นอแลนด์ บุชเนล นับเป็นนายจ้างคนแรกในชีวิตการทำงานของ สตีฟ จ๊อบส์ ซึ่งตอนที่สตีฟ จ๊อบส์ สมัครงานครั้งแรก ที่อะตาริเจ้าแห่งวิดีโอเกมนั้นเขาอายุ 19 ปี สวมรองเท้าแตะเพื่อเข้าสัมภาษณ์จากบุชเนล นอแลนด์ บุชเนล ก็คือผู้ที่ก่อตั้งบริษัทอะตาริ และบุชเนลก็คือเจ้าพ่อแห่งวิดีโอเกมในโลกปัจจุบัน เริ่มแรกแห่งการจ้างงานเขาทำอย่างไร ตอนที่บริษัทอะตาริเพิ่งก่อตั้งนั้น ลักษณะการจ้างงานเพื่อรับบุคคลเข้าทำงานนั้น ค่อนข้างจะเป็นปฏิปักษ์กับวัฒนธรรมเดิม เพราะตอนนั้นทีมและกลุ่มของนอแลนด์ บุชเนล ก็ยังเป็นเด็กหนุ่ม ค่อนข้างจะหยิ่งยโส และก็อยากจะเขียนและสร้างกฎระเบียบภายในบริษัทใหม่ให้สมบรูณ์แบบไปเลย เราอยากจะจ้างคนที่มีความเข้มข้นของพลังงานสูง หรือก็มีความหลงใหลใฝ่ฝันเข้ามาทำงานกับบริษัทเรา และเราก็รู้สึกว่าตรงนี้ใช่เลย เรารู้สึกว่าเราสามารถที่จะฝึกฝนอบรมให้ความรู้กับคนที่มีไฟแรงสูงปรารถนาอย่างแรงกล้าเพื่อที่จะทำงานพร้อมกับเราได้ ตัวอย่างชัดที่สุดในตอนนั้นคือสองสตีฟ ทั้ง สตีฟ จ๊อบส์ และ สตีฟ วอชนีแอค มีอารมณ์แห่งความชอบมุ่งมั่นสูงมาก แตกต่างจากคนอื่นไปเลย สตีฟ จ๊อบส์ ชอบที่จะเห็นโลกอย่างที่เขาอยากจะให้เป็น ซึ่งมักจะตรงกับข้ามกับความเป็นจริงเสมอ และเรื่องนี้เราก็ถือว่าสำคัญมาก เกี่ยวกับจรรยาบรรณที่เรามีอยู่ในขณะนั้นทำไมเราไม่รีบร้อนที่จะลงทุนที่แอปเปิลก่อน อันนี้นอแลนด์ มีเหตุผลที่ว่าสตีฟ จ๊อบส์ยังไม่พร้อมที่จะเป็นซีอีโอ และคุณนอแลนด์ก็ยังไม่มีเวลาพอที่จะไปลงทุนให้กับสตีฟ ที่แอปเปิล เพราะงานที่อะตาริเยอะมากและบริษัทกำลังเติบโต “ผมก็มักจะคิดถึงฮีโร่และวีรบุรุษคนหนึ่งที่ชื่อไมค์ มาร์คคูล่า ไม่มีใครนึกถึงเขาเท่าไรนัก แต่เขาก็ช่วยฝึกฝนกลุ่มคนที่มีอายุมาก ให้ทำงานในช่วง 2-3 ปีแรก” ซึ่งนอแลนด์คิดว่า ตรงนี้สำคัญและนอแลนด์ตัดสินใจที่จะลงทุนให้กับมาร์คคูล่า” ถ้าหากมาร์คคูล่าไม่ได้อยู่ช่วยตรงนั้น ผลลัพธ์ก็อาจจะเปลี่ยนไปเลยก็ได้ เราไม่มุ่งสู่ความล้มเหลว นอแลนด์กล่าวว่า “ผมจะไม่พยายามบรรลุสู่ความล้มเหลว แต่สิ่งที่ควรจะทำคือ เราต้องกล้าที่จะเสี่ยงอย่างเหมาะสม ทางที่เราจะหลีกเหลี่ยงความล้มเหลวได้คือ ถ้าหากต้องล้มเหลวอย่างรุนแรง ก็สมควรจะได้รับโทษอย่างรุนแรงเช่นกัน แต่ถ้าเป็นความล้มเหลวที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป ก็สามารถให้อภัยกันได้ เพื่อไม่ให้คนทำงานเสียกำลังใจ “แต่ที่ผมบอกว่าเราไม่มุ่งสู่ความล้มเหลวนั้น เราอาจจะเจอใครบางคนที่เขามีชื่อเสียง และ เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นนักคิดสร้างสรรค์ เป็นนักนวัตกรรมหรือมีวิสัยทัศน์ที่ดี และก็ไม่มีประสบ การณ์ความล้มเหลวซ้ำซากหลายครั้ง ซึ่งตรงนี้ละก็คือการทำงาน ซึ่งจะต้องเป็นตัวจักรที่ขับเคลื่อนที่ไปขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ “การขับเคลื่อนวิสัยทัศน์บางครั้งเราก็ไม่คุ้นเคย หรือไม่เคยเจอมาก่อน แต่ถ้าเจอเส้นทางการทำงานที่ไม่เคยเจอมาก่อนเลยแน่นอน ก็อาจจะถึงทางตันเข้าก็ได้ในบางครั้งในบางช่วง ซึ่งก็จะต้องมี แต่ตรงนี้ก็ไม่ใช่หมายความว่าโดยรวมแล้วทิศทางไม่ถูกต้อง เมื่อถึงทางตันแบบนี้แล้วคุณจะต้อง เตรียมตัวและมีแผนรองรับเอาไว้ ซึ่งก็หมายถึงต้องออกแรงเพิ่มอีกซักนิด แล้วเลือกดูว่าเมื่อถึงขนาดนี้แล้ว จะไปทางขวาหรือทางซ้าย เพื่อให้ชนะอุปสรรคและได้ผลลัพธ์ที่ดี” และเมื่อถึงวัฒนธรรมของบริษัทแล้ว เขาก็มักจะดูว่าทำงานด้วยวิธีใด และสำคัญว่าได้ผลลัพธ์อย่างไร ซึ่งผมจะเขียนในบทความสรุปวันพฤหัสบดีหน้า. รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด boonmark@stamford.edu

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : มองหาสตีฟ จ๊อบส์ – โลกาภิวัตน์

Posts related