นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มี.ค. 57 อยู่ระดับ 68.8 ต่ำสุดในรอบ 149 เดือน หรือ 12 ปี 5 เดือน นับตั้งแต่เดือน พ.ย. 44 เป็นต้นมา เนื่องจากผู้บริโภคกังวลสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะ ปัญหาความขัดแย้งบทางเมืองที่ช่วง 5-6 เดือนที่ผ่านมาทำให้เงินหายในระบบ 300,000 ล้านบาทส่วนใหญ่เป็นภาคการท่องเที่ยวและอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยชะลอตัวต่อไปอีก รวมถึงปัญหาค่าครองชีพที่สูง สินค้าเกษตรราคาตกต่ำ ชาวนายังไม่ได้รับเงินจากโครงการจำนำข้าว การหางานทำยากและรายได้ประชาชนลดลง เป็นต้นทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นรายได้ในอนาคตของประชาชนได้ปรับลดลงต่อเนื่องเช่นกัน อยู่ที่ 84.9 ต่ำสุดในรอบ 183 เดือน หรือ 15 ปี 3 เดือน ส่งผลให้ประชาชนต้องระมัดระวังการใช้จ่าย ขณะที่ดัชนีภาวะค่าครองชีพ อยู่ที่ 44.8 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 46 เดือน แสดงให้เห็นว่าประชาชนรู้สึกว่าประสบปัญหาค่าครองชีพที่สูงกว่าระดับปกติ โดยระดับปกติดัชนีจะอยู่ระดับ 100 ซึ่งสวนทางกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นไม่เท่ากับรายจ่าย “เชื่อว่าการบริโภคของประชาชนยังมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องไปถึงครึ่งแรกของปี 57 เป็นอย่างน้อย เพราะเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวและจะปรับตัวดีขึ้นเมื่อสถานการณ์ทางการเมืองไทยคลี่คลายลง แต่ปัญหาคือยังไม่มีความชัดเจนว่าจะคลี่คลายเมื่อไร่ จนเป็นเหตุให้ผู้บริโภคมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย” นายธวรรธน์ กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นหลายๆเหตุการณ์ขณะนี้ส่งผลให้ดัชนีความสุขในการดำรงชีวิตคนไทยลดลงต่อเนื่องอยู่ในระดับ 62.3 ต่ำสุดในรอบ 95 เดือน โดยปัจจัยหลักมาจากสถานการณ์ทางการเมืองและภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศชะลอตัว เพราะทั้งหมดจะมีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศ รายได้ การหางานทำ และการดำเนินชีวิต ทั้งนี้ผลกระทบจากการบริโภคชะลอตัวลงและปัญหาทางการเมืองที่ยืดยาวพบว่าขณะนี้ได้มีสัญญาณต่ออัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นในครึ่งปีหลัง ซึ่งหากปัญหาการเมืองไม่ยุติใน3เดือนข้างหน้า อัตราการว่างงานจะเพิ่มจาก0.7%ของประชากรที่อยู่ในวัยทำงาน หรือว่างงานอยู่ 400,000 คน ก็จะเพิ่ม 1% หรือว่างงาน 500,000 – 600,000 คน ส่วนหนึ่งมาจากบัณทิตจบใหม่อีก 300,000 คนจะหางานได้ช้าลง อย่างไรก็ตามหากอัตราว่างงานไม่เกิน4-5%ก็ไม่น่าวิตก “

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มี.ค. ต่ำสุด 12 ปี 5 เดือน

Posts related