นายสุนชัยคำนูณเศรษฐ์ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)เปิดเผยว่าแนวโน้มอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือ(เอฟที)รอบใหม่ในเดือนพ.ค.-ส.ค.57 คาดว่ามีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นอีกปรับเพิ่มสูงขึ้นหลังจากงวดเดือนม.ค.-เม.ย.2557ที่ปรับขึ้นไปแล้ว5สตางค์ต่อหน่วยจากงวดที่ผ่านมาปรับขึ้นราคาไปแล้ว5สตางค์ต่อหน่วยแต่จะมากน้อยเท่าไรขึ้นอยู่กับการพิจารณาความเหมาะสมของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(เรกูเลเตอร์)ซึ่งจะมีการพิจารณาต้นทุนในเดือนเม.ย.นี้สำหรับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าคือ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับงวดที่ผ่านมาเพราะค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง1บาทต่อดอลลาร์สหรัฐจะกระทบต่อค่าเอฟทีประมาณ5- 6 สตางค์ต่อหน่วย,การใช้ไฟฟ้าที่ต่ำกว่าประมาณการณ์ที่คาดไว้โดย 3เดือนที่ผ่านมาลดลง3.5% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนทำให้ต้นทุนเฉลี่ยสูงขึ้นและการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนแนวโน้มลดลงซึ่งเป็นช่วงที่ต้องกักเก็บน้ำไว้สำรองในช่วงฤดูฝน”ช่วง4เดือนแรกมีการปล่อยน้ำจากเขื่อนเพื่อการเกษตร ทำให้สามารถผลิตไฟจากน้ำซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำนำมาเฉลี่ยต้นทุน รวมได้ระดับหนึ่งแต่ยอมรับว่า ช่วง พ.ค.นี้เป็นปกติของฤดูฝนที่เราจะต้องกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้การผลิตไฟจากน้ำก็จะลดต่ำลง โดยกฟผ.กำลังคิดว่าจะรับซื้อไฟพลังน้ำจากสปป.ลาวเข้ามาเสริมจะช่วยทำให้ค่าไฟถูกลง”อย่างไรก็ตามปัจจุบันสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงการผลิตสูงถึง70%ซึ่งแนวโน้มก๊าซธรรมชาติที่ใช้จะต้องพึ่งพิงการนำเข้าในรูปของเหลวหรือแอลเอ็นจีซึ่งมีราคาสูงกว่าก๊าซฯในแหล่งอ่าวไทยโดยการผลิตไฟ จากก๊าซฯผสมกับแอลเอ็นจี ต้นทุนอยู่ที่4.20บาทต่อหน่วย ซึ่งเป็นผลจากการใช้แอลเอ็นจีที่เพิ่มขึ้นและอนาคตหากใช้มากขึ้นย่อมกระทบต่อต้นทุนที่สูงขึ้นอีกขณะที่การผลิตไฟจากถ่านหินราคาที่รับซื้ออยู่ที่2.50บาทต่อหน่วยดังนั้นหากต้องการรักษาระดับค่าไฟไม่ให้สูงการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินจะเป็นทางเลือกที่จำเป็นของไทย

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เล็งขึ้นค่าไฟฟ้า

Posts related