นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) เดือนส.ค. ติดลบ 2.7% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการติดลบต่อเนื่องเดือนที่ 17 เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตภาคสำคัญ โดยรวมปรับลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์ ติดลบ 27.0% เนื่องจากความต้องการรถยนต์ในประเทศลดลง , อุตสาหกรรมอาหาร ติดลบ 4.1% เป็นผลจากการผลิตผลิตมันสำปะหลัง และน้ำตาลทรายลดลงเพระปัญหาวัตถุดิบที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการระบาดของโรคส่วนอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ปริมาณความต้องการเดือนส.ค. อยู่ที่ 1.28 ล้านตัน ติดลบ 24.7% แบ่งเป็นการผลิต 510,000 ล้านตัน ติดลบ 20.3% ขณะที่การส่งออก มีมูลค่า 74.67 ล้านดอลลาร์ ติดลบ25.71% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหล็กนำเข้าจากจีน ขณะที่การใช้กำลังการผลิตโดยรวมในเดือนส.ค. อยู่ที่ 60.29%“แม้เทียบกับเดือนก่อนหน้าคือเดือน ก.ค. ผลผลิตอุตสาหกรรมจะดีขึ้น เป็นบวก 2.6% แต่ก็ยังยาก ที่จะเห็นการบวกเดือนต่อเดือนได้ต่อเนื่อง เพราะขณะนี้สินค้าอุตสาหกรรม ยังเผชิญกับแรงกดดันที่การบริโภคในประเทศยังชะลอตัว ขณะที่การส่งออก ยังไม่ดีขึ้น ล่าสุดการส่งออกภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค. ก็ติดลบประมาณ7% ตลอดที่ดีขึ้นมีเพียงยุโรปและญี่ปุ่น และขณะนี้ตลาดขนาดใหญ่อย่างจีนและสหรัฐฯ ไม่ดีขึ้น”นอกจากนี้สศอ.เตรียมปรับลดประมาณการ ทั้งดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม จากเดิมที่คาดการณ์ปีนี้จะขยายตัว 1.5-2 % และผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคอุตสาหกรรม (จีพีดี) จากเดิมที่คาดการณ์ 1-2% โดยจะประกาศตัวเลขอย่างเป็นทางการอีกครั้ง เนื่องจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมติดลบต่อเนื่อง และสอดคล้องกับหลายหน่วยงาน เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ที่ปรับลดประมาณการข้อมูลเศรษฐกิจหลายตัว แม้ว่าเร็ว ๆ นี้รัฐบาล จะประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เชื่อว่าจะเป็นนโยบายที่ไม่ได้กระตุ้นรุนแรงจนส่งผลถึงภาคการผลิตอย่างมีนัยสำคัญ เพราะเป้าหมายของรัฐบาล คือ การปรับฐานและสร้างเสถียรภาพมากกว่าการเติบโต“ขณะนี้ เราพึ่งส่งออกได้ลำบาก เพราะตลาดใหญ่ ๆ จีน สหรัฐอเมริกา ไม่ดีขึ้น และสินค้าที่มีน้ำหนักในภาคการผลิตมากๆส่วนใหญ่ก็เป็นสินค้าส่งออกไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ ปิโตรเคมี เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นจีดีพีอุตสาหกรรมกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปีนี้จึงน่าจะเป็นบวกได้ลำบาก”สำหรับการขยายตัวอุตสาหกรรมภาคอื่น ๆ เช่น อุตฯ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นกลุ่มที่การผลิต เพิ่มขึ้น 10.38% แต่เมื่อแยกแล้วจะเห็นว่าการผลิตในกลุ่มไฟฟ้าปรับตัวลดลง 5.83% ส่วนที่ลดลง คือการผลิตเครื่องปรับอากาศ คอมเพรสเซอร์ และตู้เย็น เนื่องจากจำกัดการใช้สารทำความเย็น ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต เพื่อรองรับสารทำความเย็นใหม่ขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้าในกลุ่มอื่น ๆ เริ่มปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ พัดลม กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว และสายไฟฟ้า ขณะที่การผลิตอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 13.79% โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกกลุ่ม ได้แก่ ทั้งวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดดิสไดร์ฟ เนื่องจากตลาดโลกมี ความต้องการอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ เพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ยังต้องจับตามว่าการขยายตัวจะต่อเนื่องได้หรือไม่เพราะประเทศที่นำเข้าสินเค้าอิเล็กทรอนิกส์จากไทยรายสำคัญคือจีนเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่นัก

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ดัชนีผลผลิตอุตฯ เดือน ส.ค. ติดลบ 2.7%

Posts related