นาธาน ฮาน อายุ 15 ปีจากบอสตัน สหรัฐอเมริกาผู้คิดค้นซอฟท์แวร์ที่สามารถศึกษาการเปลี่ยนแปลงของยีนที่สามารถก่อให้เกิดมะเร็งทรวงอกได้รับรางวัลชนะเลิศงานประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลกหรือ อินเทล ไอเซฟ (ISEF 2014) หนึ่งในโครงการจาก Society forScience & the Public นาธาน กล่าวว่าเขาศึกษาจากฐานข้อมูลที่หาได้ทั่วไปถึงลักษณะของการเปลี่ยนแปลงของยีนที่มีชื่อว่า BRCA1เพื่อที่จะ “สร้าง” ให้ซอฟท์แวร์ที่เขาพัฒนาขึ้นสามารถแยกแยะได้ว่ายีนตัวใดสามารถนำไปสู่การก่อมะเร็งได้ซึ่งผลงานของเขามีความแม่นยำถึงร้อยละ 81 และหากเป็นการศึกษาจากยีน BRCA1ก็จะเพิ่มความแม่นยำได้สูงขึ้นไปอีกจากแนวคิดนี้จึงทำให้เค้าได้รับรางวัลชนะเลิศพร้อมรับเงินรางวัลมูลค่า 75,000เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นรางวัลที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ กอร์ดอน อี. มัวร์นักวิทยาศาสตร์ และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทลส่วนนายวันทา กำลัง และนายภัทรพงศ์ลิมปวัฒนะ ผู้พัฒนาโครงการ “ผลของสารจากพืชบางชนิดที่มีต่อเปอร์เซ็นต์การฟักเป็นตัวของไข่และการตายของหอยเชอร์รี่หอยทากสยาม และหอยทากยักษ์แอฟริกา” ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมนักเรียนไทยจากโรงเรียนพนมอดุลวิทยาอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับรางวัลที่ 4ในสาขาพฤษศาสตร์ พร้อมรับเงินรางวัลมูลค่า 500เหรียญสหรัฐฯเลนนาร์ท ไคลน์เวิร์ท อายุ 15 ปีจากเยอรมนี ได้รับรางวัล นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จากมูลนิธิอินเทลพร้อมเงินสดมูลค่า 50,000 เหรียญสหรัฐฯจากผลงานการค้นคว้าซอฟท์แวร์บนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่ผู้ใช้งานสามารถวาดเส้นสายในรูปแบบต่างๆรวมถึงเส้นเว้า เส้นโค้งเส้นตรงและทรงเรขาคณิตลงบนหน้าจอซึ่งเครื่องจะทำการประมวลผลและสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบได้ตามที่ผู้ใช้งานต้องการซึ่งในอดีตความสามารถนี้จำเป็นต้องมีระบบประมวลผลขั้นสูงและราคาแพงแชนนอน ซินจิง ลี อายุ 17 ปีจากประเทศสิงคโปร์ คืออีกหนึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จากมูลนิธิอินเทล พร้อมเงินรางวัลมูลค่า 50,000เหรียญสหรัฐฯจากการคิดค้นตัวเร่งปฎิกิริยาเชิงไฟฟ้าเพื่อนำมาใช้กับแบตเตอรี่ในอนาคตการประดิษฐ์แบตเตอรี่ที่ทำมาจาก zinc-air ที่ชาร์จไฟใหม่ได้นั้นเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์มากมายกำลังคิดค้นวิธีที่จะทำให้เกิดขึ้นจริงเพราะว่าจะเพิ่มความปลอดภัยมากกว่า น้ำหนักเบากว่าและยังสามารถจุไฟได้มากกว่าแบตเตอรี่แบบ lithium ion ถึง6 เท่าซึ่งเหมาะที่จะนำไปใช้ในรถยนต์ประเภทไฮบริด โดย ลี      ค้นพบว่าตัวเร่งกิริยาที่เธอค้นพบจากการรมควันมะเขือยาวนั้น สามารถให้พลังงานที่ยาวนานและเสถียรกว่าตัวเร่งที่มีวางจำหน่ายอยู่ทั่วไปนอกจากนี้ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีราคาถูกกว่าด้วยปีนี้มีนักวิทยาศาสตร์เยาวชนกว่า 1,700 คนที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าแข่งขันในงานประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาโดยเป็นการคัดเลือกจากเวทีการแข่งขัน 435 เวที จาก 70  ประเทศในทั่วทุกภูมิภาคและทวีปของโลก  นักเรียนที่ชนะในการประกวดและได้รับคัดเลือกจากมูลนิธิอินเทลจะมีโอกาสได้ร่วมเดินทางทัศนศึกษารวมระยะเวลา 11วัน ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเข้าร่วมงานการแข่งขันวิทยาศาสตร์แห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศรวมถึงพบปะกับนักวิจัยที่อินเทล แล็บในนครเซี่ยงไฮ้และเยี่ยมชมศูนย์วิจัยหมีแพนด้าในนครเฉิงตู  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : นักวิทยาศาสตร์วัย 15 ปี คิดซอฟท์แวร์ตรวจจับยีนก่อให้เกิดมะเร็ง

Posts related