นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดเผยว่า ในสัปดาห์นี้จะมีการประชุมเรื่องการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต) ออกไปสถานที่อื่น เพื่อสรุปแนวทางและนำเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณา โดยการหารือจะนำข้อมูลที่สถาบันพระจอมเกล้าธนบุรีศึกษาว่า ควรจะย้ายไปพื้นที่ใด และควรลงทุนแบบไหนมาประกอบการพิจารณาให้เกิดความชัดเจนที่สุดทั้งนี้แนวทางการลงทุนจะพิจารณาจาก 3 แนวทาง คือ การลงทุนโดยใช้เงินทุนของ บขส.เองทั้งหมด ซึ่งอาจใช้การกู้เงิน หรือนำกำไรสะสมที่มีอยู่ประมาณ 3,000 ล้านบาทมาใช้ หรือให้มีการร่วมทุนระหว่าง บขส.กับ ภาคเอกชน และแนวทางสุดท้ายให้ภาคเอกชนลงทุนเองทั้งหมด และให้สิทธิบริหารเชิงพาณิชย์เป็นการตอบแทน ส่วนการใช้งบประมาณเบื้องต้นประเมินว่าจะใช้ประมาณ1,500 ล้านบาท เป็นค่าที่ดิน 150 ไร่ เฉลี่ยไร่ละ 10 ล้านบาทอย่างไรก็ตามตอนนี้ยังไม่พิจารณาว่าจะย้ายสถานีขนส่งหมอชิตออกไปพื้นที่ใด แต่หลักการเบื้องต้นจะต้องมีพื้นที่ขนาดใหญ่ไม่ต่ำกว่า 100 ไร่ เพราะสถานีขนส่งปัจจุบันมีขนาด 80 ไร่ซึ่งค่อนข้างเล็กไป ส่วนทำเลอาจเลือกย่านถนนพหลโยธิน เพราะสถานีขนส่งใหม่จะต้องรองรับการขนส่งทั้งสายเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีปริมาณผู้โดยสารใช้จำนวนมาก อีกทั้งถนนพหลโยธินยังเป็นเส้นทางสายหลักในการเดินทางไปทั้ง 2 ภาคได้ด้วย“ตอนนี้ชัดเจนแล้วว่า ถึงอย่างไร สถานีขนส่งหมอชิตก็ต้องย้ายแน่ เพราะเจ้าของพื้นที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ต้องการนำพื้นที่ไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นต่อ แต่การย้ายคงไม่ทัน 1 ปีตามที่การรถไฟฯขอ เพราะการก่อสร้างสถานีขนส่งใหม่ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปีถึงจะย้ายได้”นายวุฒิชาติกล่าวว่า บขส.ยังเตรียมพิจารณาย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารสายตะวันออก หรือเอกมัย ออกจากพื้นที่เดิมเช่นกัน เนื่องจากปัจจุบันเป็นพื้นที่ไม่เหมาะกับการให้บริการเดินรถ เพราะมีพื้นที่เพียง 7 ไร่ ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวยังกลายเป็นพื้นที่ใจกลางเมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยหรือห้างสรรพสินค้าทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดอย่างหนักสำหรับทำเลที่จะย้ายสถานีออกไปนั้น จะนำผลการศึกษาของสถาบันพระจอมเกล้าธนบุรีมาพิจารณาเช่นกัน โดยบขส.สนใจพื้นที่บริเวณถนนบางนา-ตราด เพราะอยู่รอบนอกที่การจราจรคล่องตัวเหมาะกับการนำมาทำเป็นสถานีขนส่งสาธารณะ ส่วนการลงทุนก็มี 3 แนวทาง เช่นเดียวกับการย้ายหมอชิต คือ บขส.ลงทุนเอง การร่วมทุน หรือให้เอกชนลงทุนทั้งหมดส่วนแผนปรับปรุงการให้บริการภายในรถ บขส.ยังคงเดินหน้าเช่นเดิม เช่น การทำสัญญาเช่ารถชั้นเดียว ขนาด 15 เมตร จำนวน 100 คัน เพื่อทดแทนรถโดยสาร 2 ชั้น รุ่นเก่าที่ปลดระวางในปีนี้ ได้แจ้งให้ คสช.ทราบแล้ว แต่ก็อยู่ระหว่างรอให้ คสช.เห็นชอบอีกครั้ง

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : บขส.เร่งถกย้ายหมอชิต-เอกมัย

Posts related