นายศาสตรา สุดสวาสดิ์ อาจารย์ประจำคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยว่า การแก้ปัญหาการใช้งบประมาณของภาครัฐที่ยั่งยืน ควรจัดตั้งองค์กรเฝ้าระวังทางการคลังอิสระ (พีบีโอ) เหมือนกับสหรัฐอเมริกา และแคนาดา ที่ทำงานแบบอิสระจากฝ่ายบริหาร เป็นกลางทางการเมือง ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้งบประมาณของรัฐ และวางนโยบายทางการคลังในอนาคต เพื่อให้รัฐสภาและประชาาชนตรวจสอบการใชัเงินของรัฐบาลได้ และสามารถสรา้งฐานะทางการคลังของประเทศให้ดีขึ้นิไม่ต้องขาดดุลงบประมาณต่อเนื่องเหมือนในปัจจุบัน ทั้งนี้ หากผลักดันให้องค์กรอิสระดังกล่าวเกิดได้จริง จะช่วยการใช้จ่ายงบประมาณได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เห็นได้จากประเทศที่มีองค์กรดังกล่าวกับกับอยู่ ที่มีอัตราส่วนหนี้สาธารณะลดลง และมีงบประมาณเกินดุล ซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจเติบโตในระยะยาว เพราะหากมองการบริหารงบประมาณของรัฐในตอนนี้ พบว่า รัฐบาลมักมองประโยชน์ที่จะเกิดระยะสั้น ไม่ได้คิดริบคอบ แยีงใช้งบประมาณจากกองกลาง และใช้นโยบายการคลังอย่างขาดดุลพินิจมากกว่าใช้นโยบายที่ปรับเสถียรภาพเศรษฐกิจอัตโนมัติ นายภาวิน ศิริประภานุกูล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้จัดทำงบประมาณขาดดุลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่ได้ส่งดีต่อเศรษฐกิจ อีกทั้ง หนี้สาธารณะเองก็ไม่ได้ลดลง แต่ที่ลดลงคือรายจ่ายการลงทุน นอกจากนี้ ตามกรอบการรักษาวินัยการเงินการคลังที่กำหนดเพดานไว้ชัดเจนนั้น รัฐบาลไม่ได้สนใจและหลีกเลี่ยง เห็นได้จากมีการกู้เงินนอกงบประมาณหลายโครงการ เช่น โครงการไทยเข้มแข็ง พ.ร.บ.กู้เงินบริหารจัดการน้ำ และพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปรากฎการที่กระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า การจัดสรรทรัพยากรทั้งด้านการคลังและกึ่งการคลังของรัฐ เป็นเพียงการหวังผลในระยะสั้นมากกว่าสร้างการเติบโตในระยะยาว โดยเฉพาะการส่งเสริมสินเชื่อของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ผ่านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ (แบงก์รัฐ) ที่ไม่สามารถทำได้บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากไม่สามารถปิดช่องว่างการเข้าถึงเงินทุน เพราะมีเอสเอ็มอีเข้าถึงน้อย การดำเนินการที่ไม่มีทิศทาง แล้วแต่รัฐบาลแต่ละชุด รวมทั้ง ไม่มีประสิทธิภาพ โดยสร้างภาระการคลังสูงจากหนี้เสีย และไม่มีกลไกติดตามและตรวจสอบ ส่งผลให้กระทบต่อเอสเอ็มอีและเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งนี้ รัฐบาลควรกำหนดเพื่อเพิ่มความครอบคลุมโดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายของเอสเอ็มอีตามรายได้ ให้แบงก์รัฐอยู่ภายใต้กำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และคำนวณภาระการคลังของสินเชื่อทุกโครงการ รวมทั้ง ประเมินแบงก์รัฐให้เน้นการเข้าถึงเงินทุนของเอสเอ็มอี และความคุ้มค่าของโครงการสินเชื่อทั้งหมด โดยเฉพาะการปล่อยสินเชื่อควรเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์พัฒนาเอสเอ็มอีโดยรวม ไม่ใช่โครงการโดด

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ชงตั้งองค์กรอิสระเฝ้าระวังการคลังของชาติ

Posts related