นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วยส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยภายหลังการประชุมกกร. ประจำเดือนพ.ค.ว่า ภายในสัปดาห์นี้เตรียมทำหนังสือถึงรัฐบาล เพื่อขออนุมัติขยายการต่ออายุการลดภาษีอีก 2 ปี ประกอบด้วยลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) 7% จากเดิมสิ้นสุด 30 ก.ย.57 รวมทั้งลดภาษีนิติบุคคล เหลือ 20 % จากเดิมสิ้นสุด 31 ธ.ค. 57 และภาษีบุคคลธรรมดา เพื่อเป็นการประคองภาวะเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ เพราะหากภาครัฐ ไม่อนุมัติให้ลดภาษีดังกล่าว เชื่อว่าจะกระทบต่อภาคเศรษฐกิจอย่างรุนแรง“ตามขั้นตอนแล้ว ภาครัฐ จะต้องนำเรื่องไปหารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า จะดำเนินการได้หรือไม่อย่างไร ซึ่งเชื่อว่า กกต. จะเข้าใจและเห็นใจทั้งภาคเอกชน และประชาชน เพราะสถานการณ์ปกติ ก็เคยปรับลดภาษีมาให้แล้ว และยิ่งตอนนี้สถานการณ์ไม่ปกติ จึงเชื่อว่าทุกฝ่ายจะยิ่งเข้าใจและเห็นใจแน่นอน เพราะไม่เช่นนั้นหากให้กลับมาใช้ภาษีแวตเป็น 10 % และภาษีนิติบุคคล เป็น 23% จะยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจ เป็นสัญญาณร้ายทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้ภาคเอกชน และยิ่งลดกำลังซื้อผู้บริโภคข้าไปอีก ส่วนถ้าขยายต่อแค่ปีเดียวนั้น ตอนนี้ยังไงก็ได้ ขอแค่ให้ภาคสถานการณ์ตอนนี้ไปก่อน”นอกจากนี้ในที่ประชุมได้หารือถึงภาวะเศรษฐกิจ โดยมองว่า หากสถานการณ์ทางการเมือง ยืดเยื้อ และมีเหตุการณ์รุนแรง จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปีนี้ จะขยายตัวติดลบอย่างแน่นอน แต่ถ้าสถานการณ์การเมืองยืดเยื้อถึงสิ้นปี แต่ไม่มีเหตุการณ์รุนแรง จะทำให้จีดีพีขยายตัว 1–2% โดยขณะนี้เศรษฐกิจต้องพึ่งพาภาคส่งออก และการค้าชายแดนเป็นสำคัญอย่างไรก็ตามภายใน 2 สัปดาห์นี้ จะหารือร่วมกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อขอความร่วมมือให้บสย. ช่วยเหลือในการค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เนื่องจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีบางราย ไม่มีผู้ค้ำประกันสินเชื่อ และจะขอความร่วมมือให้สถาบันการเงิน ขยายวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และขยายการชำระหนี้ให้อีก 6 เดือน เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองยังยืดเยื้อ วงเงินเดิมที่ทางสถาบันการเงินช่วยเหลือกำลังจะสิ้นสุดลงนายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ขณะนี้สถบันการเงินแต่ละแห่ง มีเกณฑ์การช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาทางเศรษฐกิจอยู่แล้ว โดยจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป เพราะธุรกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะไม่ได้รับผลกระทบทุกธุรกิจ เช่น ธุรกิจเอสเอ็มอีที่เกี่ยวเนื่องกับภาคส่งออก ก็ยังสามารถขยายตัวได้อยู่ แต่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการเกษตร จะได้รับผลกระทบบ้าง ส่วนสัญญาณการก่อหนี้ที่ไม่เกิดรายได้ (เอ็มพีแอล) ซึ่งมีการปรับเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปีที่ผ่าทนมา แต่ขณะนี้เริ่มอยุ่ในระดับที่นิ่งแล้วแหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ที่ผ่านมานายสิทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรมสรรพากร ได้เสนอการต่ออายุการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) 7% ออกไปอีก 1 ปี จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย.57 เพื่อไม่ต้องการให้เป็นภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน และต่ออายุการลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือ 20% ออกไปอีก 1 ปี จากเดิมมีกำหนดสิ้นสุดรอบปีบัญชี 57 คือ 31 ธ.ค.57 ให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้พิจารณาแล้ว โดยหลังจากนี้คงขึ้นอยู่กับการพิจารณาว่าจะเสนอเข้าที่ประชุม ครม.และหารือไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้เมื่อไหร่สำหรับภาษีแวตนั้น ตามขั้นตอนปกติแล้วจะดำเนินการต่ออายุทุก 2 ปี แต่ครั้งนี้เสนอต่ออายุไปเพียง 1 ปี เนื่องจากไม่ต้องการให้ผูกพันกับการตัดสินของรัฐบาลชุดใหม่ โดยการต่ออายุครั้งนี้ออกเป็นพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.) ลดภาษี โดยมองว่าเรื่องดังกล่าวควรเร่งดำเนินการในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า เพื่อให้ภาคธุรกิจกำหนดแผนการดำเนินธุรกิจได้

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กกร.ชงรัฐขยายเวลาภาษีมูลค่าเพิ่ม-นิติบุคคล

Posts related