รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้เสนอแผนแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (โรดแมป) ปฏิรูปสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (แบงก์รัฐ) ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาและเห็นชอบ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 เรื่อง ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการเติมเต็มช่องว่าทางการเงินโดยเน้นการให้บริการประชาชนที่เข้าไม่ถึงการบริการทางการเงินเป็นหลัก และออกกฎหมายเพื่อกำกับดูแลแบงก์รัฐเป็นการเฉพาะ รวมทั้งการเพิ่มความมั่นคงในระบบแบงก์รัฐ ที่ต้องแก้ไขปัญหาการดำเนินงานและการพัฒนาระบบการกำกับดูแล เพื่อป้องกันการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองทั้งนี้ การปรับบทบาทของแบงก์รัฐให้เหมาะสมกับการพัฒนาของระบบสถาบันการเงิน โดยเน้นให้บริการประชาชนที่เข้าไม่ถึงการบริการทางการเงิน ทั้งการปรับกฎเกณฑ์การกำกับดูแลความมั่นคงทางการเงิน รวมถึงปรับปรุงระบบประเมินผลและค่าตอบแทน แนวทางการแยกบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ และปรับปรุงกฎหมายการจักตั้งแบงก์รัฐ เพื่อให้การดำเนินงานมีความต่อเนื่อง“ปัจจุบันแบงก์รัฐมีความสำคัญมากขึ้นในระบบสถาบันการเงินไทย โดยมีหน้าที่ในการให้บริการประชาชนและธุรกิจที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ ทำให้ควรปรับปรุงระบบการกำกับดูแลและตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะควรสร้างความแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์ และมีกรอบการดำเนินงานที่แตกต่างจากรัฐวิสาหกิจทั่วไป เนื่องจากมีการรับฝากเงินจากประชาชนซึ่งที่ผ่านมากระทรวงการคลังไม่ได้ออกกฎเกณฑ์กำกับดูแลเท่าใดนัก ทำให้แบงก์รัฐยังขาดการกำกับดูแลที่ครอบคลุมความเสี่ยงที่ครบถ้วน”สำหรับ การออกกฎหมายเพื่อกำกับดูแลแบงก์รัฐเป็นการเฉพาะนั้น จะต้องมีคณะกรรมการนโยบายสถาบันแบงก์รัฐ โดยให้ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน และมีกรรมการเป็นผู้แทนระดับสูงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ สศค.เป็นเลขานุการ เพื่อรับผิดชอบและกำกับดูแลแบงก์รัฐ กำหนดแผนธุรกิจและประเมินผลงานและบรรษัทภิบาลในด้านต่างๆอย่างไรก็ตาม ต้องให้ ธปท.มีหน้าที่ตรวจสอบแบงก์รัฐ และรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการฯ สั่งแก้ไข ยกเว้นกรรมการหรือผู้บริหารแบงก์รัฐมีการกระทำที่ส่อไปในทางทุจริตหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายตอแบงก์รัฐ ให้ ธปท.มีอำนาจร้องทุกข์หรือกล่าวโทษบุคคลดังกล่าวได้ทันที และมีกระบวนการแก้ไขปัญหากรณีเกิดการกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และกรณีที่แบงก์รัฐมีปัญหาฐานะทางการเงิน รวมทั้ง กำหนดบทลงโทษการฝ่าฝืนหากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และกรอบการดำเนินงานตามพันธกิจที่แตกต่างจากรัฐวิสาหกิจทั่วไปที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่น สศค.จัดทำแผนธุรกิจร่วมกับแบงก์รัฐ ประเมินผลและค่าตอบแทนที่ไม่เน้นกำไรเป็นหลัก“ที่ผ่านมาการตรวจสอบของ ธปท. กรณีที่ไม่ได้กำหนดเกณฑ์กำกับดูแลแบงก์รัฐไว้ ธปท.จะตรวจสอบตามเกณฑ์กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ ซึ่งอาจมีความเข้มงวดเกินไปสำหรับการดำเนินพันธกิจของแบงก์รัฐ ดังนั้น เชื่อว่าหากมีการกำหนดเกณฑ์การกำกับดูแลโดยเฉพาะแล้ว จะสามารถครอบคลุมความเสี่ยงที่สำคัญครบทุกด้านและเป็นมาตรฐานระหว่างแบงก์รัฐด้วยกัน เพื่อให้มีเกณฑ์กำกับดูแลแบงก์รัฐที่เหมาะสม"

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สศค.เสนอออกกฎหมายคุมแบงก์รัฐ

Posts related