นายชัยวัฒน์ ปกป้อง ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรหรือธ.ก.ส. เปิดเผยว่า ตัวเลขการปล่อยสินเชื่อในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา(เม.ย.ถึงพ.ย.) มียอดปล่อยสินเชื่อ 92,000 ล้านบาท จากเป้าที่ตั้งไว้ 85,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเกินเป้าที่วางไว้ประมาณ 7,000 ล้านบาท เป็นผลมาจากการเพิ่มสัดส่วนสินเชื่อส่วนเหลือเพื่อขายของบัตรสินเชื่อ เกษตรกรเพิ่มขึ้น 10 % จากเดิมให้สัดส่วน 60% เป็น 70% จึงทำให้สินเชื่อในภาพรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น และทั้งปีคาดว่าสินเชื่อจะอยู่ที่ 100,000 ล้านบาท ” ที่ผ่านมาต้นทุนการผลิต เช่น น้ำมัน ค่าแรง เมล็ดพันธ์ ปุ๋ย และยาฆ่าแมลง ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตได้ปรับตัวสูงขึ้นจึงทำให้เกษตรกรมีค่าใช้ จ่ายเพิ่มขึ้นจึงส่งผลให้ธนาคารต้องเพิ่มสัดส่วนการให้สินเชื่อกับเกษตรกร สำหรับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ โดยเฉพาะเกษตรกรยังอยู่ในเกณฑ์ดี เพราะส่วนใหญ่หากได้เงินจากการขายพืชผลทางการเกษตรแล้วจะนำเงินมาชำระหนี้ คืนให้ธ.ก.ส. หรือหากมีการค้างชำระก็มีเพียง 1 เดือนเท่านั้น เนื่องจากเงินที่ใช้ของเกษตรกรจะเป็นเงินหมุนเวียน “สำหรับบัตรสินเชื่อเกษตรกรปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 4 ล้านบัตร วงเงินอนุมัติประมาณ 60,000 ล้านบาท แต่มีการบัตรจริงประมาณ 3 ล้านกว่าบัตร วงเงินที่ใช้จริงของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกประมาณ 10,000 -12,000ล้านบาท โดยสินค้าที่มีการใช้บัตรสินเชื่อฯ มากสุดคือ ข้าวสัดส่วนประมาณ 20% รอง ลงมาคือ ข้าวโพด มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน ซึ่งการใช้จ่ายผ่านบัตรสินเชื่อเกษตรกรเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 12,000-15,000 บาทต่อบัตร จากวงเงินที่ให้ต่ำสุด 5,000 บาทต่อบัตร แต่สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาทต่อบัตร

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แห่ใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกร

Posts related