นายปฏิมา จีระแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า  ในเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ได้จดทะเบียนยกเลิกกิจการ จำนวน 1,420 ราย เพิ่มขึ้น 18 % เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว จากผลการชุมนุมทางการเมืองที่ยืดเยื้อ โดยกิจการที่ยกเลิกมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ การขายสลากกินแบ่ง เพราะเป็นธุรกิจที่เปิด-ปิดได้ง่าย , ก่อสร้างอาคารไม่ใช่ที่พักอาศัย  , อสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่เพื่อพักอาศัย เพราะภาครัฐ ไม่มีการก่อสร้างโครงการใหม่ ๆ  , ขนส่ง และขนถ่ายสินค้า   และให้คำปรึกษาด้านบริหารจัดการ สำหรับกิจการที่จดทะเบียนจัดตั้งใหม่มีจำนวน 5,317 ราย ลดลง 35% เพิ่มขึ้น 83% โดยประเภทกิจการที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งใหม่มากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ ก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย อสังหาริมทรัพย์เพื่อพักอาศัย ขายส่งเครื่องจักรและอุปกรณ์ ให้คำปรึกษาด้านบริหารจัดการ และขายส่งวัสดุก่อสร้าง   “ตามปกติกิจการของเอสเอ็มอีจะตั้งใหม่และเลิกกิจการกันง่าย จึงเป็นเรื่องปกติที่จะเปลี่ยนแปลงทุกเดือน แต่ยอมรับว่าเดือนม.ค.ที่ผ่านมา เกิดจากผลกระทบทางการเมือง จนกระทบต่อระบอบเศรษฐกิจเป็นหลัก จึงส่งผลต่อการประกอบธุรกิจของเอสเอ็มอี จึงลดลงกว่าปกติ ” ด้านการส่งออกของเอสเอ็มอี ในเดือน ม.ค. มีมูลค่า 157,396.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีการส่งสินค้าออกไป จีน สูงสุด มีมูลค่า 20,486.23 ล้านบาท รองลงมา คือ ญี่ปุ่น มีมูลค่า 15,936.39 ล้านบาท สหรัฐอเมริกา มูลค่า 12,927.49 ล้านบาท มาเลเซีย มูลค่า 7,733.55 ล้านบาท และอินโดนีเซีย มูลค่า 7,617.65 ล้านบาท “ตลาดหลักสำคัญของเอสเอ็มอีไทยเกือบทุกประเทศ มีการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นอินโดนีเซียที่หดตัวลงเล็กน้อย เป็นผลจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่เริ่มเศรษฐกิจดีขึ้น ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก คือ อัญมณีและเครื่องประดับ พลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก เครื่องจักร คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ยางและของที่ทำด้วยยาง อุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ” ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 188,359.80 ล้านบาท ลดลง 26.96 %  โดยตลาดที่เอสเอ็มอีนำเข้าสินค้ามากที่สุด คือ จีน รองลงมาคือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และสาธารณรัฐเกาหลี  สินค้าที่นำเข้ามากที่สุด คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ รองลงมาคือ เครื่องจักร คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ อัญมณีและเครื่องประดับ พลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก เหล็กและเหล็กกล้า ส่วนความคืบหน้าการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง โดยสสว. ร่วมกับสถาบันการเงิน ช่วยเหลือ เช่น ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ การจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย ซึ่งได้เปิดให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีลงทะเบียนรับความช่วยเหลือ คำปรึกษา ด้านการเงินการตลาดจากผลกระทบทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 19 ก.พ. –  4 มี.ค. มีเอสเอ็มอีลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือประมาณ 39 ราย แต่มีการลงทะเบียนดาวน์โหลดข้อมูลความช่วยเหลือจากเว็ปไซต์สสว.กว่า 10,000 ราย ชี้ให้เห็นว่า เอสเอ็มอีได้รับผลกระทบจริง และมีความสนใจขอรับความช่วยเหลือ โดยอยู่ระหว่างจัดเตรียมเอกสารทำให้การยื่นขอความช่วยเหลือล่าช้า ซึ่งสสว.ได้ตั้งเป้าหมายการช่วยเหลือ 20,000 ราย หากเกินจากนี้จะพิจารณษอีกครั้งหนึ่ง  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สสว.เปิด 5 ธุรกิจแชมป์เจ๊งสูงสุด

Posts related