นายธนวรรธน์พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์พยากรณ์ได้ปรับแนวโน้มการใช้จ่ายเงินในช่วงก่อนการเลือกตั้งที่กำหนดไว้ในวันที่2 ก.พ. 56 ลงจากเดิมคาดว่าจะมีเงินสะพัด 40,000-50,000 ล้านบาท เหลือ ไม่เกิน10,000 ล้านบาท เนื่องจากบรรยากาศในการหาเสียงของพรรคการเมืองค่อนข้างที่ซบเซามากส่งผลให้พรรคการเมืองจ้างงานแก่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องในอัตราต่ำ เช่น การจัดทำโปสเตอร์ สิ่งพิมพ์ การโฆษณาผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ รวมถึงจัดทำเสื้อผ้าสำหรับทีมงานในการหาเสียง เครื่องดื่ม การเช่ารถยนต์และจักรยานยนต์ในการหาเสียง เครื่องเสียงและการจัดอีเวนต์ต่าง ๆ ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้บรรยากาศการเลือกตั้งไม่คึกคักส่วนใหญ่บรรดาผู้สมัครส.ส. จากปกติที่บางรายมีการใช้เงินทั้งบนดินและใต้ดินประมาณ 20-30 ล้านบาทแต่ในครั้งนี้เฉลี่ยแค่ 1-2 ล้านบาทยกเว้นพื้นที่แข่งดุเดือดแต่คงมีไม่มาก  ขณะที่บางรายอาจใช้เงินไม่ถึงล้านด้วยซ้ำ เนื่องจากกังวลถึงความชัดเจนว่าในวันที่2 ก.พ. นี้จะมีการเลือกตั้งได้หรือไม่ “เห็นได้จากงบในการทำป้ายคงไม่มาก ส่วนในต่างจังหวัดก็ไม่ค่อยมีการเปิดเวทีปราศรัย หรือไม่มีการแข่งขันกันรุนแรงทำให้การใช้จ่ายของพรรคการเมืองทั้งเรื่องของบุคลากร การเช่ารถยนต์การออกโฆษณาตามสื่อ หรือแม้แต่การซื้อเครื่องดื่มต่างๆ ก็จะมีปริมาณน้อยลงมาก” นายธนวรรธน์ กล่าวว่าปกติในช่วงก่อนการเลือกตั้ง1 เดือนสื่อต่าง ๆ จะประโคมข่าวของพรรคการเมืองต่าง ๆ ในการหาเสียงเลือกตั้งกันอย่างคึกคัก โดยเฉพาะในส่วนของพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ที่มีคู่แข่งสำคัญ แต่มาครั้งนี้สื่อส่วนใหญ่ต่างให้ความสนใจเรื่องของการชุมนุมประท้วงเพื่อที่จะให้มีการปฎิรูปประเทศไทย ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งมากเนื่องจากประชาชนทั่วโลกส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเรื่องนี้มากกว่าเรื่องอื่น ๆ “ยอมรับว่าภาคการบริโภคในช่วงต้นปีนี้ต้องหดตัวแน่นอนเพราะนอกจากประชาชนจะประสบปัญหาค่าครองชีพที่แพงแล้วยังพบว่าเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศประสบปัญหาชะลอตัวต่อเนื่องและยิ่งสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่มีความชัดเจนก็ทำให้กดดันการใช้จ่ายประชาชนให้น้อยลงไปอีกขณะที่เม็ดเงินสะพัดจากการเลือกตั้งจากเดิมคาดว่าน่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ 0.3-0.4%แต่ตอนนี้คงลำบากเพราะการใช้จ่ายตรงนี้ของพรรคการเมืองคงลดน้อยลง”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เงินสะพัดเลือกตั้งลดเหลือแค่หมื่นล้าน

Posts related