ปัจจุบัน การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค ถือว่ามีบทบาทมาก จะเห็นได้จากการโพส แชร์ ข้อคิดเห็น ของกลุ่มนักการเมือง ถือเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์และสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดที่สุด อ.อรภัค สุวรรณภักดี ที่ปรึกษาโซเชียลมีเดีย กระทรวงการต่างประเทศ เล่าว่า สงครามไซเบอร์ ถือว่ามีบทบาทสำคัญในขณะนี้ อย่างเหตุการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน เริ่มขึ้นจากพรบ.นิรโทษกรรม ถือว่าเริ่มต้นมาจาก “โซเชียลเน็ตเวิร์ค” โดยเฉพาะเฟซบุ๊คที่มีการแชร์ต่อๆ กันของคนไทยที่ใช้ราว16ล้านคน ส่วนยอดการใช้ไลน์ในไทยไม่ต่ำกว่า 18 ล้านบัญชี เป็นลำดับ 2 รองจากญี่ปุ่น โดยกลุ่มที่สนับสนุน กปปส.ส่วนใหญ่เป็นคนกรุงเทพฯ ใช้เฟสบุ๊ค และไลน์ เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร และเมื่อรวมกับบลูสกาย คอยโจมตีรัฐบาล ถือเป็นการปลุกกระแสให้คนที่ไม่เห็นด้วยออกมาชุมนุม มีการกระจายข่าวต่อๆ กันไป จากจุดเริ่มต้นการยกเลิกพรบ.นิรโทษกรรม กลายเป็นการโค่นล้มระบอบทักษิณ ทำให้เห็นว่าเทคโนโลยีมีบทบาทต่อสงครามไซเบอร์ ทั้งนี้ ความเสียเปรียบของฝ่ายเสื้อเเดงคือ เเกนนำไม่ค่อยใช้เทคโนโลยี เเละ ประชาชนที่มา ก็ไม่ใช้มากเท่ากับอีกกลุ่ม ทำให้ข้อมูลบางอย่างไม่ได้รับการเผยเเพร่อย่างทั่วถึงในสื่อออนไลน์ ถือเป็นจุดอ่อนทางออนไลน์ เเต่มีข้อได้เปรียบ เรื่องช่องวิทยุชุมชน ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบคนในประเทศกว่า60ล้านคน เมื่อเทียบสัดส่วนของคนที่เล่นเฟสบุ๊คถือว่าน้อยมาก โดยสถิติ การติดตามเฟสบุ๊คฝ่ายรัฐบาลอย่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ มีสมาชิกติดตามสูงสุดที่ 1,894,226 คน นายพานทองแท้ ชินวัตร อยู่ที่ 1,722,170 คน ในขณะที่ฝ่ายค้านอย่าง นายสุเทพ เทิอกสุบรรณ อยู่ที่ 1,040,708 คน ส่วน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อยู่ที่ 1,658,148 คน ซึ่งโดยภาพรวมเเม้นายกฯและพานทองเเท้จะมีคนติดตามมาก แต่ความเสียหายจากเรื่องจำนำข้าว เเละ การวิพากษ์วิจารณ์นโยบาย มีผลให้เกิดการเเชร์ต่อในจำนวนที่มากๆ ดังนั้น เมื่อเทียบสัดส่วนของคนที่เล่นถือว่าน้อยมาก แต่การชุมนุมที่มีมากขึ้นมาจากสื่อออนไลน์ อย่าง เฟซบุ๊ค รวมกับช่องบลูสกายและการที่ นายสุเทพ ออนทัวร์ ปลุกระดมให้แต่ละจังหวัดออกมาแสดงจุดยืน เหมือนการจัดอีเว้นท์ของ กปปส. ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลมีปัญหาประเด็นทางนโยบายต่างๆ ที่ไม่ได้มีการชี้เเจงรวมถึงพรบ.นิรโทษกรรมจึงเป็นเหตุให้มีการเเชร์ข้อมูลหนักมากขึ้น อีกทั้ง นักวิชาการ สื่อมวลชนเเต่ละค่าย บุคคลที่มีชื่อเสียง ดารา ออกมาเเชร์เเบบถล่มทะลายทำให้เกิดการเเชร์เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กปปส.เสนอเรื่องการจำนำข้าว คนส่วนใหญ่ของประเทศคือชาวนา ซึ่งไม่ว่าจะมีการแชร์หรือไม่ ถ้าไม่มีผลกระทบต่อชาวนาจริงๆ จะไม่มีผลอะไรมากนัก เพราะชาวนาไม่ได้รับสื่อออนไลน์ นอกจากได้รับสื่อทางอื่น อาทิ วิทยุ ทีวี หรือ ผลกระทบจากประสบการณ์จริงของเขาเอง ในส่วนของการใช้ Hashtag (#) (แฮชแท็ก) แสดงความคิดเห็นของคนกลุ่มเดียวกัน เมื่อมีการแสดงความคิดเห็นและติดแฮชแท็ก จะทำให้การเข้าถึงข้อมูลของกลุ่มเดียวกันมีมากขึ้น ต่างจากเสื้อแดงที่ใช้เทคโนโลยีทางด้านสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คน้อยมาก หรือไม่ก็ใช้แต่ในกลุ่มของฝั่งเสื้อแดงเอง โดยแฮชแท็ก ที่กลุ่ม กปปส.