อินเทล ได้นำผู้เชี่ยวชาญในด้านการจัดทำนโยบายและการพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์และกองทุนเพื่อการให้บริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง (Universal Services Funds (USF) จากสหรัฐอเมริกา เอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงเจ้าหน้าที่ภาครัฐของพม่า หรือเมียนมาร์ เข้าร่วมงานประชุมเชิงปฏิบัติการ ที่กรุงเนปิดอว์ ประเทศพม่า ภายในงานผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรต่างๆ ได้ให้ข้อมูลภาพรวมถึงแผนงานและวิธีการบริหาร จัดการกองทุนด้านบรอดแบนด์ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ผู้ร่วมงานยังได้สนทนาถึงความสำคัญของเทคโนโลยีบรอดแบนด์ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและ การพัฒนาในด้านการศึกษา สาธารณสุข และการให้บริการพื้นฐานต่างๆ แก่ประชาชนชาวพม่า อูเดย์ มาร์ตี้ ผู้อำนวยการ อินเทล ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า แม้จะได้มีการตระหนักถึงความจำเป็นของเทคโนโลยีบรอดแบนด์กันแล้วก็ตาม แต่หลายประเทศก็ยังคงประสบกับความท้าทายเพื่อหาวิธีการที่จะทำให้ ประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างทั่วถึง ในราคาไม่สูงมากนักและเป็นแนวทางที่ยั่งยืน แนวทางหนึ่งที่สำคัญสำหรับการจัดตั้งกองทุนในประเทศต่างๆ ที่มีจำนวนมากขึ้น คือ การสรรค์สร้างและการใช้ประโยชน์จากกองทุนเพื่อการให้บริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึงนั่นเอง มาร์ตี้ กล่าวเพิ่มเติมว่า อินเทล มีประสบการณ์ในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับบรอดแบนด์และกองทุน USF มาแล้วทั่วโลก โดยที่ผ่านมาได้เชิญผู้นำของภาครัฐ องค์กรอิสระ และพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ร่วมหารือถึงกรณีตัวอย่างเพื่อช่วยให้ประชาชนทั่วโลกได้รับประโยชน์จากการใช้บรอดแบนด์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที) ได้มีการจัดงานอภิปรายและการประชุมเชิงปฏิบัติการในลักษณะเดียวกันนี้ในละตินอเมริกา ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และเอเชีย สำหรับในครั้งนี้ เรารู้สึกยินดีมากที่สามารถจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศพม่า จากการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ของธนาคารโลกและไอทียู (International Telecommunication Union – ITU) พบว่า อัตราการเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ ร้อยละ 10 นำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 โดยจะส่งผลต่อการเติบโตในประเทศที่กำลังเติบโตมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วเพียงเล็กน้อย1,2 มีการศึกษาหลายแห่งที่เน้นศึกษาเฉพาะในระดับภูมิภาค ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการลงทุนด้านบรอดแบนด์ อาทิ ละตินอเมริกา/แคริบเบียน อัตราการเข้าถึงโครงข่ายบรอดแบนด์ที่สูงขึ้นร้อยละ 1 ส่งผลให้จีดีพีเติบโตขึ้นที่ .017จุด บราซิล จากการศึกษาพบว่า โครงข่ายบรอดแบนด์ช่วยเพิ่มอัตราการจ้างงานขึ้นร้อยละ 1.4 4 ในจีนพบว่า อัตราการเข้าถึงโครงข่ายบรอดแบนด์และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านทางสายโทรศัพท์ (หรือแบบไดอัล-อัพ) ทุกๆ ร้อยละ 10 สามารถส่งผลให้จีดีพีมีอัตราเพิ่มขึ้นได้สูงสุดร้อยละ 2.55 และไทยคาดการณ์ว่า โครงข่ายบรอดแบนด์ช่วยเพิ่มอัตราการเติบโตของจีดีพีในประเทศให้สูงขึ้นเกือบร้อยละ 16

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กองทุนเพื่อการให้บริการโทรคมนาคมผลักดันบรอดแบนด์ในพม่า

Posts related