รับภารกิจสำคัญจากคสช.หรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตั้งแต่ยังไม่เริ่มตั้งรัฐบาลชุดใหม่กับหน้าที่แม่งานในการเดินหน้าปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอัพเดทความคืบหน้า….กับ “รศ.ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ” ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่วันนี้บอกว่า เริ่มเห็นอนาคตและทิศทางของการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ฯ มากขึ้น หลังจากที่มีความพยายามในการจะปฏิรูปกันมา หลายยุคหลายสมัย แต่ไม่เคยประสบความสำเร็จสักที แม้จะมีพระราชบัญญัติหรือแผนกลยุทธ์การพัฒนาที่เขียนไว้อย่างชัดเจน แต่ปัญหาสำคัญก็คือการนำไปใช้อย่างไรให้ประสบความสำเร็จดังนั้นการปฏิรูปครั้งนี้จึงวางเป้าหมายที่ชัดเจน อย่างแรกคือการผลักดันให้ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศ ที่รวมทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ปัจจุบันมีประมาณ 0.37% ของจีดีพี ต้องเพิ่มเป็น 1% ภายในปี 2558 หรือใน 1 ปี  และต้องไปถึง 2% ในปี 2564และความพยายามนี้ต้องไม่ใช่มาจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเชื่อมโยงถึงภาคเอกชนด้วย ซึ่งจากการสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานการวิจัย รวมถึงมาตรการด้านภาษี และการสนับสนุนด้านอื่น ๆ เป้าหมายต่อไปของการปฏิรูปก็คือ การเพิ่มสัดส่วนการลงทุน     ด้านวิจัยและพัฒนาของภาครัฐและเอกชน จากปัจจุบัน รัฐบาลลงทุน 70% เอกชน  30% จะต้องเพิ่มเป็น  50 ต่อ  50 และอนาคตจะกลายเป็นรัฐบาล 30% เอกชน  70% ซึ่งเทียบเท่ากับเกาหลีที่มีความก้าวหน้าด้านนี้ ในปัจจุบัน นอกจากนี้จะต้องมีการพัฒนาบุคลากรวิจัยให้ได้ถึง15-25 คนต่อประชากร 1 หมื่นคน   เป้าหมายของการปฏิรูปเหล่านี้ได้ถูกบรรจุอยู่ในนโยบายด้านการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยา  ศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม ของรัฐบาลชุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาปลัดกระทรวงวิทย์ฯ ย้ำว่า สิ่งแรกที่ จะต้องทำก็คือการโฟกัสเทคโนโลยี หรือการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีแบบพุ่งเป้า ไม่ใช่วิจัยแบบกระจัดกระจาย หรือต่างคนต่างทำเหมือนทุกวันนี้ต้องฟันธงไปเลยว่าไทยจะมุ่งในเทคโนโลยีใด ควรเป็นเทคโนโลยีที่เราถนัด อย่างเช่น ด้านการเกษตร และไม่ควรเป็นเทคโนโลยีที่ต้องไปแข่งกับประเทศที่พัฒนาแล้วสำหรับการโฟกัสเทคโนโลยีนี้ คาดว่าจะเห็นผลได้ภายใน 6 เดือน  และหากโฟกัสเทคโนโลยีของประเทศกันแล้ว การจัดสรรงบประมาณต้องสอดคล้องไปด้วย และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การปฏิรูปวิทยาศาสตร์ฯ ประสบความสำเร็จ   ก็คือ  อำนาจการสั่งการ ที่จะทำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถทำงานไปในทิศทางเดียวกัน ต้องมาจากผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐบาล หรือมาจาก “นายกรัฐมนตรี” นั่นเอง.นาตยา คชินทรnattayap.k@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ลุ้นอนาคตปฏิรูปวิทยาศาสตร์กันอีกครั้ง!! – ฉลาดคิด

Posts related