shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

แรงงานนอกระบบพุ่งกระฉูด

รายงานข่าวจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เปิดเผยผลสำรวจแรงงานนอกระบบ ปี 57 ว่า สำนักงานได้สำรวจแรงงานจากจำนวนผู้มีงานทำทั้งหมด 38.4 ล้านคนพบว่ามีผู้ที่เป็นแรงงานนอกระบบถึง 22.1 ล้านคนหรือคิดเป็น 57.6% แยกเป็นแรงงานที่เป็นผู้หญิง54.8% และผู้ชาย 45.2% ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรและประมง รองลงมาเป็นพนักงานบริการพนักงานร้านค้าและตลาด รวมทั้งอาชีพพื้นฐานต่างๆ ในด้านการขายการบริการซึ่งการทำงานด้านเกษตรกรรมของแรงงานนอกระบบถือเป็นกำลังสำคัญของประเทศที่ต้องพัฒนาเพิ่มมูลค่าการผลิต ดังนั้นรัฐจึงควรดูแลเกี่ยวกับสวัสดิการและให้ความช่วยเหลือด้านการทำงานให้ดีขึ้นทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนของแรงงานนอกระบบกับแรงงานในระบบพบว่า มีสัดส่วนแตกต่างกันถึง 2 เท่าโดยแรงงานในระบบได้รับค่าจ้างเฉลี่ยเดือนละ 14,248 บาท ส่วนแรงงานนอกระบบได้รับค่าจ้างเพียงเดือนละ 6,437 บาท และหากพิจารณาเป็นรายอุตสาหกรรม ยังพบว่าค่าจ้างเฉลี่ยของแรงงานนอกระบบน้อยกว่าแรงงานในระบบทุกสาขาอุตสาหกรรมโดยเฉพาะสาขาเกษตรกรรม ที่มีจำนวนแรงงานนอกระบบมากที่สุดได้รับค่าจ้างเฉลี่ยเพียงเดือนละ 4,950 บาทขณะที่แรงงานในระบบได้รับค่าจ้างเฉลี่ยเดือนละ 6,403 บาท ส่วนสาขาที่แรงงานนอกระบบได้รับค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดคือกิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย ได้รับค่าจ้างเดือนละ 20,783 บาทส่วนภูมิภาคที่มีจำนวนแรงงานนอกระบบและในระบบรายภาคพบว่า ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีแรงงานนอกระบบมากกว่าแรงงานในระบบ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแรงงานนอกระบบ 77.4% แรงงานในระบบ 22.6% ภาคเหนือ มีแรงงานนอกระบบ 72.2% แรงงานในระบบ 27.8% และภาคใต้มีแรงงานนอกระบบ 59.5% แรงงานในระบบ40.5% ขณะที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) และภาคกลางมีแรงงานในระบบมากกว่าแรงงานนอกระบบ คือ กทม.มีแรงงานในระบบ 70.5% แรงงานนอกระบบ 29.5% และภาคกลางมีแรงงานในระบบ 56.1% และแรงงานนอกระบบ 43.9%

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แรงงานนอกระบบพุ่งกระฉูด

Posts related

 














แรงงานนอกระบบพุ่งกระฉูด

รายงานข่าวจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เปิดเผยผลสำรวจจำนวนแรงงานนอกระบบ ในปี 56 ว่า จากจำนวนผู้ที่มีงานทำทั้งหมด 39.1 ล้านคน พบว่า มีผู้ทำงานที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง และไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน หรือเป็นแรงงานนอกระบบมากถึง 25.1 ล้านคน คิดเป็น 64% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีสัดส่วน 62% ที่เหลือเป็นแรงงานในระบบที่ไดรับความคุ้มครองตามกฎหมาย ซึ่งแรงงานนอกระบบดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ทำงานอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด รองลงมาเป็นภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้จากการสำรวจแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐช่วยเหลือเรื่องของค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผลมากที่สุดรองลงมาเป็นปัญหาของการทำงานหนัก และงานที่ทำไม่ได้รับการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง ที่เหลือเป็นปัญหาเกี่ยวกับการไม่มีสวัสดิการจากภาครัฐเข้ามารองรับที่ชัดเจน ไม่มีวันหยุดงาน ทำงานไม่ตรงตามเวลาปรกติ ชั่วโมงการทำงานมากเกินไปและลาพักผ่อนไม่ได้ จึงอยากให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือ ขณะที่ปัญหาของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่แรงงานนอกระบบประสบมากที่สุด คือ อิริยาบถในการทำงาน เช่น ไม่ค่อยได้เปลี่ยนท่าทางในการทำงาน รวมทั้งสถานที่ทำงานมีฝุ่น ควัน กลิ่น และแสงสว่างไม่เพียงพอ ขณะที่แญหาความไม่ปลอดภัย แรงงานนอกระบบส่วนมากจะได้รับสารเคมีเป็นพิศมากที่สุด รองลงมาเป็นเรื่องของความปลอดภัยจากเครื่องจักร และได้รับอันตรายจากระบบหูและระบบตา ตามลำดับ ซึ่งปัญหาทั้งหมด เห็นได้ว่า จะส่งผลต่อสุขภาพของกลุ่มผู้ใช้แรงงานโดยตรง อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงประเภทการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจพบว่า แรงงานนอกระบบมากกว่าครึ่งทำงานอยู่ในภาคการเกษตร โดยมีจำนวนมากถึง 15.4 ล้านคน คิดเป็น 61% รองลงมาทำงานอยู่ในภาคการค้าและบริการ รวมถึงภาคการผลิต ส่วนที่เหลือไม่ทราบว่าประกอบกิจกรรมใด นอกจากนี้ในด้านอุบัติเหตุจากการทำงานนั้น พบว่า แรงงานกลุ่มนี้ได้รับบาดเจ็บและประสบอุบัติเหตุมากถึง 4 ล้านคน แบ่งเป็น เกิดอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บจากการถูกของมีคมบาดมากที่สุด 66.6% รองลงมาเป็น หลัดตกหกล้ม ชนและกระแทก ไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก ได้รับสารเคมีเป็นพิษ อุบัติเหตุจากยานพาหนะ และไฟฟ้าช็อต ขณะเดียวกันยังพบด้วยว่า อัตราการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ ในปี 56 ทั้งหมดนั้น มีค่าเฉลี่ยถึงวันละ 11,100 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ที่มี 10,927 คน ถือเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นนายจ้างควรเข้ามาดูแลและสร้างความปลอดภัยจากการทำงานให้กับแรงงานกลุ่มนี้มากขึ้นด้วย

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แรงงานนอกระบบพุ่งกระฉูด

Posts related

 














Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file