นิยมใช้ อาทิ #bkkshutdown #bangkokshutdown #shutdownBKK #SuthepTourLiveinBKK2014 โดยใช้ผ่านทาง เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ในขณะที่ไลน์ กรุ๊ป จะใช้ส่งข้อความเฉพาะกลุ่มที่มีความคิดเห็นเช่นเดียวกัน “ถ้าไม่มองว่าใครถูกใครผิดแต่มองจากวิธีการของแต่ละฝ่ายที่ใช้ จะเห็นว่า เสื้อแดงใช้วิธีกระจายข่าวประชาสัมพันธ์ทางวิทยุชุมชนหรือการเกณฑ์คนจากต่างจังหวัด ส่วนกปปส.ใช้วิธีเชิงการตลาดและประชาสัมพันธ์ ซึ่งเมื่อเทียบกับ3-4ปีที่แล้วดูหมือนว่า เสื้อแดงจะใช้สื่อทางออนไลน์เยอะกว่า เช่น การปล่อยคลิป และการเปิดเว็บไซต์ หรือ ชุมชนออนไลน์ ผนวกกับวิทยุชุมชน ในยุคนั้น 3-5 ปีที่เเล้ว เฟสบุ๊ค เเละ ไลน์ไม่ได้นำมาใช้ในสงครามไซเบอร์เท่ากับยุคปัจจุบัน และตอนนั้นยังไม่เกิด กปปส. มีเเต่เสื้อเหลืองซึ่งในการใช้งานอดีตจะเข้าถึงสื่อออนไลน์น้อยกว่า เสื้อเเดง” สมัยก่อนข้อมูลที่อยากรู้ ต้องใช้เวลาค้นหา แต่ปัจจุบันข้อมูลเข้ามาหาเราง่ายมาก ทั้งเฟสบุ๊ค ไลน์ ทวิตเตอร์ ยูทูป และจากการที่สื่อบางสื่อเลือกข้าง มีการเบี่ยงเบนประเด็น ดังนั้น คนจึงค้นหาข้อมูลเองทางสื่อออนไลน์ ต่อไปสงครามไซเบอร์จะปฎิรูปสื่อไปในตัว เมื่อมีการแชร์ข่าวโดยไม่มีตัวกรอง ทำให้เกิดปัญหาเพราะบางสื่อนำคลิปที่ยังไม่มีการกรองข้อมูลไปนำเสนอ ทำให้ทุกคนต้องหาความรู้ไปในตัวเพราะมีผลกระทบต่อทุกคน “ลักษณะนิสัยของคนไทยคือลักษณะพวกพ้อง ถ้าใครคิดไม่เหมือนตน จะเลิกเป็นเพื่อนไปโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ ยังกระตุ้นให้ออกไปชุมนุมเพิ่มขึ้นโดยกระตุ้นด้วยข้อมูลสร้างความเกลียดชังกันเองในเเต่ละกลุ่ม แต่โครงสร้างจริงๆ ของโซเชียลเน็ตเวิร์คต้องการให้คนเป็นเพื่อนกัน ให้ติดตามกัน” ในส่วนของการแชร์ข่าว จะแชร์แต่ฝ่ายตนเองและไม่รับข่าวของอีกฝ่าย และจะไม่ทราบเรื่องข่าวของอีกฝ่าย เพราะทนไม่ได้ หรือ อคติทำให้อ่านไม่ครบ เเละ เลือกเฉพาะข้อมูลที่อยากบริโภค เมื่อเเชร์ต่อไปเรื่อย ทำให้เกิดความขัดแย้งบานปลาย เเละ ทำให้เกิดสังคมที่หาความสุขไม่ได้ ทั้งนี้ อยากฝากในเรื่องของการแชร์ข้อมูล ควรจะแชร์จากเจ้าของข้อมูลหรือแหล่งข่าวที่ได้รับการยอมรับ แต่ต้องดูว่าเนื้อหามีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน ยอมรับว่าการแชร์ข่าวปัจจุบันยาก ต่อให้คนมีวิจารณญาณมากแค่ไหนก็ตัดสินใจลำบาก บางสื่อเองก็ไม่มีวิจารณญาณมากพอ ในตัวบุคคลเองก็ไม่แปลกที่จะมีการเลือกข้าง ดังนั้น ควรจะแยกบทบาทงานให้ออกด้วย ดังนั้น การที่ทั้ง 2 ฝ่าย อยากให้ข้อมูลมีความครบถ้วน ควรใช้เฮชแท็กที่อีกฝ่ายใช้ ถือเป็นการชี้แจงข้อมูลให้ประชาชนได้รับรู้ อย่างไรก็ตาม ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกวิธี เเละ เปิดช่องทางความรู้ใหม่ๆให้กับชาวบ้านต่างจังหวัดเพื่อเข้าถึงข้อมูลโดยเท่าเทียมกัน ทุกวันนี้ เรามีขยะออนไลน์เกิดขึ้นมากมายในทุกซอกมุมซึ่งล้วนจริงบ้างไม่จริง หากเเชร์ต่อกันไปมากๆ อาจเกิดเป็นผลร้ายกับสังคม หากสื่อหลัก เเละ ผู้เกี่ยวข้อง ต้องการให้สังคมพัฒนา ควรนำเสนอข้อมูลที่เป็นกลาง เเละ เป็นจริงเเละ พิสูจน์เเล้วว่าจริง เเละ เลือกใช้คำพูดที่เหมาะสม เพื่อลดปัญหาสงครามที่โอกาสเกิดในไทย กัญณัฏฐ์ บุตรดี Kanyanat25@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สงครามไซเบอร์ ตัวแปรปฏิรูปสื่อ?

Posts related