ที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เวลา 11.30 น. วันที่ 7 พ.ย. 56 นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ฯได้ประเมินผลกระทบจากากรชุมนุมทางการเมืองที่ต่อต้านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมไว้ 4 แนวทาง โดยแนวทางที่ 1. หากมีการชุมนุมต่อเนื่องและเคลื่อนไหวถึงปีหน้า และมีความเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและการลงทุน ก็จะทำให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทยประมาณ 200,000 ล้านบาทแนวทางที่ 2การชุมนุมยังคงต่อเนื่องมีการเคลื่อนไหวถึงปลายปี และมีความสุ่มเสียงต่อการเกิดความรุนแรงจนกระทบการท่องเที่ยวและการลงทุน ทำให้เกิดความสูญเสียด้านเศรษฐกิจ 150,000 ล้านบาท, แนวทางที่ 3. การชุมนุมต่อเนื่องแต่เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยจนถึงสิ้นปี และไม่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและลงทุนมากนักก็จะเกิดความเสียหาย 10,000 – 20,000 ล้านบาท และแนวทางที่ 4. คือการชุมนุมสามารถคลี่คลายลงภายใน 1-2 สัปดาห์ด้วยความสงบ เช่น รัฐบาลยกเลิก พ.ร.บ. นิรโทษกรรมทั้งหมดโดยสิ้นเชิง ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมคัดค้านสลายตัวลง ก็จะไม่เกิดความเสียหายของเศรษฐกิจนางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า เป็นการผลสำรวจผลกระทบจากการชุมนุมประท้วงพ.ร.บ.นิรโทษกรรม จากประชาชน 1,200 รายทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 2-5 พ.ย. 56 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 65.4% ไม่เห็นด้วยกับการออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่ 22.5% เห็นด้วย และ 12.1% ไม่แน่ใจและไม่ตอบ โดยประชาชน 66% มีความวิตกมากถึงมากที่สุดจากสถานการณ์การชุมนุมพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ส่วน 16.3% ไม่แน่ใจ อีก 10.4% กังวลปานกลาง ที่เหลือไม่กังวลและกังวลน้อยเมื่อถามว่าหากรัฐบาลไม่ถอนร่างพ.ร.บ.หรือล้มร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม จะเกิดความรุนแรงทางการเมืองมากน้อยแค่ไหน โดยประชาชน 60% มองว่า จะเกิดเหตุการณ์รุนแรงมากถึงมากที่สุด อีก 20.6% ไม่แน่ใจ สำหรับข้อเสนอแนะต่อสถานการณ์ทางการเมืองในรัฐบาลผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า รัฐบาลควรถอนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม, รัฐบาลไม่ควรเหมาเข่งเรื่องนิรโทษกรรม, รัฐบาลควรทำความเข้าใจ, รัฐบาลควรทำประชาพิจารณ์ และ สุดท้ายควรหันไปกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าเรื่องอื่น

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ประเมินม็อบรุนแรงเจ๊ง200,000 ล้าน

Posts related