นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยการประเมิน 4 ปี (53-56) การค้าและการลงทุนไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)ว่า ในช่วง 4 ปี (53-56) ตั้งแต่อาเซียนทยอยปรับลดภาษีการค้าก่อน ที่จะเปิดเออีซีเต็มรูปแบบในปี 58 พบว่ามีสินค้าไทย 15 รายการ ที่จัดเป็นสินค้าประเภทดาวร่วง หรือมูลค่าการส่งออกของไทยไปในตลาดอาเซียนเริ่มลดลง และมีแนวโน้มที่จะถูกสินค้าในประเทศเพื่อนบ้าน แย่งส่วนแบ่งตลาดอาเซียนในอนาคตสูงขึ้นหลังปี 58 หากรัฐบาลและภาคเอกชน ไม่เร่งหามาตรการส่งเสริมการทำตลาด เนื่องจากที่ผ่านมาการพัฒนา การวิจัย การทำแบรนด์ และการสร้างเครือข่ายการค้าของไทยมีไม่มากนักทั้งนี้มหาลัยหอการค้าไทย ต้องการเสนอให้รัฐบาล เร่งส่งเสริมให้เอกชนไปจัดตั้งบริษัทการค้าในแต่ละประเทศ ซึ่งอาจเป็นการร่วมทุนกับผู้ประกอบการในพื้นที่ หรือลงทุนเอง 100% เพื่อให้เกิดการนำเข้าจากสินค้าไทยได้ง่าย และสะดวกขึ้น พร้อมทั้งจัดตั้งไทยแลนด์ เทรดดิ้ง พล่าซ่า ในตลาดสำคัญในการนำสินค้าไทยไปจำหน่าย เน้นตลาดพม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และ อินโดนีเซีย เป็นต้น“สาเหตุที่สินค้าของประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาตีสินค้าทั่วไปในตลาดอาเซียน และตีตลาดสินค้าไทย ในตลาดอาเซียน เพราะได้รับอานิสงส์จากนักลงทุนต่างชาติ ทั้งญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ยุโรป จีน เข้ามาลงทุน และพัฒนาการวิจัยสินค้า จนสร้างมูลค่าเพิ่ม แก่สินค้านั้น อย่างมาก เช่น ข้าว เครื่องนุ่งห่ม กาแฟ ของเวียดนาม, อาหาร เกษตรแปรรูป น้ำผลไม้ ของอินโดนีเซีย อาหาร ขนมขบเคี้ยวของมาเลเซีย เป็นต้น”สำหรับสินค้าดาวร่วง 15 รายการ ประกอบด้วย อุสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน, ผลิตภัณฑ์ยาง, ผักและผลไม้, น้ำตาล, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, ยางพารา, กาแฟ, น้ำมันปาล์ม, เครื่องนุ่งห่ม, มันสำปะหลัง, ผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์, ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและถ่านหิน, ผลิตภัณฑ์ไม้, อาหารทะเลแปรรูป, ข้าวสารนายอัทธ์ กล่าวว่า สาเหตุที่มองว่ายานยนต์ และชิ้นส่วน ของไทยเป็นดาวร่วงตั้งแต่ปี 56 หลังจากก่อนหน้านี้เป็นสินค้าประเภทดาวรุ่งมาตลาด ประกอบกับไทยสามารถผลักดันให้เป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ใหญ่ติด 1 ใน 10 ของโลก เนื่องจากมองว่าคู่แข่งสำคัญ อย่างประเทศอินโดนีเซีย มีการส่งเสริมการลงทุนอย่างเต็มที่ และค่ายรถยนต์จากญี่ปุ่น ได้นำเงินเข้าไปลงทุนอย่างมหาศาล และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการผลิตรถยนต์ และชิ้นส่วน โดยเน้นผลิตเพื่อจำหน่ายตลาดในประเทศ ที่มีประชากรไม่ต่ำกว่า 250 ล้านคน หรือเกือบครึ่งหนึ่งของตลาดอาเซียนทั้งนี้ค่ายรถยนต์หลายรายมั่นใจว่าภายใน 5 ปีข้างหน้าศักยภาพการผลิตรถยนต์ของอินโดนีเซียจะใกล้เคียงกับไทยหรือมีกำลังการผลิตประมาณ 2.5 ล้านตันต่อปี สาเหตุที่ต้องใช้เวลา 5 ปีเพราะอินโดนีเซียอยู่ระหว่างการพัฒนาฝีมือแรงงานสำหรับสินค้าที่ยังโดดเด่น คือเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, สิ่งทอ, เนื้อสัตว์, ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง, เหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก, เครื่องดื่มและยาสูบ“หากเปรียบเทียบปีต่อปี พบว่าการส่งออกสินค้าไทยไปในตลาดอาเซียนลดลงต่อเนื่องทุกปี นับตั้งแต่ในปี 52-56 โดยเฉพาะในปี 56 ที่ลดลงจากปี 55 ถึง 8,428 ล้านบาท ต่างจากเวียดนาม ที่กลับได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น 55,958 ล้านบาท, เมียนมาร์ได้เพิ่ม 11,666 ล้านบาท, มาเลเซียได้เพิ่ม 107,569 ล้านบาท, ลาวเพิ่ม 2,777 ล้านบาท, กัมพูชาได้เพิ่ม 4,290 ล้านบาท เป็นต้น ส่วนประเภทที่มีส่วนแบ่งตลาดลดลงเหมือนกับไทย เช่น อินโดนีเซีย 10,812 ล้านบาท, สิงคโปร์ 54,534 ล้านบาท”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : หอการค้าเผยสินค้าดาวร่วงเออีซี

Posts related