ที่ผ่านมา ไทยสร้างรายได้จากการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับถึง 3.71 แสนล้านบาท โดยส่งออกเครื่องประดับเงินเป็นอันดับหนึ่ง ของโลก แต่ปัจจุบันผู้ประกอบการไทยยังขาดศักยภาพในการแข่งขัน  เนื่องจากใช้วิธีการผลิตแบบเดิม ๆ  อย่างการหล่อแบบขี้ผึ้งหาย ซึ่งกว่า 70% คือเวลาที่เสียไปกับกระบวนการผลิต ดร.บุญรัตน์  โล่วงศ์วัฒนŽ หน่วยปฏิบัติการวิจัยนวัตกรรมโลหะ ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศว กรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ประจำปี 2556  ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ศึกษาด้านโลหะวิทยา มาเกือบ 20 ปี   จึงพัฒนาเทคโนโลยีด้านอุณหพล ศาสตร์และการปรับปรุงโครงสร้างเชิงโลหะวิทยา เพื่อพัฒนาระบบโลหะผสมและคิดค้นเทคนิคการผลิตใหม่สำหรับอุตสาหกรรมผลิตเครื่องประดับไทย ดร.บุญรัตน์  บอกถึงงานวิจัยนี้ว่า เป็นการพัฒนาโลหะผสม เพื่อลดต้นทุนการผลิต ภายใต้กระบวนการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผมคงเป็นคล้ายกับนักเล่น แร่แปรธาตุ งานวิจัยหลักเน้นด้านอุตสาหกรรมการผลิต ไม่ว่าจะเป็นด้านโลหะและวัสดุทางการแพทย์ หรืองานเครื่องประดับ โดยมองว่างานวิจัยทั้ง 2 อย่าง อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน  เนื่องจากเราสามารถผสมโลหะในสูตรของเราเองในอัตราส่วนที่กลมกล่อม  เพื่อตอบโจทย์ในสิ่งที่เราต้องการได้ โดยเฉพาะในวงการอุตสาหกรรมเครื่องประดับ  หากมีการลดขั้นตอนหรือลดกระบวนการผลิตลงจะสามารถประหยัดพลังงานได้เยอะมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงด้วยŽ ทั้งนี้กระบวน การขึ้นรูปเครื่องประดับแบบเดิม ๆ  จะเป็นการหล่อแบบขี้ผึ้งหาย หรือแทนที่ขี้ผึ้ง ซึ่งมีกรรมวิธีที่ละเอียดซับซ้อน  กว่าจะได้ชิ้นงานแต่ละชิ้นจะใช้เวลาในการผลิตถึง 15 ขั้นตอน   ขณะที่นวัตกรรมใหม่ที่คิดขึ้น  สามารถลดขั้นตอนได้ถึง 9 ขั้นตอน เหลือเพียง 6 ขั้นตอนเท่านั้น โดยเป็นการพัฒนาโลหะผสมเงินสูตรใหม่ ใช้ร่วมกับวัสดุแม่พิมพ์ใหม่ ที่ใช้อุณหภูมิในการหลอมเหลวลดลงจากเดิมกว่า 40-70% ของอุณหภูมิที่ใช้หลอมขึ้นรูปปกติ และใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมง หรือลดลงเกือบ 7 เท่า จากกรรมวิธีเดิม นอกจากนี้ ดร.บุญรัตน์ ยังได้วิจัยพัฒนาโลหะผสมทองคำ 18 k ที่สามารถขึ้นรูปได้เหมือน พลาสติก ซึ่งเป็นการผลิตชิ้นงานเครื่องประดับที่เน้นปริมาณ  โดยการนำโลหะทองคำผสมรัตนโลหะ ที่มีคุณสมบัติแข็งแรง และมีพื้นผิวที่สวยงามกว่าวัสดุเดิม แต่มีความสามารถในการขึ้นรูปที่อุณหภูมิต่ำแบบพลาสติกมาประยุกต์ใช้กับทองคำ 18 k งานวิจัยดังกล่าวยังอยู่ในระดับต้นแบบทางวิศวกรรม อย่างไรก็ดี ดร.บุญรัตน์  ยอมรับว่า การคลุกคลีกับธาตุต่าง ๆ ในตารางธาตุกว่าห้าสิบชนิด พร้อม ๆ กับการศึกษาวิจัยด้านโลหะวิทยาที่ทุ่มเทมาเกือบ 20 ปี แม้จะเหนื่อยและดูยาวนาน  แต่หากนักวิจัยรุ่นหลังหยิบยกงานวิจัยและสูตรโลหะผสมบนหิ้งไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก็ถือว่างานวิจัยที่ทำมาคุ้มค่า และเป็นการส่งสัญญาณในทางที่ดีของวงการอุตสาหกรรมเครื่องประดับไทย  ให้ก้าวไปสู่การเปลี่ยนผ่านในเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์  ซึ่งจะทำให้ไทยสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน. นาตยา คชินทร nattayap.k@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เล่นแร่แปรธาตุกับนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ – ฉลาดคิด

Posts related