นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า วันที่20ม.ค.57ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เตรียมพิจารณาต่อใบอนุญาตทีวีช่องทีวีดาวเทียม หรือ กิจการโทรทัศน์ประเภทไม่ใช้คลื่นความถี่ ในการยื่นคำขออนุญาตใหม่กรณีที่ใบอนุญาตเดิมสิ้นสุดลง1ปี โดยคณะอนุกรรมการกิจการไม่ใช้คลื่นความถี่ ได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมฯ พิจารณาตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ.2555และประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ.2556เห็นว่าให้มีการต่อใบอนุญาต แบบ2ปี ทั้งแบบมีและไม่มีเงื่อนไข โดยดูจากเรื่องร้องเรียนที่เข้ามาอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสำนักงาน และยังไม่ปรากฏข้อยุติ รวมทั้งการต่อใบอนุญาตแบบ1ปี สำหรับช่องที่มีคำสั่งลงโทษทางปกครองอย่างไรก็ตาม อยากเสนอที่ประชุมว่า ให้ชะลอการต่อใบอนุญาตออกไปก่อนสำหรับสถานีที่เคยถูกเตือนปรับ หรือถูกดำเนินคดีกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) จนกว่าสถานีนั้นๆจะไปขออนุญาตการโฆษณาให้ถูกต้องเรียบร้อยก่อนถึงค่อยต่อใบอนุญาตเพราะถือเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคด้วยหากเราต่อใบอนุญาตไปโดยไม่มีเงื่อนไขอาจทำให้ยากต่อการแก้ไขปัญหานี้ต่อไปส่วนความคืบหน้าเรื่องทีวีดิจิทัลที่ประชุมได้เตรียมพิจารณาวาระบันทึกความเข้าใจ เรื่องแผนการดำเนินการเพื่อให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลระยะที่1ระหว่างสำนักงานกสทช.กองทัพบก(สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก) บริษัทอสมท จำกัด (มหาชน) กรมประชาสัมพันธ์และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ในการกำหนดขอบเขตการดำเนินงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันร่วมรับผิดชอบ ศึกษา วิเคราะห์และเสนอแนะกรอบแนวทางการขยายโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการขยายโครงข่ายให้สามารถครอบคลุมครัวเรือนทั้งประเทศอย่างน้อย ร้อยละ50ครัวเรือนภายใน1ปีร้อยละ80ภายใน2ปีร้อยละ90ภายใน3ปีและร้อยละ95ภายใน4ปีนับจากวันที่ได้รับใบอนุญาตและรวมถึงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับประโยชน์จากทีวีดิจิทัลด้วยนอกจากนี้ยังมีวาระสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและแนวทางการดำเนินการต่อ(ร่าง)ประกาศกสทช.เรื่องกำหนดลักษณะและประเภทของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(ฉบับที่2)พ.ศ…. โดยมีสาระสำคัญคือการกำหนดประเภทหรือให้นิยามใหม่เพิ่มเติมของกิจการ(การให้บริการแบบประยุกต์)ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ทั้งนี้ นิยามเดิมคือการให้บริการแบบประยุกต์หมายความว่า การให้บริการข้อมูลการให้บริการสื่อประสมหรือการให้บริการอื่นทำนองเดียวกันที่ผ่านทางการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์หรือการให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ซึ่งไม่ใช่บริการโทรคมนาคมและให้รวมถึงการให้บริการสำรวจความนิยมในกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าบริการค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดหรือไม่ก็ตามโดยจะต้องจับตานิยามใหม่ในประกาศด้วย
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ประชุมบอร์ด กสท.พรุ่งนี้พิจารณาต่อใบอนุญาตทีวีดาวเทียม
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs