณะเดียวกันสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังในขณะนี้คือรอยเลื่อนที่อยู่ใกล้เคียงหรืออยู่แนวเดียวกับรอยเลื่อนพะเยาที่จะมีการปรับตัวของดินใต้แผ่นเปลือกโลกอีกด้วยนอกจากนี้ยังต้องเฝ้าระวังรอยเลื่อนในประเทศเพื่อนบ้านเช่นพม่าและลาวที่อาจส่งผลกระทบถึงไทยและที่สำคัญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเฝ้าระวังรอยเลื่อนแม่จัน เนื่องจากรอยเลื่อนนี้ถึงรอบของการไหวหรือคาบอุบัติซ้ำสำหรับการคาดการณ์แนวโน้มของการแผ่นดินไหวว่าจะมีมากขึ้นหรือไม่นั้น รศ.ดร.ปัญญา   กล่าวว่า ปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีไหนบอกได้อย่างชัดเจนว่าแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อใด  แต่สามารถเก็บสถิติของเหตุการณ์เพื่อนำไปวิจัยและเฝ้าระวังเพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุดได้  ขณะนี้บอกได้แต่เพียงว่าพื้นที่ไหนเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวโดยดูจากแผนที่รอยเลื่อนพาดผ่าน  อย่างไรก็ดีรศ.ดร.ปัญญา กล่าวเตือนว่า  คนไทยมักลืมง่าย อย่างเหตุการณ์สึนามิใหญ่เมื่อปี2547 ปัจจุบันพื้นที่ที่เคยถูกสึนามิถล่ม ก็ยังมีสิ่งปลูกสร้างกลับมาเต็มเหมือนเดิมซึ่งบอกได้เลยว่าสึนามิเคยเกิดตรงไหน หากเกิดอีกครั้งก็มักจะโดนในพื้นที่เดิม ๆซึ่งควรที่จะมีการเตรียมความพร้อมในการรับมืออยู่เสมอ 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : จุฬา ฯย้ำนักธรณีเปลี่ยนแนวคิดจับตารอยเลื่อนขนาดเล็กมากขึ้น

Posts related