เหมือนกำลังจะถูกลืมไปแล้วว่า นอกจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ยังมีคณะทำงานและติดตามผลการปฏิบัติงาน กสทช. ขึ้นมา หรือเรียกว่า ซุปเปอร์บอร์ด กสทช. เพื่อตรวจสอบ ประเมินการบริหารงานเหล่าบรรดา กสทช. 11 คน ควบรวมไปยังสำนักงานและเลขาธิการ กสทช. เพื่อนำเสนอให้รัฐสภา และประชาชนทราบเนื่องจากเป็นองค์กรอิสระที่ต้องโปร่งใส โดยเมื่อช่วงกลางสัปดาห์เหล่าบรรดาซุปเปอร์บอร์ดทั้ง 5 คน 5 ด้าน คือ ด้านกิจการกระจายเสียง ด้านกิจการโทรทัศน์ ด้านกิจการโทรคมนาคม ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ต่างออกเสียงสะท้อนว่า กสทช.เป็นองค์กรอิสระที่ไม่ยอมรับการตรวจสอบ งานนี้ ดูได้จากการไม่ได้รับความร่วมมือด้านข้อมูล อาทิ เรื่องมาตรการผู้ใช้บริการมือถือหลังหมดสัญญาสัมปทาน, การคงสิทธิเลขหมายที่ยังล่าช้า, รายละเอียดการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งล้วนเป็นข้อมูลที่สำคัญที่ต้องเปิดเผย ในขณะที่ผ่านมา รู้สึกเห็นใจเสียงข้างน้อย แสดงจุดยืนของตัวเองมีศักยภาพ แต่กลับทำให้ทำงานไม่สะดวก ทำให้ซุปเปอร์บอร์ดด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เห็นว่า ตัวชี้วัดที่จะสะท้อนการทำงานของ กสทช. คือ ประชาชนได้รับประโยชน์ ในการเข้าถึงสิทธิ เสรีภาพได้ตามกฎหมายหรือไม่ โดยการให้ประชาชนสร้างเครือข่ายขึ้นมา เพื่อจับตามองการทำงาน การบริหารงานของ กสทช. ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้เกิดความเท่าเทียม และอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน หรือไม่ ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลก หาก (ร่าง) ประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ…. หรือ ม.37 ที่กำลังเป็นปัญหา เนื่องจากนักวิชา การหรือแม้กระทั่งองค์กรวิชาชีพสื่อ ที่แสดงตนคัดค้าน เนื่องจากกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพการรับรู้ข่าวสารของประชาชน อยู่ในสายตาซุปเปอร์บอร์ด พร้อมตรวจสอบแน่นอน งานนี้ มี กสทช. ก็ต้องมีซุปเปอร์บอร์ด กสทช. ที่เป็นหูเป็นตาแทนประเทศชาติ และประชาชน.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เสียงสะท้อนซุปเปอร์บอร์ดกสทช. – คู่ขนาน

Posts related