นายปฏิมา จีระแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม (สสว.)  เปิด เผยว่า ได้วิเคราะห์ผลผลิตของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จำนวน 58 สาขา พบว่า กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีดาวรุ่ง ที่มีศักยภาพการแข่งขันในปี 57  แบ่งเป็น 3 กลุ่มแรก  ธุรกิจ เอสเอ็มอี ที่มีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก และภูมิภาค คือ กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม , บริการด้านสุขภาพ , ธุรกิจท่องเที่ยว , ธุรกิจยานยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่ ธุรกิจส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากกลุ่มนี้ มีอัตราการขยายตัวที่สูงต่อเนื่อง และแนวโน้มธุรกิจเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค สำหรับ กลุ่ม 2 เอสเอ็มอี ที่ต้องพึ่งพิงกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่แข่งขันในตลาดโลก และภูมิภาค เช่น กลุ่มเอสเอ็มอี ภาคก่อสร้าง ซึ่งมีโอกาสขยายตลาด โดยเฉพาะในประเทศกลุ่มเออีซี  ที่กำลังเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาประเทศ  หากผุ้ประอบการรายใหญ่ จะส่งเสริม จะทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขยายตัวมากขึ้น กลุ่ม 3 เอส เอ็มอี ที่รัฐต้องวางโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ สามารถอยู่รอด และเติบโตได้ คือ พลังงานทดแทน , เกษตรกรรม โดยเฉพาะพืชพลังงาน , กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ , บริการด้านการศึกษา , ธุรกิจไอที รวมถึงอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ส่วนกลุ่มธุรกิจที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งเป็นสาขากลุ่มที่มีอัตราการเติบโตของผลผลิตต่ำในปี 55-56 เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั้งใน และต่างประเทศ และสูญเสียขีดความสามารถแข่งขัน ให้กับประเทศที่มีต้นทุนแรงงาน และวัตถุดิบต่ำกว่า เช่น จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่ม ธุรกิจหรือกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้แรงงานมาก เช่น เครื่องหนัง การผลิตกระเบื้องเคลือบ ผลิตภัณฑ์แก้ว ผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องประดับ ซึ่งมีการขยายตัวน้อยไปจนถึงหดตัว โดยกลุ่มนี้ขยายตัว 0.22% – หดตัว 11.0%  2.กลุ่มโลหะ-อโลหะมูลฐานที่เป็นวัตถุดิบ เช่น เหมืองแร่ เหล็ก ถ่านหิน หดตัวลง 1.5 % – 12.3%  และ3.กลุ่มบริการทางธุรกิจบางประเภท เช่น บริการส่วนบุคคล มีการหดตัวเล็กน้อย 1.12% “กลุ่มที่ต้องเฝ้าระวัง มีอัตราการเติบโตต่ำในช่วง 1–2 ปี แต่เมื่อพิจารณาลึกลงไปในระดับผลิตภัณฑ์ พบว่า ยังมีบางผลิตภัณฑ์ของกลุ่มสาขา ที่มีโอกาสเติบโต โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เน้นการสร้างคุณค่า และมีมูลค่าเพิ่ม เช่น ออกแบบใช้ความคิดสร้างสรรค์ สนองตอบเฉพาะตลาดบน หรือตลาดเฉพาะกลุ่ม ตอบสนองไลฟ์สไตล์คนเมือง-คนรุ่นใหม่  ใส่ความเป็นไทยลงไป  เช่น ผลิตอุปกรณ์ และเครื่องแต่งกายกีฬาเทศกาลการแข่งขัน ผลิตภัณฑ์กระเบื้องเคลือบตกแต่งบ้าน เครื่องหนังที่มีดีไซน์ และใช้วัตถุดิบคุณสมบัติพิเศษ” อย่างไรก็ตามการคาดการณ์แนวโน้มปี 57 คาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศไทย (จีดีพี) จะขยายตัว 4.5% ขณะที่การขยายตัวเอสเอ็มอี อยู่ที่ 4.3-4.7 % เนื่องจากปัจจัยทั้งภายใน และภายนอกประเทศ ขยายตัวดีขึ้นเกือบทุกด้าน เช่น การบริโภคครัวเรือน คาดว่า เพิ่มขึ้น 8 % เนื่อง จากประชาชนมีรายได้สูงขึ้น และการปรับค่าแรงขั้นต่ำ ขณะที่หนี้สินภาคครัวเรือนมีแนวโน้มลดลง ดอกเบี้ย มีแนวโน้มคงที่ระดับต่ำ โดยเอสเอ็มอี ยังประสบปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และหาช่องทางการจำหน่ายให้มีประสิทธิภาพ  ซึ่งสสว. ได้ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง โดยปีหน้า จะมีธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง จะเปิดตัวช่วยเหลือกลุ่มเอสเอ็มอี     “จากการประเมินสถานการณ์ของ สสว. พบว่า ภาวะเศรษฐกิจของเอสเอ็มอี ปี 56 ผ่าน จุดต่ำสุดมาแล้ว และขณะนี้อยู่ในช่วงขาขึ้น เห็นได้จากการขยายตัวของยอดการผลิตสินค้าต่างๆ เช่น รถยนต์นั่ง พาหนะเพื่อการพาณิชย์ ซีเมนต์ผสม ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ พื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุญาต และปริมาณเงินความหมายแคบ คาดว่าเมื่อถึงสิ้นปี 56 เศรษฐกิจของเอสเอ็มอี จะขยายตัว 3.3%”.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สสว.เผยเอสเอ็มอีดาวรุ่ง-ร่วงปี57

Posts related