รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยแจ้งว่า  ผู้ประกอบการไทยที่มีคู่ค้าเป็นธุรกิจในจีนควรจับตาความสามารถในการชำระเงินของคู่ค้าอย่างใกล้ชิด โดยหากพบสัญญาณผิดปกติด้านเครดิต ผู้ประกอบการไทยอาจพิจารณาปรับนโยบายการให้เครดิตการค้าตามความเหมาะสม  และผู้ส่งออกจากไทยไปยังจีนควรเฝ้าระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินในภูมิภาค เป็นผลมาจากความผันผวนของเงินหยวนที่มากขึ้นในปีนี้จากนโยบายปฏิรูปกลไกอัตราแลกเปลี่ยนของรัฐบาลจีน  โดยผู้ประกอบการไทยอาจพิจารณาทำสัญญาฟอร์เวิล์ด และเฮดจิ้ง  เพื่อป้องกันการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนจากผลกระทบของความผันผวนของค่าเงินที่อาจเกิดขึ้นได้ สำหรับเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 1/57 ขยายตัว 7.4% ซึ่งสูงกว่าความคาดหมายของตลาด แต่ไม่ได้เป็นสัญญาณในเชิงบวกมากนัก เนื่องจากเป็นอัตราที่ชะลอตัวลงจากไตรมาส 4/56  ที่เติบโต 7.7%  ถือเป็นอัตราที่ต่ำสุดในรอบ 6 ไตรมาส  ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจในเดือนมี.ค. 57 มีเครื่องชี้หลายรายการที่มีทิศทางที่ชะลอความร้อนแรงแรง นอกจากนี้ประเด็นที่ต้องจับตามองในระยะยาวคือกระบวนการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน เพื่อสร้างเสถียรภาพในระยะยาวจะช่วยสะท้อนพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่จะช่วยให้จีนเติบโตอย่างมีเสถียรภาพในอนาคตได้มากกว่าตัวเลขจีดีพีในชณะนี้ โดยเฉพาะการปฏิรูประบบการเงิน เพื่อควบคุมการขยายตัวของธนาคารเงา (ชาโดว์ แบงก์กิ้ง)   และหนี้รัฐบาลท้องถิ่นที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา “การควบคุมสภาพคล่องในตลาดการเงิน อาจก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดเงินมากขึ่้นและกระทบสภาพคล่องของชาโดว์แบงก์กิ้ง และธุรกิจบางรายในจีน เช่น ขนาดกลางและขนาดเล็ก อสังหาริมทรัพย์ และก่อสร้าง รวมถึงธุรกิจที่ถูกกดดันจากนโยบายของรัฐ เช่น อุตสาหกรรมเหมืองแร่ เหล็ก ซิเมนต์ และการต่อเรือ อาจะกระทบเป็นลูกโซ่ต่อเสถียรภาพของธุรกิจโดยรวมในจีนระยะสั้นและทำให้เศรษฐกิจจีนลดความร้อนแรงในปีนี้” 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เตือนธุรกิจปิดความเสียงรับมือค่าเงินผันผวน

Posts related