นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า ยอดการตั้งโรงงานระหว่างเดือน ม.ค. – มี.ค. 57 พบว่า มีโรงงานที่ประกอบกิจการใหม่ 938 แห่ง ลดลง 9.02 %เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีการจ้างงาน 19,847 คน ลดลง10.26 % มูลค่าการลงทุน 47,474 ล้านบาท ลดลง 25.45 % เนื่องจากปัญหาการเมืองในประเทศ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นนักลงทุนลดลง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่พึ่งพาตลาดภายในประเทศ อาจชะลอการลงทุนออกไป รวมทั้งผู้บริโภคในประเทศมีความสามารถในการซื้อที่ลดลง งดซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เฟอร์นิเจอร์ โทรทัศน์ รถยนต์ เครื่องประดับ การบริการ การท่องเที่ยว เครื่องนุ่งห่มนอกจากนี้การแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ล่าช้า ได้ส่งผลกระทบต่อการเปิดกิจการใหม่และขยายกิจการเช่นกัน ซึ่งหากสถานการณ์ครึ่งปีหลังหากการเมืองมีข้อยุติ จะส่งผลให้จำนวนการตั้งโรงงานใหม่ และขยายกิจการมีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดแน่นอน แต่หากการเมืองยืดเยื้อ ก็ยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนต่อไปถึงแม้จะได้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนชุดใหม่แล้วก็ตามสำหรับอุต ฯ ที่มีมูลค่าการลงทุนตั้งโรงงานสูงสุด คือ อุต ฯ ผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ 87 แห่ง มีการจ้างงาน 2,471 คน มูลค่าการลงทุน 7,387 ล้านบาท อุตฯ รองลงมา อุต ฯ ผลิตภัณฑ์จากพืช 71 แห่ง จ้างงาน 1,091 คน มูลค่าการลงทุน 2,551 ล้านบาท อุต ฯ ผลิตภัณฑ์โลหะ 85 แห่ง จ้างงาน 1,623 คน มูลค่าการลงทุน 2,530 ล้านบาท อุต ฯ ผลิตภัณฑ์อโลหะ111 แห่ง จ้างงาน 1,566 คน มูลค่าการลงทุน 2,435 ล้านบาท อุต ฯ ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 29 แห่ง มีการจ้างงาน 1,548 คน มูลค่าการลงทุน 2,275 ล้านบาท อุต ฯ อาหาร 68 แห่ง มีการจ้างงาน 1,488 คน มูลค่าการลงทุน 2,095 ล้านบาททั้งนี้เมื่อพิจารณาพื้นที่ตั้งโรงงานใหม่พบว่าส่วนใหญ่ อยู่ในภาคกลาง ไม่รวมกรุงเทพฯ 54 แห่ง มูลค่าการลงทุน 6,779 ล้านบาท รองลงมาเป็นภาคตะวันออก 22 แห่ง มูลค่าการลงทุน 2,079 ล้านบาท ภาคใต้ 12 แห่ง มูลค่าการลงทุน 303 ล้านบาท ส่วนการอนุญาตขยายกิจการมี 124 แห่ง ลดลง 19.48 % มีการจ้างงาน 10,2078 ลดลง 40 % มีการลงทุน 12,541 ล้านบาท ลดลง 51 % โดยเป็นอุต ฯ ผลิตภัณฑ์พลาสติกมากที่สุด จำนวน 24 แห่ง จ้างงาน2,328 คน ลงทุน 1,796 ล้านบาท รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมอาหาร 15 แห่ง มีการจ้างงาน 1,450 คน ลงทุน 2,756 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์อโลหะ14 แห่ง จ้างงาน542 คน ลงทุนเพิ่ม 403 ล้านบาทส่วนการเลิกกิจการโรงงานในช่วงม.ค. – มี.ค. มี 178 แห่ง ลดลง 49 % การจ้างงานของกิจการที่ยกเลิก 8,725 คน ลดลง 41 % มูลค่าการลงทุนของกิจการที่เลิก 2,315 ล้านบาท ลดลง 64 % โดยอุต ฯ ที่มีมูลค่าการเลิกกิจการมากที่สุด คือ อุต ฯ แปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ 21 แห่ง มีการจ้างงาน 626 คน มูลค่าการลงทุน 703 ล้านบาท รองลงมาเป็นอุต ฯ ผลิตเครื่องจักรและเครื่องกล 11 แห่ง มีการจ้างงาน 263 แห่ง มูลค่าการลงทุน 203 ล้านบาท ขณะที่การปิดกิจการของโรงงาน ที่มีการจ้างงานมากที่สุด คือ อุต ฯ ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 2 แห่ง มีการจ้างงาน 3,344 คน มูลค่าการลงทุน 140 ล้านบาทอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายยกเว้นรองเท้า 5 แห่ง จ้างงาน 1,748 คน มูลค่าการลงทุน 261 ล้านบาท“ผู้ประกอบการที่สามารถดำเนินธุรกิจได้ในขณะนี้ต้องพึ่งพาการส่งออกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่เน้นตลาดส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดิม โดยมุ่งหันไปหาตลาดจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง แอฟริกา ออสเตรเลีย เพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่หายไป โดยกลุ่มอุต ฯ ขนาดกลางและขนาดย่อม น่าจะต้องจับตามองเป็นพิเศษว่าจะสามารถปรับตัวได้หรือไม่ในสถานการณ์เช่นนี้”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ยอดตั้งโรงงานใหม่หดตัว 9.02%

Posts related