แม้จะดูไร้ซึ่งความหวังที่จะนำคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่ไม่ได้ใช้งานมาเปิดประมูล 4 จี พร้อมกับคลื่นที่หมดสัมปทานไปแล้วและอยู่ระหว่างเยียวยาซิมดับ แต่ดีแทค ก็ทำทุกวิถีทางเพื่อเจรจา ทั้งขอทำธุรกิจในรูปแบบบริการขายส่งขายต่อ กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแม้แต่ยื่นข้อเสนอยอมลงทุนภายใต้สัมปทานจนหมดสัญญาในปี 61 ถึงแม้ว่าจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า ดีแทคจะยังคงเดินหน้าเจรจากับ กสท กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) สำนักงานคณะกรรม การกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนา คมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อหาทางออกของการนำคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ ที่ดีแทคไม่ได้ใช้งาน เพื่อเปิดให้บริการ 4จี แอลทีอี ให้เร็วที่สุด โดยแนวทางที่ดีที่สุด ยังมองว่าควรจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ โดย กสท ควรคืนคลื่นให้ กสทช.จัดประมูลร่วมกับคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่ทางบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) จะหมดช่วงเยียวยาในเดือน ก.ย. 57 เพราะหากรวมคลื่นแล้วจะได้ 45 เมกะเฮิรตซ์ ถือเป็นจำนวนที่เหมาะสมมากกว่าที่จะประมูลแค่ 20 เมกะเฮิรตซ์ เปรียบกับการมีเหรียญ 5 บาท และได้ค่ายละ 1 เหรียญเท่านั้น มองว่า คลื่น 4 จี ควรเริ่มต้นที่ 15 เมกะเฮิรตซ์ ถึงจะพร้อมรองรับลูกค้า “ที่จริงดีแทคได้เปรียบในเรื่องของการติดตั้งอุปกรณ์ เพราะก่อนหน้านี้ได้มีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่หมด รวมทั้งอุปกรณ์ 2 จี ด้วย โดยหากต้องการให้ลูกค้าใช้ 4จี เพียงแต่ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เท่านั้น แต่สิ่งที่ทำไม่ได้คือ ดีแทคยังคงให้ความสำคัญกับลูกค้า 2 จี เสมอ” ปัจจุบัน ดีแทค มีลูกค้าทั้งสิ้น 27.5 ล้านราย เป็นลูกค้าใหม่ที่เข้ามาในช่วงไตรมาส 3/56 ราว 2.4 แสนราย ในสัดส่วนอย่างละครึ่งกับไตรเน็ต ขณะที่ดีแทค ไตรเน็ต เองปัจจุบันมีลูกค้าย้ายมาใช้งานแล้ว 3.7 ล้านราย ตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อ 23 ก.ค. 56 ทั้งนี้ มองว่า ภายในสิ้นปีนี้ ดีแทคจะมีลูกค้า 4 จี อยู่ที่กว่า 1 ล้านราย หรือคิดเป็นราว 20% ของผู้ใช้งานดาต้าในปัจจุบัน โดยการให้บริการ 4จี จะช่วยลดปริมาณการใช้แบนด์วิธบนคลื่น 3จี ด้วย สำหรับสถานีฐาน ปัจจุบันดีแทคมีสถานีฐานแบ่งเป็น 2จี อยู่ที่ 11,000 สถานี 3จี คลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ 5,200 สถานี และ สถานีฐาน 3จี คลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ 5,300 สถานี ตั้งเป้าสิ้นปีที่ 5,500 สถานีฐาน เพื่อให้ครอบคลุมการใช้งาน 55% ของประชากร ไม่รู้ว่า ความหวังของดีแทคจะออกมาอย่างไร เพราะ กสท ยืนยันเสียงแข็งว่าจะบริหารจัดการกับคลื่นดังกล่าวเอง แต่ก็ยังไม่เห็นแผนงานที่ชัดเจนของ กสท ว่าจะนำคลื่นภายใต้สัมปทานที่ ดีแทค ไม่สามารถใช้งานได้มาใช้ประโยชน์ในองค์กรของตนในรูปแบบไหน ต่างฝ่ายต่างไม่สามารถนำคลื่นดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ได้ กสทช.ควรจะรีบตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง เพราะทั้ง น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีไอซีที หรือ กสทช.เอง ก็ประกาศปาว ๆ ว่า “คลื่นความถี่เป็นสมบัติของชาติ เป็นทรัพยากรของทุกคน และควรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ที่สุด”. กัญณัฏฐ์ บุตรดี Kanyanat25@gmail.com
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ‘ดีแทค’ สู้ไม่ถอย ยืนยันเปิด 4 จี ต้องใช้คลื่นเริ่มต้น 15 เมกะเฮิรตซ์
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs