นอแลนด์ บุชเนล ผู้ก่อตั้งบริษัทอะตาริเจ้าพ่อแห่งวิดีโอเกมโลก ได้เขียนหนังสือจากประสบการณ์เพื่อค้นหาซีอีโอแบบสตีฟ จ็อบส์ได้แนะนำคนที่จะมาเป็นคนแบบสตีฟ จ็อบส์จะต้องสร้างวัฒนธรรมในองค์กรอย่างไร เพื่อให้เกิดการปฏิวัตินวัตกรรมเทคโนโลยีของโลกอนาคต นอแลนด์ บุชเนล ได้กล่าวว่า ปกติแล้วบริษัทที่ดีโดยทั่วไป มักจะไม่สนใจว่าคุณทำอะไร และก็จะไม่สนใจว่าคุณทำมันมาอย่างไร แต่บริษัทจะตัดสินคุณที่ผลลัพธ์ของงานเท่านั้น ไม่มีอย่างอื่น ไม่มีอะไรสำคัญกว่านี้Ž ตอนที่อะตาริเริ่มก่อสร้างบริษัทใหม่ ๆ ที่ซิลิกอน แวลลีย์ และต่อมาตามด้วยแอปเปิลนั้นอะตาริเป็นที่ทำงานแห่งแรกและแห่งเดียวในช่วงนั้นที่มีวิศวกรมาทำงานโดยไม่ต้องใส่สูทผูกไท พนักงานส่วนใหญ่ใส่กางเกงขาสั้น สวมเสื้อทีเชิ้ตหรือเสื้อยืดและใส่รองเท้าแตะมาทำงาน เราไม่สนเรื่องเปลือกนอกหรือการแต่งกาย แต่สนใจว่าพนักงานแต่ละคนทำงานได้ผลงานมากน้อยเพียงใด นึกมาถึงตอนนี้เราเองก็อยากจะขอบคุณกับทุกคนอีกครั้งเมื่อคิดถึงเรื่องนี้ ถ้าหากคิดว่าอะไรที่เป็นจุดยืนของบริษัทก็อยากให้คิดถึงบริษัทฮิวเลตต์ แพคการ์ด และกูเกิลมีจุดยืนของบริษัทแตกต่างกัน ฮิวเลตต์ แพคการ์ด มีทรัพยากรมากมายมหาศาลกว่ากูเกิลมาก ซึ่งน่าจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์เหล่านั้นมาสร้างนวัตกรรม หรือผลิตภัณฑ์ ใหม่อย่างเช่นที่กูเกิลทำŽ กูเกิลมีเงินสดเหลืออยู่สักก้อน ก็พยายามที่จะปลูกเมล็ดแห่งการค้นคว้า หาผลิตภัณฑ์ใหม่และสร้างนวัตกรรมใหม่สำหรับอนาคต ซึ่งผมคิดว่าไม่ธรรมดา เชื่อไหมบางทีการงีบหลับซักแป๊บนึง ก็ทำให้สมองคนเราสดชื่น โดยนอแลนด์ บุชเนลได้กล่าวว่า ลองคิดถึงสภาพร่างกายของคุณ ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องจักรในการคิดผลิตนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ให้องค์กรตลอดเวลา แต่กลับกลายเป็นว่า สมองส่วนที่จะต้องทำงานเพื่อกระบวนการคิดหาค้นคว้าสิ่งใหม่ต้องทำงานหนักมาก โดยเฉพาะในช่วงบ่ายของทุกวันที่ทำงาน เอาเป็นว่าลองงีบหลับด้วยความที่สมองเหนื่อยอ่อนเพลียมากซัก 20 นาที ก็จะรู้สึกสดชื่นและทำงานต่อได้ทันทีด้วยพลังงานใหม่ องค์การนาซา (NASA) หรือองค์การอวกาศแห่งสหรัฐอเมริกาก็ค้นพบว่า แค่การงีบหลับในช่วงสมองอ่อนเพลียในเวลากลางวันแค่ 20 นาทีนั้น จะทำให้สมองสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้และคิดค้นได้เพิ่มอีกถึง 15 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์นอแลนด์บอกว่า ถ้าไม่ทำก็โง่แล้ว แอบหลับแค่ 20 นาทีในช่วงบ่าย เพื่อให้สมองสดชื่นมากขึ้น จะหาคนแทนสตีฟ จ็อบส์ ได้อย่างไร นอแลนด์บอกว่า อันที่จริงมีนับพันคนที่เป็นแบบสตีฟ จ็อบส์ ได้ เพียงแต่ว่าในช่วงที่สตีฟ จ็อบส์ เป็นผู้เชี่ยวชาญตัวยงด้านผลิตภัณฑ์นั้น เขามีทรัพยากรอยู่ในมือที่เขาสั่งได้ ชี้ได้ทั้งหมด และเขาควบคุมได้ ตรงนี้เขาเรียกว่า จุดบูรณการ หรือ Integral Point หลายคนที่มีลักษณะคล้ายสตีฟ จ็อบส์นั้น ไม่สามารถมาถึงจุดนี้ได้ ที่เรียกว่าจุดบูรณการ เวลาจะค้นหาทรัพยากรเพื่อสร้างให้สิ่งใหม่เกิดแบบปฏิบัติไม่ได้ เพราะทรัพยากรไม่ว่าเงิน คน วัสดุ มีไม่พอที่จะทำ บริษัทจะต้องยอมพร้อมใจที่จะให้สิ่งนี้แก่ซีอีโอคนนั้น ที่จะเป็นแบบสตีฟ จ็อบส์ แล้วก็มาดูผลลัพธ์ของงานว่า สำเร็จได้ยิ่งใหญ่เพียงใด ก็ขอจบตำนานที่กูรูอย่างนอแลนด์ บุชเนล วาดภาพสตีฟ จ็อบส์ ไว้เป็นเช่นไร ก็เชิญไปค้นหาต่อไป จะมาหาที่เมืองไทย จะมีมากน้อยแค่ไหน น่าคิด.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ตามหาสตีฟ จ็อบส์ (จบ) – โลกาภิวัตน์

Posts related