เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เขตอุสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือ ซอฟต์แวร์พาร์ค ร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) จัดงานสัมมนา ขึ้นในระหว่างวันที่9-10กันยายน57โดยเชิญกลุ่มแองเจลแล็บ (Angel Lab)มาให้ความรู้ ข้อมูลการคิดปรับเปลี่ยนนโยบายในการสนับสนุนธุรกิจเหล่านี้กับภาครัฐ และวางยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย รองรับนักลงทุนจากทั่วโลกดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ร่วมมือกับ สวทน.เร่งจัดตั้ง กองทุนร่วมลงทุน (Fund of Funds)ด้านต่างๆ อาทิ เทคโนโลยีด้านการท่องเที่ยว การแพทย์ อาหาร ด้วยงบประมาณ1,000ล้านบาท เพื่อผลักดันผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ก้าวเข้าสู่เทคโนโลยีสตาร์ทอัพ นอกจากนี้ความแตกต่างของสินค้าและบริการ ยังเป็นการแข่งขันทางธุรกิจทำให้เกิดกระแสเทคโนโลยีสตาร์ทอัพในประเทศไทยและต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วง2ปีที่ผ่านมา ขณะที่การสร้างเทคโนโลยีนวัตกรรมนั้นต้องการความช่วยเหลือจากผู้ที่ผ่านประสบการณ์ และประสบผลสำเร็จในการทำธุรกิจใหม่มาก่อน ดังนั้นหากดูจากความสำเร็จของธุรกิจเทคโนโลยีสตาร์ทอัพในต่างประเทศ จะเห็นว่ากลุ่มที่เรียกตนเองว่าAngel Investorsจึงเป็นการผลักดันนวัตกรรมและสร้างความสำเร็จในเบื้องต้น ก่อนที่จะนำไปขยายผลต่อในบริษัทใหญ่ๆ“แนวทางที่จะผลักดันในเรื่องแองเจล อินเวสเตอร์(Angel investors) เพื่อทำให้ecosystemของเทคโนโลยีสตาร์ทอัพได้มีความสมบูรณ์มากขึ้น โดยวางกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีอยู่3กลุ่ม คือ กลุ่มผู้วางนโยบายและผลักดัน กลุ่มผู้ประกอบการเทคโนโลยีใหม่และกลุ่มผู้สนใจลงทุนAngle Investorsเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเพื่อนำไปเปลี่ยนแปลงหรือวางแผนต่างๆ ให้เหมาะสมเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตรงต่อความต้องการของตลาดในวงกว้าง” ดร.ณรงค์ กล่าวดร.ญาดา มุกดาพิทักษ์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เปิดเผยว่า จากการศึกษาด้านการแข่งขันของประเทศ ทั่วทั้งเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม (World Economic Forum) หรือIMDพบว่านวัตกรรม (Innovation) และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (Science and Technology) เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการแข่งขันของประเทศ เพราะฉะนั้นการสร้างระบบและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการคิดค้นนวัตกรรมจึงมีความสำคัญมาก และในปัจจุบันได้มีการผลักดันด้านนวัตกรรมเป็นอย่างยิ่ง แต่ยังไม่สามารถผ่านอุปสรรคไปได้ เนื่องจากประเทศไทยยังขาดการลงทุนในช่วงต้นของการคิดค้นนวัตกรรม ซึ่งไม่ใช่การปล่อยกู้จากธนาคารแต่อย่างใด หากแต่ในต่างประเทศสนับสนุนได้มีการสนับสนุนในด้านภาษี งบประมาณ และช่วยให้นักลงทุนต้องการเข้าไปลงทุนกับประเทศนั้นๆ ทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมและเศรษฐกิจจำนวนมหาศาลทว่า สวทน.เล็งเห็นความสำคัญที่เป็นการลงทุนในช่วงต้นของการคิดค้นนวัตกรรม ซึ่งการผลักดันจะต้องเกี่ยวข้องหลากหลายส่วน และดำเนินไปพร้อมกัน อาทิ ด้านกฎหมายที่จะกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการลงทุนด้านนวัตกรรมมากขึ้น หรือความช่วยเหลือจากรัฐบาลด้านภาษีและการเงิน เพื่อนักลงทุนสามารถประเมินความเสี่ยงในการลงทุนได้ อีกทั้งเทคโนโลยีสตาร์ทอัพที่สามารถช่วยคิดนวัตกรรมที่เป็นระดับโลก และสามารถหาเงินลงทุนได้ง่าย รวมถึงการสร้างลุ่มนักลงทุนวีซี (Venture Capital)และแองเจล อินเวสเตอร์ (Angle Investor)ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการตั้งธุรกิจใหม่รองเลขาธิการ สวทน.ยังเผยเหตุที่เลือกให้แองเจลแล็บ (Angel Lab)เข้ามาให้ความรู้ด้านแองเจล อินเวสเตอร์(Angle Investor) แก่นักลงทุน ผู้ต้องการเงินลงทุน และผู้กำหนดนโยบายอีกว่าจะช่วยระบบEcosystemให้กับธุรกิจนวัตกรรมของประเทศไทย สร้างความรู้และขีดความสามารถให้แก่นักลงทุนและบุคลากรด้านอุทยานวิทยาศาสตร์ ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมผู้ประกอบการ ให้สามารถวิเคราะห์ธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายนักลงทุนให้สามารถเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุน“สวทน. ประเมินสถานการณ์ของผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประกอบการ ซึ่งถือเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จและช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ อีกทั้งยังขาดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ ส่งผลให้การแข่งขันอยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง”ดร.ญาดา กล่าวอย่างไรก็ตามการลงทุนของกองทุน(Fund of Funds)กลุ่มผู้ประกอบการในระดับเริ่มต้นจะเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ เนื่องจากประสบปัญหาขาดเงินทุนเพื่อผลิตนวัตกรรม โดยทาง สวทช.จะส่งผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจซอฟต์แวร์เข้าไปช่วยบริหาร เพื่อให้เห็นสภาพการลงทุนของธุรกิจเทคโนโลยีสตาร์ทอัพเดลินิวส์ออนไลน์

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สวทน.ผสานซอฟต์แวร์พาร์ค ดัน“สตาร์ทอัพ”

Posts related