นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงกรณีที่หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนของอังกฤษได้เขียนบทความ เรื่อง อุตสาหกรรมประมงในไทยใช้แรงงานต่างด้าวแบบผิดกฎหมายว่า ขณะนี้กรมฯได้หารือกับผู้บริหารของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ถึงกรณีดังกล่าว และทางบริษัทยืนยัน ว่า วัตถุดิบปลาป่นที่ใช้เป็นอาหารกุ้งซื้อมาจากโรงงานที่ดำเนินการโดยถูกกฎหมาย ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทยังได้ร่วมกับภาคส่วนต่างๆเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการทำประมงอย่างถูกกฎหมายในประเทศไทยมาโดยตลอด รวมถึงร่วมกับสมาพันธ์ผู้ผลิตสินค้าประมงไทยต่อต้านและหยุดการใช้แรงงานผิดกฎหมาย แรงงานเด็ก แรงงานทาสและการค้ามนุษย์ด้วย“กรมฯได้สั่งการให้สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ(สคร.) ทั้งในภูมิภาคอเมริกา (4แห่ง)และในยุโรป (10แห่ง) ติดตามสถานการณ์ในเรื่องดังกล่าวตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว และขณะนี้ได้ขอให้ทูตพาณิชย์ทุกแห่งช่วยชี้แจงให้กับผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเลได้รายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องครบถ้วน รวมทั้งกรมฯได้ให้ทูตพาณิชย์ทำความเข้าใจกับผู้นำเข้ารายใหญ่ทราบถึงการดำเนินการของภาครัฐบาลและภาคเอกชนที่มีความตั้งใจและจริงใจในการแก้ไขปัญหานี้”สำหรับแผนในระยะสั้น กรมฯ จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อรักษาภาพลักษณ์ด้านการค้ากับการใช้แรงงานในประเทศไทย และเร่งประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดในการปราบปรามการลักลอบใช้แรงงานผิดกฎหมาย ส่วนระยะกลาง จนถึงระยะยาว กรมฯ ดำเนินกิจกรรมด้านแฟร์ เทรด เช่น ความร่วมมือในกิจกรรมขยายความรู้ความเข้าใจด้านการใช้แรงงานที่เป็นธรรม การเข้าไปร่วมมือเพื่อสร้างกฎเกณฑ์นานาชาติด้านการ ใช้แรงงานที่เป็นธรรม ในสินค้าที่สำคัญๆ ของไทย เช่น อุตสาหกรรมประมง การสร้างและขยายฐานผู้ผลิตสินค้าที่ได้ตราแฟร์ เทรด, สร้างกิจกรรมแฟร์ เทรด คอมมูนิตี้ ในกลุ่มผู้ส่งออกของไทย เป็นต้นนางนันทวัลย์ กล่าวว่า กรมฯ และกระทรวงพาณิชย์ ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาดังกล่าว ได้ประชุมและประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศในการให้ข้อมูลต่อประเด็นข้อสงสัยต่างๆ และแจ้งให้ทราบถึงความคืบหน้าการดำเนินการแก้ไขของหน่วยงานต่างๆ อาทิ การติดตามการดำเนินคดีและการบังคับใช้กฎหมาย , การติดตามการคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ , การป้องกัน การปรับปรุงและขยายการตรวจแรงงานให้ครอบคลุมพื้นที่และสาขาอุตสาหกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้นในภาคการประมงขณะเดียวกัน ได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานแรงงานประมง ครอบคลุมใน 22 จังหวัด และบริหารจัดการให้เป็นระบบมากขึ้น รวมถึงการคุ้มครองสวัสดิการแรงงานต่างๆ โดยรัฐบาลจัดสรรงบประมาณพิเศษกว่า 190 ล้านบาท เพื่อดำเนินกิจกรรมเชิงรุกด้านป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พร้อม ได้มีการจัดทำเอ็มโอยู กับองค์กรเอกชน ภาคประชาสังคมและประเทศเพื่อนบ้านในลุ่มน้ำโขง เป็นต้น

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ซีพียันใช้วัตถุดิบถูกต้องตามกฎหมาย

Posts related