ในยุคที่การตลาดเข้ามามีอิทธิพลต่อผู้บริโภคคือความต้องการซื้อและความต้องการขายที่เกิดจากภาพลักษณ์ความปรารถนาด้วยการสร้างอารมณ์ ความหวัง และความฝันอันส่งผลให้เกิดการบริโภคอันเป็นการสร้างอุปสงค์ ไม่เว้นแม้แต่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีการวาดฝันในโครงการต่าง ๆ ไว้อย่างสวยงาม แต่บางครั้งภาพเหล่านั้นอาจเป็นแค่ภาพลวงตาผู้บริโภคโดยไม่รู้ตัวหนึ่งในปัญหาเรื่องร้องเรียนที่เข้ามายัง สคบ.จำนวนมากติดอันดับคือเรื่องเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ที่ผู้บริโภค ส่วนใหญ่จะร้องเรียนเข้ามาในกรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมในลักษณะที่มีการโฆษณาแล้วไม่เป็นไปตามที่โฆษณาเมื่อได้มีการซื้อและทำสัญญากับบริษัทแล้ว เช่น ไม่มีพื้นที่ส่วนกลางหรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีก็ไม่ใช่แบบเดียวกับที่โฆษณาไว้  หรือโฆษณาว่าจะมีสระว่ายน้ำใหญ่ก็กลับไม่มี ซึ่งหากผู้บริโภคพบเจอปัญหาดังกล่าวจึงควรดำเนินการจะมีทางออกอย่างไรได้บ้าง สิ่งแรก เมื่อผู้บริโภคได้ตัดสินใจซื้อบ้านแล้วควรให้ความสำคัญ และระมัดระวังในเรื่องเอกสารสัญญาต่าง ๆ  ตั้งแต่เริ่มซื้อโครงการใบเสร็จรับเงิน ไปจนถึงการเซ็นสัญญาจะซื้อจะขาย รวมถึงต้องเก็บเอกสารเกี่ยวกับการซื้อขาย ทั้งโบรชัวร์โครงการที่มีข้อความโฆษณาต่าง ๆ ใบเสร็จรับเงิน สัญญาจะซื้อจะขาย เพราะจะเป็นหลักฐานสำคัญที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่า โครงการได้ทำตามคำโฆษณาหรือไม่เนื่อง จากข้อความที่ระบุไว้ในโบรชัวร์ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค หากผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อนหรือความเสียหายหรือถูกละเมิดสิทธิ หรือถูกเอารัดเอาเปรียบ จาก การโฆษณาแล้วไม่เป็นไปตามที่โฆษณาเมื่อได้มีการซื้อและทำสัญญา หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการทำสัญญาก็ให้ดำเนินการเตรียมเอกสาร คือ บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ ทะเบียนบ้านผู้ร้องเรียน หนังสือจอง สัญญาจอง สัญญาจะซื้อจะขาย เอกสารโฆษณาต่าง ๆ ภาพถ่าย (ถ้ามี) ใบเสร็จรับเงินหรือเอกสารรับเงินเรียงลำดับการชำระเงินดาวน์ หนังสือ หรือจดหมายโต้ตอบระหว่างผู้ร้องเรียนกับโครงการเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาโฉนดที่ดิน สำเนาหนังสือรับรองทะเบียนนิติบุคคล โดยยื่นเรื่องร้องเรียนได้ที่ สคบ.หรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด และเมื่อ สคบ. ได้รับหนังสือร้องเรียนจากผู้บริโภคและพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนพร้อมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว หากเห็นว่าทั้งสองฝ่ายน่าจะเจรจาตกลงกันได้ สคบ.จะทำหน้าที่ช่วยไกล่เกลี่ยแต่ถ้าตกลงกันไม่ได้เรื่องร้องเรียนจะถูกส่งให้คณะกรรมการในแต่ละชุดที่ทำหน้าพิจารณาตามข้อกฎหมายในแต่ละเรื่อง เช่น คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาเป็นผู้พิจารณาความผิดของเจ้าของโครงการและส่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคพิจารณาข้อเท็จจริง ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าผู้ซื้อถูกเจ้าของโครงการละเมิดสิทธิการดำเนินคดีจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคโดยส่วนรวมคณะกรรมการจะมีมติให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคดำเนินคดีแพ่งหรืออาญากับเจ้าของโครงการนั้นแทนผู้ซื้อบ้านต่อไป.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ซื้อบ้านไม่เป็นไปตามโฆษณาต้องทำอย่างไร – ไขปัญหาผู้บริโภค

Posts related