นายสมนึก บำรุงสาลี อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า ได้เชิญผู้แทนจำหน่ายก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ตามมาตรา 7 จำนวน 10 บริษัทรายใหญ่ เช่น บริษัท ปตท. , บริษัท ปิคนิคแก๊ส , บริษัทเวิล์ดแก๊ส และผู้แทนร้านจำหน่ายแอลพีจี 500 ราย หารือร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาร้านจำหน่ายแอลพีจี เข้าร่วมโครงการจำหน่ายก๊าซแอลพีจีให้มีได้รับสิทธิมีจำนวนน้อย เนื่องจากร้านค้าก๊าซแอลพีจีบางราย ไม่ได้รับการโอนเงินสำรอง จากผู้ค้าแอลพีจีตามมาตรา 7 และเพื่อรองรับผู้ใช้สิทธิเข้าร่วมโครงการมากขึ้นในเดือน ธ.ค. คาดว่า จะมี 70,000 ราย จากปัจจุบันอยู่ที่ 60,000 คน จึงต้องเตรียมพร้อมให้มากที่สุด “ครั้งนี้เป็นครั้งแรก ที่นัดผู้ค้าก๊าซ ฯ ตามมาตรา 7 และร้านจำหน่ายก๊าซแอลพีจีรายย่อยหารือร่วมกัน หลังจากที่รัฐบาลประกาศปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคครัวเรือน 50สตางค์ ต่อกิโลกรัม ตั้งแต่เดือนก.ย.ที่ผ่านมา แต่ยังมีปัญหาที่ร้านค้า เข้าร่วมโครงการน้อย ซึ่งการพบกันครั้งนี้ ธพ. ได้ขอให้ผู้ค้ามาตรา 7 ทำสัญญาร่วมกับร้านจำหน่ายในสังกัดของแต่ละราย ให้เข้าร่วมโครงการ เพื่อที่ผู้ค้ามาตรา 7 จะได้ทยอยโอนเงินสำรองมาให้ร้านผู้แทนจำหน่ายได้ทันที หลังจากทำสัญญา เพื่อสำรองเงินไว้ให้กับร้านจำหน่าย เพื่อใช้เข้าร่วมโครงการชดเชยราคาในเดือนธ.ค.นี้ โดยการทำสัญญา ร่วมกันระหว่างผู้ค้ามาตรา7 กับร้านจำหน่ายเกือบทั้งหมดที่มาร่วมงาน” อย่างไรก็ตามหลังการทำสัญญาระหว่างกันแล้ว ธพ.ได้ขอความร่วมมือให้ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย ที่ได้รับสิทธิชดเชยราคาแอลพีจี 150 กก.ต่อเดือน จัดทำสติกเกอร์ขนาด10 เซนติเมตร พร้อมระบุข้อมูลว่า ร้านค้าแห่งนี้ ได้รับสิทธิชดเชยราคาแอลพีจีครัวเรือน เพื่อแจ้งให้ประชาชนรับทราบ ซึ่งจะมีข้อดีคือ ร้านค้าแห่งนี้ ไม่ควรฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาอาหาร และทำให้ประชาชนที่เห็นป้ายดังกล่าว ต้องการเข้าไปอุดหนุน หรือใช้บริการอีกทางหนึ่ง และต่อไปธพ. จะทยอยจัดงานลักษณะอีก17 ครั้งตามเมืองขนาดใหญ่ เช่น นครศรีธรรมราช สุราษฏร์ธานี สงขลา เชียงใหม่ ขอนแก่น อุบลราชธานี พิษณุโลก.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ผู้ค้าน้ำมันทำสัญญากับร้านค้าเข้าร่วมโครงการกับรัฐ

Posts related