รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สศช.ได้เสนอให้รัฐบาลใหม่ปรับกลไกการเข้าร่วมพัฒนาในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง โดยให้ปรับลดคณะกรรมการร่วมที่มีอยู่ทั้งหมด 3 ระดับในรัฐบาลก่อน คือ คณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่างไทย-เมียนมาร์ (เจเอชซี) คณะกรรมการประสานงานร่วมระหว่างไทย-เมียนมาร์ (เจซีซี) และคณะทำอนุกรรมการร่วม 6 สาขา เหลือเพียง คณะกรรมการระดับนโยบาย และคณะอนุกรรมการฯ เท่านั้น เพราะที่ผ่านมาการทำงานของคณะกรรมการทั้ง 3 ระดับมีความซ้ำซ้อน จึงทำให้การเข้าร่วมมือพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายระหว่างรัฐบาลทั้งสองประเทศมีความล่าช้ามากสำหรับความร่วมมือในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายนั้น ในสมัยรัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการหารือถึงความร่วมมือ โดยได้ตั้งกลไกคณะกรรมการร่วมไทย-เมียนมาร์ ขึ้นมา 3 ระดับ คือคณะกรรมการร่วมระดับสูงฯมีรองนายกรัฐมนตรีไทย และรองประธานาธิบดีเมียนมาร์เป็นประธานร่วม มีหน้าที่ประสานนโยบายเพื่อผลักดันความคืบหน้าและการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจระหว่างกันรวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้รองมาคือ คณะกรรมการประสานงานร่วมฯ มีหน้าที่ติดตามประเมินผลความคืบหน้า และประสานงานตามบันทึกความเข้าใจระหว่างกัน และสุดท้ายเป็นคณะอนุกรรมการร่วม 6 สาขา ประกอบด้วย โครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้าง ,อุตสาหกรรมเฉพาะด้านและการพัฒนาธุรกิจ ,พลังงาน ,การพัฒนาชุมชนและการย้ายถิ่นฐาน ,กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และด้านการเงิน“เชื่อว่ารัฐบาลใหม่จะเดินหน้าโครงการนี้ต่อ แต่ก็ต้องมาดูนโยบายที่ชัดเจนอีกครั้งว่า จะไปในทิศทางไหน หลังจากปรับการทำงานเหลือเพียงสองชุด เพื่อให้เกิดความรวดเร็วขึ้น ซึ่งตอนนี้ในระดับคณะอนุกรรมการก็ยังเดินหน้าอยู่ ล่าสุดอยู่ระหว่างการศึกษาการลงทุนของบมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ไอทีดี) โดยเฉพาะสัญญาสัมปทานที่ไอทีดีได้รับจากคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (ดีเอสอีแซด) ของเมียนมาร์ ทั้ง สิทธิ์การเช่าที่ดิน การก่อสร้างท่าเรือ และถนน เพื่อให้รู้ว่า สิ่งที่ไอทีดีสร้างไปมีวงเงินลงทุนเท่าใด จากนั้นจึงจะจ่ายเงินคืนให้ ก่อนจะไปเปิดประมูลใหม่ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเดือนต.ค.นี้”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ชงหั่นคณะกรรมการร่วมมือเศรษฐกิจทวายลง

Posts related