วันนี้ (30ก.ค.) ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ท่าพระจันทร์ โครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม(NBTC Policy Watch ) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) เสวนาเรื่อง " การเลื่อน-เลิกประมูล 4 จี ใครได้ -ใครเสีย : รัฐ ผู้ประกอบการ ประชาชน ? จากกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้สั่งชะลอการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิร์ตซ สำหรับให้บริการ 4 จี ออกไปเป็นระยะเวลา 1 ปี พร้อมทั้งให้คงมาตรการเยียวยาดูแลลูกค้าไปจนกว่าการจะมีการประมูลใหม่ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการสาธารณะนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า จากการเลื่อนประมูลครั้งนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจาก กสทช. ที่มีความล่าช้าในการนำคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ โดยกสทช. ควรเร่งดำเนินการประมูลก่อนที่ อายุสัญญาสัมปทานก่อนวันที่ 15 ก.ย.56 จึงประกาศเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาลูกค้าในระบบให้มีการใช้บริการต่อเนื่องอีก1ปี จึงไม่ต่างจากการขยายอายุสัญญาสัมปทานออกไป อีก 1 ปี ซึ่งส่งผลให้บริษัท ทรูมูฟ และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี ) ได้รับผลประโยชน์กว่า 6,800 ล้านบาท โดยจากนี้ต้องพิจารณาการโอนย้ายลูกค้าออกจากระบบให้ง่ายและสะดวกต่อผู้บริโภค รวมถึงการเร่งประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือนลูกค้าในระบบเช่นกันนายธีระ กนกกาญจนรัตน์ นักวิเคราะห์อาวุโสด้านไอซีที บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน เปิดเผยว่า การเลื่อนประมูล 4 จี ครั้งนี้ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของธุรกิจ การแข่งขัน รวมถึงการลงทุนด้านโทรคมนาคม ส่งผลต่อการจ้างงานในอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการโทรคมนาคมถูกผลกระทบ เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคมีความต้องการใช้งานด้านข้อมูลมากกว่าด้านเสียง แต่ในขณะเดียวกันการเลื่อนประมูลครั้งนี้ อาจจะช่วยส่งผลดีในแง่ของผู้ให้บริการมีเวลาพัฒนาเทคโนโลยีการลงทุน 4 จี ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก 4 จี ถือว่าเป็นการเปิดทางสร้างโอกาสทางธุรกิจ โดยตัวอย่างในประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น เปิดให้บริการ 4 จี ผู้ใช้งานด้านข้อข้อมูลปรับสูงขึ้นเกือบเท่าตัว อาจช่วยเปิดประตูสร้างการพัฒนาด้านดร.พรเทพ เบญญาอภิกุล เปิดเผยว่า การจัดสรรคลื่นด้วยการประมูลถือว่าเป็นวิธีที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพที่สูงสุด เนื่องจากการประมูลเปิดให้มีการแข่งขันด้านราคา ซึ่งแสดงถึงความต้องการใช้คลื่นที่แท้จริงมากกว่าการจัดสรรคลื่นแบบวิธีคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม (บิวตี้ คอนเทสต์) และการใช้รูปแบบบิวตี้ คอนเทสต์ มีความโปร่งใสน้อยกว่า อาจจะไม่มีความเป็นธรรมต่อการคัดเลือกใบอนุญาตประกอบกิจการ และเป็นการใช้ดุลยพินิจที่อาจเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ได้ง่าย

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เสวนาเลื่อน4 จี ใครได้ใครเสียผลประโยชน์

Posts related