นายเกริกไกร จีระแพทย์ ประธานกรรมการสถาบันกรรมการบริษัทไทย และอดีตรมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงกรณีที่สหภาพยุโรป (อียู) ได้ประกาศใช้มาตรการระงับการเยือนไทย และยกเลิกเจรจาเอฟทีเอ ร่วมถึงการลดอันดับเกรดกาคค้ามนุษย์ของสหรัฐว่า ไม่ประหลาดใจที่สหภาพยุโรปคว่ำบาตรไทย เนื่องจากไม่พอใจที่ไทยเกิดการยึดอำนาจการปกครองขึ้นโดยประกาศไม่มีข้อความที่ระบุว่า จะตัดความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทย มีเพียงการระงับการต้อนรับคณะของไทย และไม่ส่งคณะของสหภาพยุโรปมาเยือนประเทศไทย ซึ่งความสัมพันธ์ทางการทูต แต่จะมีการทบทวนความสัมพันธ์อีกครั้งหากไทย มีการจัดการเลือกตั้งขึ้น โดยเชื่อว่าไม่กระทบต่อการค้า และการส่งออกของเอกชนไทย เพียงแต่อาจกระทบเนื่องความต่อเนื่องในการเจรจาเอฟทีเอ ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปที่ชะงักไป ขณะที่ประเทศอื่นมีการเจรจาเดินหน้าอย่างต่อเนื่องส่วนกรณีที่สหรัฐอเมริกาจัดอันดับปัญหาการค้ามนุษย์ของไทยอยู่ในระดับต่ำสุด หรืออยู่ในระดับเทียร์ 3 ว่า อย่าไปตื่นตระหนกกับการจัดอันดับของสหรัฐครั้งนี้ เพราะที่ผ่านมาเมื่อปี 30 – 31 สหรัฐฯ เคยขู่จะตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (จีเอสพี ) สินค้าไทย โดยอ้างปัญหาเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา ซึ่งประเทศไทยก็ได้ต่อสู้ และชี้แจงต่อสหรัฐอเมริกา จนผ่านพ้นได้ เช่นเดียวกับกรณีปัญหาการค้ามนุษย์ ที่ไทยต้องชี้แจงเรื่องนี้กับสหรัฐ เพราะไม่มีประเทศไหน และ รัฐบาลไหนที่เห็นด้วยกับปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหาเรื่องนี้มาจากการทุจริตคอรัปชั่นนอกจากนี้การที่สหรัฐฯหยิบยกปัญหาเรื่องนี้ขึ้นมาพูดก็เพื่อต้องการให้รัฐบาลไทยเดินหน้าแก้ไขเรื่องนี้อย่างจริงจัง ดังนั้นไทยต้องเร่งแก้ไขและเชื่อว่าสหรัฐจะไม่มีการบอยคอตสินค้าไทย เพราะหากทำเช่นนั้นก็เท่ากับสหรัฐตัดเครื่องมือทางการค้า c]tภาคเอกชนก็ต้องร่วมมือด้วยการปฏิเสธแรงงานที่มาจากการค้ามนุษย์ เดินหน้าการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว เพราะปัจจุบันประเทศไทยต้องพึ่งพิงแรงงานต่างด้าวกว่า 3 ล้านคน หากแรงงานกลุ่มนี้มีปัญหา ก็จะส่งผล กระทบต่อการผลิตสินค้ารวมถึงการส่งออกได้นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า เป็นเรื่องของกระทรวงต่างประเทศและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องรีบทำการชี้แจง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ เนื่องจากเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสากลทุกคนต้องรับฟัง โดยสิ่งที่ห่วงคือไม่สามารถซื้อวัตถุดิบได้ และอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องของไทยถูกกีดกันไม่สามารถเข้าไปขายในยุโรปได้ ส่วนการทำธุรกรรมทางการเงินยังไม่ทราบว่าจะได้รับผลกระทบหรือไม่ และมาตรการดังกล่าวครอบคลุมไปถึงไหนนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ( สอท. ) กล่าวว่า จะส่งผลกระทบเกิดการเสียประโยชน์ทางการค้าต่อกันทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งหากไม่มีการลงนามเอฟทีเอ มองว่า เอกชนก็จะยังสามารถค้าขายเป็นปกติ ไม่มีปัญหา โดยทางเอกชน ต้องเร่งชี้แจงกับคู่ค้าให้เกิดความมั่นใจในการส่งมอบสินค้าตรงต่อเวลา โดยในการประชุมคณะกรรมการร่วมเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย ส.อ.ท. หอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย ในเดือนหน้า จะมีการนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งสหรัฐอเมริกา และอียูไปหารือในทีประชุมเพื่อเตรียมพร้อม ประเมินถึงผลกระทบ และแนวทางการแก้ไข โดยขณะนี้มีเพียงผลกระทบที่เกิดขึ้นระยะสั้นทางจิตวิทยาเท่านั้น ไม่กระทบต่อด้านการค้า โดยเชื่อว่าการทำหน้าที่ของคสช. ได้มีทีมเศรษฐกิจ และต่างประเทศชี้แจงกับอียูให้เกิดความเข้าใจและเชื่อว่าทั้งสหรัฐอเมริกาและอียูจะไม่คว่ำบาตรไทยอย่างแน่นอน

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เอกชนไทยไม่แคร์อียูตัดสัมพันธ์

Posts related